สืบค้นงานวิจัย
งาม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย
เจษฎา จงใจดี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: งาม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เจษฎา จงใจดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อดิเรก ปัญญาลือ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้รวบรวมตัวอย่างผลผลิตของงาม้อนทั้งชนิดงาดอ (เก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม) และชนิดงาปี (เก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนธันวาคม) ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในปี 2558 ผลวิเคราะห์พบว่าน้ำมันงาม้อนชนิดงาดอ และงาปีให้ผลการวิเคราะห์ที่ใกล้เคียงกันโดยพบ มีปริมาณโอเมก้า 3 เท่ากับ 50.9 - 53.4 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าโอเมก้า 3 ที่สกัดได้จากอัลมอนด์ ข้าวโพด มะกอก ปาล์ม ถั่วลิสง และถั่วเหลือง (ตารางที่ 1) และมากกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันปลา (ปลาแซลมอนอบขนาด 85 กรัม จะมีโอเมก้า 3 เพียง 2 กรัม คิดเป็น 2.35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น) ส่วนโอเมก้า 6 พบระหว่าง 21.2 - 24.1 เปอร์เซ็นต์ พบมากกว่าน้ำมันที่สกัดจากอัลมอนด์ มะกอก และปาล์ม (ตารางที่ 1) วิตามินอีในงาม้อน พบระหว่าง 6.7 - 7.6 มิลลิกรัม พบมากกว่าเมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง รวมถึงมากกว่าในผลกีวี่ และบร็อคโคลี่ (ตารางที่ 2) จากผลการวิเคราะห์ยังพบว่าในน้ำมันงาม้อนนั้นมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันจากพืชชนิดอื่น ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวหากบริโภคในปริมาณมากอาจกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย เพิ่มโอกาสเกิดเส้นเลือดอุดตันและโรคหัวใจได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: งาม้อนหรืองาขี้ม้อน (Perilla frutescens) เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่ปลูกกันมานานในพื้นที่ภาคเหนือของไทย เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเพรา โหรพา แมงลัก
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
งาม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
2559
เอกสารแนบ 1
พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเสริมสุขภาพจากงาม้อนซึ่งอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 และสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อใช้ทางคลินิกในภาวะความจำเสื่อมและภาวะภูมิแพ้ การศึกษา " งาขี้ม้อน" พืชน้ำมันชนิดใหม่ กับการใช้ประโยชน์ การพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชน ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ศึกษากระบวนการผลิตงางอกร่วมกับการออกแบบและสร้างเครื่องคั่วงางอกเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร มหัศจรรย์ถ่านชีวภาพกับผลกระทบสองขั้ว การคัดเลือกองค์ประกอบทางเคมีสำคัญและตรวจสอบความเป็นพิษในสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากงาขี้ม้อน เพื่อการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา ศักยภาพการให้ผลผลิตของงาหอมบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก