สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Cropping Patterns under the Self Sufficiency Economy in the Upper North-East Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่า ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาผลผลิตต่ำ เกษตรกรขาดความรู้ในการผลิตพืช ศัตรูพืช ปัญหาหนี้สิน และปัจจัยการผลิตราคาแพง การผลิตมีทั้งผลิตแบบเชิงเดี่ยวและแบบผสมผสานแต่ขาดการวางแผนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่ำและมีรายได้ต่ำ จึงจำเป็นต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบการผลิตพืชที่เหมาะสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและเพื่อพัฒนาแปลงต้นแบบให้เป็นศูนย์เรียนรู้และขยายผลในชุมชน ดำเนินการ 3 กิจกรรม คือ 1) การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชในพื้นที่ข้าวเป็นหลัก ดำเนินการที่จังหวัดขอนแก่น สกลนคร หนองบัวลำภู อุดรธานี และมุกดาหาร เกษตรกรร่วมทดสอบ 21 ราย 2) การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีระบบการปลูกพืชในพื้นที่พืชไร่เป็นหลัก ดำเนินการที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และสกลนคร เกษตรกรร่วมทดสอบ 19 ราย และ 3) การพัฒนาและทดสอบระบบการปลูกพืชในเขตชุมชนและชานเมือง ดำเนินการที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และนครพนม เกษตรกรร่วมทดสอบ 10 ราย การดำเนินงานจะพัฒนาเกษตรกรตามศักยภาพของพื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่ โดยวางแผนวิจัยร่วมกับเกษตรกรเน้นการปรับเปลี่ยนระบบพืชเดี่ยวเป็นระบบเกษตรผสมผสานโดยนำเทคโนโลยีด้านพืชเข้าไปพัฒนาและทดสอบ ตลอดจนพัฒนาการผลิตพืชเดิมของเกษตรกรโดยนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรเข้าทดสอบ ผลการดำเนินงาน พบว่า กิจกกรมที่ 1 มีการผลิต 3 รูปแบบ คือ 1) การผลิตพืชผสมผสาน 2) การผลิตพืชหลังนา และ 3) การผลิตพืชและสัตว์แบบผสมผสาน มีเกษตรกรต้นแบบ มี 8 ราย กิจกรรมที่ 2 มีการผลิต 2 รูปแบบ คือ 1) การผลิตแบบผสมผสานอินทรีย์ และ 2) การผลิตแบบผสมผสาน มีเกษตรกรต้นแบบ 5 ราย และ กิจกรรมที่ 3 มีการผลิต 3 รูปแบบ คือ 1) การผลิตผักลดการใช้สารเคมี 2) การผลิตผักไม่ใช้สารเคมี และ 3) การผลิตผักอินทรีย์ มีเกษตรกรต้นแบบ 2 ราย ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจในกิจกรรมที่นำเข้าไปทดสอบ อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่ร่วมดำเนินการอีกหลายคนที่อยู่ในขั้นพัฒนาซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเกษตรกรต้นแบบได้ ผลการขยายผล พบว่า กิจกรรมที่ 1 ขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่ 72 ราย และขยายผลผ่านการจัดงานวันนัดพบเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 301 ราย กิจกกรมที่ 2 ขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่ 97 ราย และขยายผลผ่านการจัดงานวันนัดพบเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 305 ราย และ กิจกรรมที่ 3 ขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่ 48 ราย และ ขยายผลในงานเกษตรลุ่มน้ำโขง จังหวัดนครพนม 336 ราย
บทคัดย่อ (EN): Identification of agricultural problems found in the upper Northeastern Region were low crop yield, farmers’ lacking know how of crop production, pest management, debts and high input costs. Productions could be classified as sole cropping and integrated farming. However, lack of good planning and appropriate technology were reasons for farmer to obtain low yield and income. Therefore, it is necessary to develop and adapt production system to make farmers earn higher income. The objectives of this study were to achieve appropriate cropping pattern complying to the sufficient economy pattern for the upper Northeastern Region, to develop the model farming as the learning center for the community and to transfer technologies to the community. Three activities were conducted: 1) Development and test of cropping technology in area of rice based system at Khon Kaen, Nong Bua Lamphu, Sakon Nakhon, Mukdahan and Udon Thani. Twenty-one farmers were involved in the test. 2) Development and test of cropping technology in area of field crops based system at Khon Kaen, Kalasin and Sakon Nakhon. Nineteen farmers were involved in the test. 3) Development and test of cropping technology in suburban communities in Khon Kaen, Udon Thani and Nakhon Phanom. Ten farmers were involved in the test. The tests were conducted according to the productivity of the area and available resource. Work plan was done using farmer participatory system focusing on the change from sole cropping to integrated farming system, upgrading of farmer’s conventional practice and test of the Department of Agriculture recommended cropping technology. Results showed that in activity 1, there were three cropping patterns namely: 1) integrated crop production, 2) cropping following rice and 3) integrated farming production of animal and plant. There were eight model farmers indentified. In activity 2, there were two types of cropping patterns namely: 1) integrated organic cropping and 2) integrated cropping. Five model farmers were identified. And activity 3, there were three cropping patterns namely: 1) reduced chemical application in vegetable production, 2) chemical free in vegetable production and 3) organic vegetable production. Two model farmers were identified. Farmers were satisfied with the introduced activity tests. However, some farmers could be upgraded to be model farmers. For technology transfer aspect in activity 1, 72 farmers in the area adopted the technologies and the technology transfer through a meeting of 301 farmers was organized in Khon Kaen. Similarly, in activity 2, 97 farmers in the area adopted the technologies and the technology transfer through a meeting of 305 farmers was organized in Kalasin. And with activity 3, 48 farmers in the area adopted the technologies and the technology transfer to 336 farmers through the Mekong Agriculture fair was organized in Nakhon Panom.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก