สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Major Local Crop Production in the Upper North-East
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรทิพย์ แพงจันทร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการผลิตพืชผัก ไม้ผลให้ปลอดภัยจากสารพิษ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชไร่ที่มีศักยภาพในท้องถิ่น มี 3 กิจกรรมคือ 1) การพัฒนาการผลิตพืชผักเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ ได้แก่ พริก มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักสด 2) การพัฒนาการผลิตไม้ผลเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้แก่ ลำไย สับปะรด และ 3) การพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชไร่ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และงา ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุดรธานี ในปี 2551-2553 มีเกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการ ดำเนินงานโดยใช้แนวทางวิจัยระบบการทำฟาร์ม โดยปรับใช้ตามหลักการจัดการคุณภาพพืช (GAP) ของกรมวิชาการเกษตรเป็นวิธีทดสอบ เปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติเดิมของเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่า กิจกรรมพืชผัก ได้แก่ พริกฤดูฝน พริกฤดูแล้ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน มะเขือเทศรับประทานผล และมะเขือเทศโรงงาน วิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,090 1,780 2,846 1,128 2,684 และ 6,874 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 36.5 10.6 11.9 23.3 8.2 และ 13.3 ตามลำดับ ในด้านคุณภาพผลผลิตเมื่อตรวจนับร้อยละผลผลิตดีไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย ผลผลิตวิธีทดสอบมีร้อยละผลผลิตดีเฉลี่ยสูงกว่าวิธีเกษตรกร ส่วนคุณภาพผลผลิตจากการตรวจสารพิษตกค้างในผลผลิตวิธีทดสอบส่วนใหญ่ไม่พบสารพิษตกค้าง จะพบสารพิษตกค้างในผลผลิตวิธีเกษตรกรแต่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กิจกรรมไม้ผล ได้แก่ ลำไยและสับปะรด วิธีทดสอบผลผลิตเฉลี่ย 1,278 และ 5,782 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ สูงกว่าวิธีเกษตรกรเฉลี่ยร้อยละ 24.8 และ 13.2 ตามลำดับ คุณภาพผลผลิตลำไยในด้านขนาดผล ความหนาของเนื้อและความหวานทั้งสองกรรมวิธีใกล้เคียงกัน และวิธีทดสอบตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต ส่วนวิธีเกษตรกรตรวจพบสาร Cypermethrin แต่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กิจกรรมพืชไร่ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และ งา วิธีทดสอบผลผลิตเฉลี่ย 289 309 และ 103 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าวิธีเกษตรกรเฉลี่ยร้อยละ 5.5 26.7 และ 9.9 ตามลำดับ ทำให้ได้เทคโนโลยีการผลิตเฉพาะพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผัก ไม้ผล และพืชไร่ สามารถเป็นคำแนะนำแก่เกษตรกรและถ่ายทอดข้อมูลแก่กลุ่มเกษตรกรและผู้สนใจนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The improvement of the major local crop production in the upper northeastern region project aimed to improve the quality of vegetable and fruit crops in order to obtain free chemical products, and to improve the productivity of the regional field crops production. Three activities were conducted: 1) The activity of upgrading the quality to meet the standard level of vegetables such as chilli, tomato and corn. 2) The activity to improve quality and productivity of fruit crops such as longan and pineapple. 3) The activity to improve the productivity of field crops such as soybeans, peanuts and sesame. The activities were conducted in Khon Kaen, Kalasin, Chaiyaphum, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, Nong Khai, Loei and Udon Thani during 2008-2010. All activities were performed by farmers themselves. The project provided guidelines for farmers according to the farming system research recommendations. The good agricultural practice (GAP) or recommended method of the Department of Agriculture was tested comparing to the conventional method practiced by farmer. The results showed that with vegetable crops; the average yields of recommended practices of rainy and dry seasons chilies, sweet corn, baby corn and table and processing tomatoes were 1,090, 1,780, 2,846, 1,128, 2684 and 6,874 kg/rai, respectively. The recommended practices were 36.5, 10.6, 11.9, 23.3, 8.2 and 13.3% higher than those practices by farmers. For percentage quality assessment, the crops showed no disease and insect damages. Average qualified products were higher with the recommended practices. Chemical residues were not detected with the recommended practices. However, chemical residues at safe level were detected with the farmer’s practices. For the fruit crops; longan and pineapple, the average yields of the recommended methods were 1,278 and 5,782 kg/rai, respectively. The yields were 24.8 and 13.2% higher than those practiced by farmers. For longan qualities; fruit size, pulp thickness and sweetness of the two practices were similar. No chemical residues were detected in products, except cypermethrin at safe level was found in farmer’s practice. For the field crops; peanut, soybean and sesame, the average yields of the recommended methods were 289, 309 and 103 kg/rai, respectively. The yields were 5.5, 26.7 and 9.9% higher than the methods practiced by farmers. This project could successfully achieve appropriate production technologies of vegetables, fruits and field crops specific to the areas. Recommendations can be generated and transferred to publics, farmer groups and interested farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การใช้โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ในการแก้ไขดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนที่ 1 : การทดลองในห้องปฏิบัติการ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก