สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Technologies on Yield’s Distribution of Quality Mangoes for Export
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันมะม่วงมหาชนกนับว่ามีศักยภาพในการส่งออกสูง ตลาดมีความต้องการผลที่มีสีผิวผลสวยงาม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมในการพัฒนาสีผิวผลของมะม่วงมหาชนกเพื่อให้ได้สีแต้มแดงตรงตามความต้องการของตลาด โดยทำการทดลองเปรียบเทียบสารควบคุมการเจริญเติบโต Jasmonic acid ที่ความเข้มข้นต่างๆ และ Salicylic acid ที่ 10-4 M รวมทั้งปัจจัยการได้รับแสง คือ อยู่ในทรงพุ่มและชายทรงพุ่ม ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยระหว่างปี 2554-2556 ได้ดำเนินการจุ่มผลเมื่ออายุ 55-60 วันหลังดอกบานโดยใช้ Jasmonic acid ความเข้มข้น 100 200 และ 300 ppm และ Salicylic acid ที่ 10-4 M ร่วมกับการได้รับแสงของผลที่อยู่ในทรงพุ่มและชายทรงพุ่มโดยมี 12 กรรมวิธี พบว่า กรรมวิธีที่จุ่มสาร Jasmonic acid 300 ppm และอยู่ชายทรงพุ่ม มีสีผิวผลแดงเข้มกว่ากรรมวิธีอื่นๆ แสดงโดยค่า a* 23.6-29.4 และมีปริมาณแอนโธไซยานินสูง 0.370 mg/ 100g-FW นอกจากนี้พบว่าผลที่อยู่ชายทรงพุ่มจะมีสีแดงกว่าและปริมาณแอนโธไซยานินสูงกว่าผลที่อยู่ในทรงพุ่ม และพบว่า Jasmonic acid 300 ppm ให้ผลดีกว่า 500 ppm และไม่แตกต่างกับ Salicylic acid 10-4 M ทั้งนี้แสงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสีผิวของมะม่วงมหาชนก ผลที่อยู่ชายทรงพุ่มซึ่งได้รับแสงมากกว่ามีโอกาสพัฒนาสีแต้มแดงได้มากกว่าผลที่อยู่ในทรงพุ่ม สารควบคุมการเจริญเติบโตมีผลต่อการพัฒนาสีผิวของมะม่วงมหาชนกเช่นกัน โดยสาร Jasmonic acid 300 ppm ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ดังนั้นผลมะม่วงที่ได้รับทั้งสองปัจจัยร่วมกันจะส่งผลต่อการพัฒนาสีแต้มแดงบนผิวผลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากการศึกษาช่วงเวลาการออกดอกที่มีต่อการพัฒนาสีผิวของมะม่วงมหาชนก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการของสีผิวผลของมะม่วงมหาชนกที่เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาต่างๆกัน เพื่อหาแนวทางหรือวิธีการในการพัฒนาสีผิวของผลให้เพิ่มมากขึ้น การดำเนินการมี 2 ส่วนคือการศึกษาการพัฒนาสีของมะม่วงมหาชนกจากแหล่งผลิตต่างๆ 5 แหล่งคือฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี สุโขทัย เชียงใหม่และ เชียงราย และการชักนำการออกดอกของมะม่วงมหาชนกในช่วงเวลาต่างๆ โดยดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยระหว่างปี 2554-2556 ผลการดำเนินการพบว่า มะม่วงมหาชนกที่เก็บเกี่ยวจากแหล่งผลิตต่างๆ 5 แหล่งในปี 2556 มีการพัฒนาสีผิวผลไม่ต่างกัน โดยส่วนใหญ่สีผิวผลมีปริมาณแอนโธไซยานินระหว่าง 0.0005-0.0010 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด และมะม่วงมหาชนกที่เก็บเกี่ยวจากแหล่งผลิตจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณแอนโธไซยานินสูงสุดคือ 0.0017 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด ด้านคุณภาพผลมีปริมาณ Total Soluble Solids (TSS) ระหว่าง 11 -16.6% บริกซ์ และปริมาณกรด (Tritrable Acidity: TA) ระหว่าง 0.11-0.49 % และพบว่าปริมาณ TSS และ TA ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณแอนโธไซยานินที่ผิวผลโดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.0416 และ 0.0067 ตามลำดับ ส่วนการควบคุมการออกดอกของมะม่วงมหาชนกในช่วงเวลาต่างๆ จากการดำเนินการพบอุปสรรคโดยในปีแรกเกิดภาวะน้ำท่วมแปลง สภาพต้นโทรม ในปีที่ 2 มีการออกดอกเพียงเล็กน้อย และกรรมวิธีพฤษภาคมและสิงหาคม มีการออกดอกแต่การติดผลต่ำมากดังนั้นจึงได้ข้อมูลเฉพาะช่วงเวลาที่ออกดอกตามฤดูกาลปกติ โดยพบว่าสีผิวผลมะม่วงมีค่าแอนโธไซยานิน เฉลี่ย 0.0019 มิลลิกรัม/กรัม-น้ำหนักสด และมีค่าสูงสุด 0.0031 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด ต่ำสุด 0.0009 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด ด้าน TSS มีค่าเฉลี่ย 15.6% บริกซ์ และมีค่าสูงสุดและต่ำสุด 17.2 และ 14.2 % บริกซ์ ตามลำดับ ส่วนปริมาณ TA มีค่าเฉลี่ย 0.26% สูงสุด 0.384 % และต่ำสุด 0.17% และพบว่าปริมาณ TSS และ TA ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณแอนโธไซยานินที่ผิวผลโดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.0669 และ 0.0323 ตามลำดับ จากการศึกษาการปลูกมะม่วงระบบปลูกชิดในมะม่วงพันธุ์การค้า 2 พันธุ์ คือ มะม่วงมหาชนก และมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCBD มี 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี คือ ปลูกระยะปลูก 2.5 x 4 เมตร และควบคุมความสูงต้นที่ 2 เมตร ปลูกระยะปลูก 3 x 4 เมตร ปลูกระยะปลูก 3.5 x 4 เมตร ปลูกระยะปลูก 4 x 4 เมตร และควบคุมความสูงต้นที่ 3 เมตร โดยปลูกมะม่วงทั้ง สองพันธุ์ เมื่อ มีนาคม 2554 พบว่า ในมะม่วงมหาชนกที่ปลูกระยะชิดมีการเจริญเติบโตระยะแรกหลังปลูกดีกว่าการปลูกที่ระยะที่ห่างกว่าแต่เมื่อมะม่วงอายุ 4 ปี การปลูกที่ระยะ 3.5x4 และ3x4 เมตร จะมีการเจริญเติบโต ดีที่สุด คือ มี ความสูงต้น 383 เซนติเมตร ขนาดทรงพุ่มต้น 367 เซนติเมตร ผลผลิตมะม่วงพันธุ์มหาชนกเฉลี่ย 2 ปี การปลูกที่ระยะ 3.5x4 เมตร ให้จำนวนผลต่อต้นมากกว่ากรรมวิธี อื่นๆ 13.16 ผลต่อต้น รองลงมาคือการปลูกที่ระยะ 4x4 เมตร ให้ 11.3 ผลต่อต้น ส่วนขนาดผลเฉลี่ยทุกกรรมวิธีมีขนาดผล 352-429 กรัม ทุกระยะของการปลูกมะม่วงมหาชนก มีค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) น้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้จากการเก็บเกี่ยวมะม่วงเพียง 2 ปี ยังน้อยกว่าต้นทุนที่ได้ลงไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่จะสังเกตเห็นว่า การปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่ระยะ 3.5x4 เมตร ผลประโยชน์สุทธิของผลผลิตปีที่ 2 สูงขึ้น (7,758 บาท) มากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ และมีค่า BCR ใกล้ 1 มากที่สุด (-0.66) มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ปลูกระยะชิดมีการเจริญเติบโตระยะแรกหลังปลูกดีกว่าการปลูกที่ระยะที่ห่างกว่าแต่เมื่อมะม่วงอายุ 4 ปี การปลูกที่ระยะ 3.5x4 เมตร จะมีการเจริญเติบโต ดีที่สุด คือ มี ความสูงต้น 347 เซนติเมตร ขนาดทรงพุ่มต้น 354 เซนติเมตร ผลผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเฉลี่ย 2 ปี การปลูกที่ระยะ 3x4 เมตร ให้จำนวนผลต่อต้นมากกว่ากรรมวิธี อื่นๆ 17.13 ผลต่อต้น รองลงมาคือการปลูกที่ระยะ 2.5x4 เมตร ให้ 16.08 ผลต่อต้น ส่วนขนาดผลเฉลี่ยทุกกรรมวิธีมีขนาดผล 321-354 กรัม ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำรับมะม่วง ทุกระยะของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) น้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้จากการเก็บเกี่ยวมะม่วงเพียง 2 ปี ยังน้อยกว่าต้นทุนที่ได้ลงไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่จะสังเกตเห็นว่า การปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองที่ระยะ 2.5x4 เมตร ผลประโยชน์สุทธิของผลผลิตปีที่ 2 สูงขึ้น (27,438 บาท) มากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ และมีค่า BCR ใกล้ 1 มากที่สุด (-0.51) ซึ่งหากได้มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอีก 3-4 ปี โดยเฉพาะข้อมูลด้านผลผลิต และการดูแลแปลงโดยเฉพาะเรื่องการควบคุมขนาดทรงพุ่มให้เหมาสมกับการให้ผลผลิตของแต่ละระยะปลูก น่าจะได้ค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมะม่วงเป็นพืชยืนต้น มีการลงทุนมากในการสร้างสวน และข้อมูลผลผลิต เพียง 2 ปีไม่เพียงพอ มะม่วงยังให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนในการทดลองนี้จึงต่ำ ในการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงล่าฤดู ดำเนินการในสวนเกษตรกร อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง เริ่มการทดลอง ตุลาคม 2556 ได้ศึกษาผลของปริมาณการตัดแต่งกิ่ง ร่วมกับช่วงระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกมะม่วงล่าฤดู การพัฒนาของดอกมะม่วงระยะต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการออกดของมะม่วง มีการวางแผนการทดลองแบบ factorial in RCB มี 2 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัย A คือ การตัดแต่งกิ่ง 2 ระดับ ประกอบด้วย 1. ตัดแต่งกิ่ง 20 เปอร์เซ็นต์ 2. ตัดแต่งกิ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัย B ช่วงระยะเวลาการตัดกิ่ง 5 ระดับ ประกอบด้วย 1. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว 30 วัน 2. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว 60 วัน 3. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว 90 วัน 4. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว 120 วัน 4 ซ้ำ ๆ ละ 4 ต้น จากการทดลอง พบว่า สวนเกษตรกร อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ ภายหลังการตัดแต่งกิ่งตามกรรมวิธี สวนมะม่วงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน มีการใช้แรงงานต่างด้าวเข้ามาแทนแรงงานปกติ ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติการจัดการตามแผนการทดลอง ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ตามแผนการทดลอง จึงมีข้อมูลเฉพาะในส่วนการสำรวจ และการสัมภาษณ์เกษตรกรด้านข้อมูลการผลิตและการจัดการสวนมะม่วงล่าฤดูในเชิงการค้า สำหรับสวนมะม่วงในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง ผลของปริมาณการตัดแต่งกิ่ง ร่วมกับช่วงระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกมะม่วงล่าฤดู พบว่า การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวหลังเก็บเกี่ยว 30 วัน มะม่วงออกดอกล่าฤดูมากที่สุด เฉลี่ย 20.5 วัน แตกต่างทางสถิติกับการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว 120 วัน มีวันที่มะม่วงแทงช่อดอกน้อยที่สุด เฉลี่ย 17.1 วัน มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างการตัดแต่งกิ่งและปริมาณการตัดแต่งกิ่ง ในระยะเดือยไก่ และได้มีการศึกษาช่วงระยะเวลาการพัฒนาของดอกมะม่วงน้ำดอกไม้ (ปี 2557) พบมีการออกดอก ระยะเดือยไก่ ช่วงระหว่างวันที่ 2-4 มกราคม 2557 ระยะแทงช่อดอก ช่วงระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2557 ระยะก้างปลา ช่วงระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2557 ระยะดอกบาน ช่วงระหว่างวันที่ 2-10 กุมภาพันธุ์ 2557 ระยะเมล็ดถั่วเขียว ช่วงระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธุ์ 2557 ในปี 2558 จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (ปริมาณน้ำฝน) ต่อการออกดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้ ในเดือนธันวาคม และมกราคม ปี 2555 และ2558 ไม่มีปริมาณน้ำฝน หรือมีน้อยมาก (ฤดูกาลตามปกติ) แตกต่างจากเดือนมกราคม 2558 มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 87.8 มิลลิเมตร โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนรายวันในระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม 2558 มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 1.4-56.6 มิลลิเมตร มีผลทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีการติดดอกเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากผลการทดลองที่ได้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงล่าฤดูต่อไป ในการตัดแต่งกิ่งจะกระตุ้นให้ต้นมีการแตกใบใหม่ ซึ่งต้นมะม่วงต้องดูดใช้ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของใบใหม่ แต่ยังมีข้อมูลการดูดใช้ธาตุอาหารในช่วงการเจริญเติบโตนี้ของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองและน้ำดอกไม้เบอร์4 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นลำดับต้นแรกของประเทศไทย จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างใบมะม่วงอายุ 45-50 หลังจากแตกใบอ่อน พันธุ์น้ำดอกไม้สีทองและน้ำดอกไม้เบอร์ 4 จากสวนมะม่วงจำนวน 8 สวน ในพื้นที่อำเภอแปลงยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี และ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวดสระแก้ว วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในใบ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดินเพื่อให้ทราบสมบัติดินเริ่มต้น ในปี 2556- 2557 พบว่า ดินปลูกมะม่วงมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดคือ อ.เขาฉกรรจ์ ส่วนดินปลูกมะม่วงจาก อ.พนมสารคามมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำที่สุด แต่สมบัติของดินของสวนมะม่วงที่เลือกทำการทดลองอยู่ในระดับที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับค่าที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลทั่วไป ส่วนปริมาณธาตุอาหารในใบพบว่า ตัวอย่างใบมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองและน้ำดอกไม้เบอร์4 มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด มีค่าระหว่าง 1.35-2.19 % รองลงมาคือ โพแทสเซียม (0.91-.39%) และแคลเซียม (0.46-1.06%) และฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมซึ่งมีปริมาณใกล้เคียงกัน (0.16-0.27 และ 0.20-0.26% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): (being processed)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาไม้ผลอุดรธานี ปี 2538 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก