สืบค้นงานวิจัย
สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
วราภรณ์ เดชบุญ, วิโรจน์ คงอาษา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Small- scale Fisheries Status in Artificial Reefs in the Southern Gulf of Thailand.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยรวบรวมตัวอย่างจากเครื่องมือประมงพื้นบ้านบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ภายหลังการจัดสร้างเป็นเวลา 2-6 ปี พบว่าจำนวนเรือประมงพื้นบ้าน มีจำนวนเรือ 17-120 ลำ เครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ใช้ทำการประมงในพื้นที่ที่ศึกษาพบ 17 ชนิด เครื่องมือประมงพื้นบ้านที่นิยมใช้ทำการประมงมากที่สุด คือ อวนลอยปลาทู และอวนจมปู แหล่งทำการประมงของประมงพื้นบ้านบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ไม่ห่างจากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล สำหรับจังหวัดสงขลามีแหล่งทำการประมงอวนลอยปลาทูทั้งบริเวณใกล้แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล และห่างจากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล คือบริเวณแท่นขุดเจาะน้ำมัน อัตราการจับสัตว์น้ำบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล พบว่า การประมงอวนลอยปลาทูมีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมด อยู่ระหว่าง 1.401-2.089 กิโลกรัม/ความยาวอวน 100 เมตร โดยหลังการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 4-5 ปี มีอัตราการจับสูงกว่าบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายหลังการจัดสร้าง 2-3 ปี สำหรับอัตราการจับ สัตว์น้ำจากอวนจมปู พบว่าหลังจากการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล 2 ปี มีอัตราการจับมากกว่าภายหลัง การจัดสร้าง 3 ปี และภายหลังการจัดสร้าง 3 ปี มีอัตราการจับสัตว์น้ำมากกว่าภายหลังการจัดสร้าง 4 ปี รายได้การทำการประมงอวนลอยกุ้งสามชั้นเท่ากับ 1,367.89 บาท/ลำ ส่วนรายได้เฉลี่ยจากอวนจมปู บ้านปากดวด บ้านสนามชัย และบ้านวัดจันทร์ เท่ากับ 975.32 1,254.70 และ 2,032.60 บาท/เที่ยว ตามลำดับ สำหรับอวนลอยปลาทูบ้านปลายทอน บ้านปากดวด บ้านสนามชัย และบ้านวัดจันทร์ มีรายได้เฉลี่ย เท่ากับ 1,547.92 721.06 990.25 และ 1,956.53 บาท/วัน ตามลำดับ โดยรายได้เฉลี่ยจากอวนจมปู และอวนลอยปลาทู มากที่สุด ภายหลังจากการจัดสร้าง 4 ปี
บทคัดย่อ (EN): Study on small-scale fisheries status around artificial reefs in the Southern Gulf of Thailand was conducted during January-December 2010. Data on small-scale fisheries operating around artificial reefs had been collected in Nakhon Si Thammarat Province and Songkhla Province. The results were found that number of small-scale fishing boat were 17-120 boats. The popular fishing gear were chub-mackerel gill net and crab gill net. Fishing ground in Nakhon Si Thammarat Province was near artificial reef but fishing ground of Chub-mackerel gill net in Songkhla Province were near and quite far from artificial reef. That was oil rig platform which is a artificial reef as well. After installation artificial reefs for 1-5 years, catch rate of chub-meckerel gill net was between 1.401-2.089 kg/100 meter net length. Chub-meckerel catch rate 4-5 years post installation was more than 2-3 years post installation. For catch rate of crab gill net 2 years post installation was more than 3 years post installation and catch rate of crab gill net 3 years post installation was more than after 4 years post installation. The gross revenue of shrimp trammel net was 1,367.89 baht/boat. The gross revenue of crab gill net of Ban Pak Duat, Ban Sanamchairawang and Ban Watchan were 975.32 1,254.70 and 2,032.60 Baht/trip, respectively. For gross revenue of Chub-mackerel gill net of Ban Plai Thon Ban Pak Duat, Ban Sanamchairawang and Ban Watchan were 1,547.92 721.06 990.25 and 1,956.53 Baht/day, respectively. The gross revenue of crab gill net and Chub-mackerel gill net were highest 4 years post installation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291382
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
กรมประมง
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการประมงอวนล้อมจับประกอบแสงไฟตามระยะห่างฝั่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ เกาะสมุยเกาะกระ ถึง แหลมตะลุมพุก ทัศนคติของชาวประมงพื้นบ้านต่อแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ความชุกชุมและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนสกุลทู-ลัง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากการประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การประมงพื้นบ้านในอ่าวพังงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก