สืบค้นงานวิจัย
สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด
ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย, เชิดชัย โพธิ์ศรี, ศิริขวัญ พลประทีป - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อเรื่อง: สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด
ชื่อเรื่อง (EN): Antimicrobial and antioxidant activities of fungus Xylaria and species identification using DNA barcodes
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ราไซลาเรียที่สามารถเพาะเลี้ยงได้จำนวน 51 ไอโซเลท จากทั้งสิ้น 152 ตัวอย่าง ได้นำมาเพาะเลี้ยงและสกัดสารด้วยตัวทำละลายเอธิลอะซิเตท จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียจำนวน 4 สายพันธุ์ (Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli) ยีสต์ 1 สายพันธุ์ (Candida albicans) ด้วยวิธีการแพร่สารละลายในวุ้น แล้วคำนวณความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ด้วยวิธี MTT พบว่าสารสกัดส่วนใหญ่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมลบ มีสารสกัด 18 ตัวอย่าง ที่สามารถยับยั้งการเจริญของ B. subtilis (MIC = 3.55 – 16.4 mg/ml) สารสกัด 14 ตัวอย่าง สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus (MIC = 10.5 - 18.7 mg/ml) และสารสกัด 1 ตัวอย่าง สามารถยับยั้งการเจริญเชื้อ C. albicans (MIC = >5.5 mg/ml) ได้ ทั้งนี้สารสกัดที่มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ได้แก่ Xylaria sp. PLK15-X9, Xylaria sp. PLK15-X4 และ Xylaria sp. PLK15-7X นอกจากนี้ได้นำสารสกัดทั้งหมดไปวิเคราะห์หาคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและหาปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด พบว่าสารสกัดจาก Xylaria sp. PLK15-X7, Xylaria sp. PLK15-X6, Xylaria sp. PK11-10 และ Xylaria sp. RB15-026 มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS (74.5 – 130 % scavenging activity) และวิธี DPPH (14 – 64.5 % scavenging activity) ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดของสารสกัดมีค่าในช่วง 112.66 – 1229.92 ?g GAE ต่อ 20 mg ของสารสกัดหยาบ เมื่อนำสารสกัดหยาบทั้งหมดไปวิเคราะห์แยกสารประกอบฟีนอลและสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบบาง พบว่าเกิดแถบแบนที่แตกต่างกันในสารสกัดแต่ละชนิด
บทคัดย่อ (EN): Fifty-one isolates of Xylaria species from 152 collections were cultured and extracted by ethyl acetate. The efficacy of these extracts was tested against four different bacterial species (Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli) and one fungal species (Candida albicans) by using agar well diffusion method. The minimal inhibitory concentration (MIC) was determined by using MTT assay. Most of crude extracts showed antibacterial activity against gram-positive bacteria, whereas the gram-negative bacteria were resistant to nearly all extracts. Eighteen samples exhibited maximum activity against B. subtilis (MIC = 3.55 – 16.4 mg/ml), fourteen samples against S. aureus (MIC = 10.5 - 18.7 mg/ml), and one sample against C. albicans (MIC = >5.5 mg/ml). The strongest activity belonged to Xylaria sp. PLK15-X9, Xylaria sp. PLK15-X4 and Xylaria sp. PLK15-7X. In addition, all crude extracts were investigated for their antioxidant activity and total phenolic content (TPC). The results revealed that all Xylaria crude extracts presented antioxidant activity. The strong activity belonged to Xylaria sp. PLK15-X7, Xylaria sp. PLK15-X6, Xylaria sp. PK11-10 and Xylaria sp. RB15-026 by using both ABTS (74.5 – 130 % scavenging activity) and DPPH (14 – 64.5 % scavenging activity) assays. For TPC, Xylaria crude extracts observed varied from 112.66 – 1229.92 ?g GAE/ 20 mg of crude extract. Therefore, all crude extracts were analyzed for TPC profiles and antioxidant property by using thin-layer chromatography. The profiles revealed different spots of all crude extracts.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
30 กันยายน 2560
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2) สารถนอมอาหารจากขิงสกัดเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันพืชและสารต้านแบคทีเรีย (ระยะที่ 2) การใช้คลื่นเหนือเสียงช่วยสกัดสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านจุลินทรียจ์ากชานอ้อยที่ผ่านการระเบิดด้วยไอน้ำ การผลิตสารต้านอนุมูลอิสระของเชื้อรา Monascus purpureus TISTR 3080 จากปลายข้าว คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์ การศึกษาการสลายตัวของสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตชา การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีโนลิก ในผักบางชนิดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี การตรึงสารคลอโรฟิลล์สารหอม (2AP) และสารต้านอนุมูลอิสระในชาใบเตยโดยเทคนิคไมโครเวฟ การใช้ประโยชน์ของแคลเซียมซิลิเกตต่อการเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในยอดผักกาดกวางตุ้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก