สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ขนาด 200 กรัม ในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน 2 ระดับ
ธวัช ศรีวีระชัย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ขนาด 200 กรัม ในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน 2 ระดับ
ชื่อเรื่อง (EN): Blue Spotted Grouper (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802) 200 grams size Rearing in Net Cage with 2 different Stocking Densities.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธวัช ศรีวีระชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าในกระชังขนาด 3.0 × 3.0 × 2.0 เมตร ด้วยความหนาแน่น 10 ตัวและ 30 ตัวต่อตารางเมตรโดยใช้อาหารเม็ดปลาทะเล เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และต้นทุนผันแปรของการเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าในกระชัง บริเวณชายฝั่งทะเลหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2555 ผลการทดลองปรากฏว่า ปลากะรังจุดฟ้ามีความยาวเหยียดเริ่มต้น 26.39 ± 0.29 และ 25.58 ± 1.82 เซนติเมตร นํ้าหนักตั วเริ่มต้น 287.44 ± 2.66 และ 273.06 ± 44.09 กรัม เมื่อสิ้นสุดการทดลองเป็นเวลา 214 วัน มีความยาวเหยียดสุดท้าย 38.06 ± 0.35 และ37.03 ± 0.90 เซนติเมตรนํ้าหนักตั วสุดท้ายเฉลี่ย 874.67 ± 2.00 และ 807.78 ± 62.12 กรัม มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยด้านความยาวเหยียด 0.055 ± 0.001 และ 0.054 ± 0.004 เซนติเมตรต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยด้านน้ำหนักตัว 2.74 ± 0.02 และ2.50 ± 0.08 กรัมต่อวัน อัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับ 98.52 ± 1.70 และ 91.23 ± 0.93 เปอร์เซ็นต ์อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 2.04 ± 0.03 และ 2.15 ± 0.14 การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าอัตราการเจริญเติบโตโดยน้ำหนักตั วกรัมต่อวัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การเจริญเติบโตของความยาวเหยียดสุดท้ายและ นํ้าหนักตั วสุดท้ายอัตราการเจริญเติบโตโดยความยาวเหยียดเซนติเมตรต่อวัน อัตรารอดและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และต้นทุนผันแปรที่ใช้ในการเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าในกระชังเท่ากับ 610.70 และ 513.57 บาท ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าด้วยความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตรเป็นอัตราที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
บทคัดย่อ (EN): Rearing of Blue-spotted grouper Plectropomus leopardus (Lacepède,1802) in floating net cage of 3.0 × 3.0 × 2.0 meter with the density of 10 and 30 fishes / meters^2 by using formulated feed to study the growth and the average variable cost that had been conducted at Phuket Coastal Fisheries Research and Development Center during August 22nd 2011 – March 22nd 2012. The result show that the Blue-spotted grouper rearing had average initial length of 26.39 ± 0.29 and 25.58 ± 1.82 centimeters, average initial weight of 287.44 ± 2.66 and 273.06 ± 44.09 grams, respectively. At the end of experiment 214 days, the average final length was 38.06 ± 0.35 and 37.03 ± 0.90 centimeters, the average final weight was 874.67 ± 2.00 and 807.78 ± 62.12 grams, the average growth rate was 0.055 ± 0.001 and 0.054 ± 0.004 centimeters/day or 2.74 ± 0.02 and 2.50 ± 0.08 grams/day, the average survival rate was 98.52 ± 1.70 and 91.23 ± 0.93 %, FCR was 2.04 ± 0.03 and 2.15 ± 0.14. The statistical test shown that the average growth rate per day of weight of the blue-spotted grouper rearing with the density of 10 fishes / meters^2 was significantly different (p<0.05) from rearing fish with the density of 30 fishes / meters^2 . While the average final length, average final weight, average growth rate per day of length, FCR, and survival rate were nonsignificantly difference (p>0.05). And the average variable cost of Blue-spotted grouper rearing in floating net cage was 610.70 and 513.57 baht/kilogram, respectively. The result show that the Blue-spotted grouper rearing with 30 fishes / meters^2 was suitable density and more worthwhile.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-31
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&bid=2835&lang=0&db=Main&pat=&cat=aut&skin=s&lpp=20&catop=edit&scid=zzz
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ขนาด 200 กรัม ในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน 2 ระดับ
กรมประมง
31 มีนาคม 2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
การอนุบาลปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ในกระชังด้วยปลาสดและอาหารเม็ดปลาทะเล การใช้น้ำมันการพูล และ Quinaldine ในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802) การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในกระชังด้วยอัตราความหนาแนนต่างกัน ผลของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อสังคมของแพลงก์ตอนและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในรอบวัน แนวทางการเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินและในกระชัง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไส้เดือนดิน : กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเศรษฐกิจในกระชัง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ผลผลิตปลากะรังจุดฟ้าในระบบน้ำหมุนเวียน การศึกษาระบบอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน การอนุบาลลูกปลาโมงในถังพลาสติกระบบน้ำหมุนเวียนที่ความหนาแน่นและระดับความลึกน้ำต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก