สืบค้นงานวิจัย
ผลของระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งในระบบการให้น้ำแบบหยดที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ
ภูวิพัฒน์ เกียรติ์สาคเรศ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: ผลของระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งในระบบการให้น้ำแบบหยดที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Spacing and Prunning in Drip Irrigation on Growth and Yield of Physic Nut
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภูวิพัฒน์ เกียรติ์สาคเรศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ผลของระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งในระบบการให้น้ำแบบหยดที่มีต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ ศึกษาระยะปลูก 4 ระยะ คือ 2.0 × 2.0 เมตร2 (S1) 2.5 × 2.0 เมตร2 (S2) 2.5 × 2.5 เมตร2 (S3) 3.0 × 3.0 เมตร2 (S4) ร่วมกับการตัดแต่งกิ่ง 4 แบบ คือไม่ตัดแต่งกิ่ง (T1) การตัดแต่งกิ่งครั้งแรกที่ความสูงต้น 50 เซนติเมตร (T2) การตัดแต่งกิ่งครั้งแรกที่ความสูงต้น 70 เซนติเมตร (T3) และการตัดแต่งกิ่งครั้งแรกที่ความสูงต้น 90 เซนติเมตร (T4) รวมเป็น 16 สิ่งทดลอง หรือ กรรมวิธี ได้แก่ S1T1 S1T2 S1T3 S1T4 S2T1 S2T2 S2T3 S2T4 S3T1 S3T2 S3T3 S3T4 S4T1 S4T2 S4T3 และ S4T4 ตามลำดับ วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) มี 3 ซ้ำ (Replication) โดยจัดระบบการให้น้ำแบบหยดทั้งแปลงวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมของ สบู่ดำในระบบการให้น้ำแบบหยด เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ และ เพื่อเป็นข้อมูลในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร ดำเนินการวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ถึง 2553 ที่แปลงวิจัยสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เพาะเมล็ดวันที่ 18 ธันวาคม 2550 งอกวันที่ 28 ธันวาคม 2550 และ ปลูกในแปลงวิจัย วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ผลการวิจัยพบว่า ดินในแปลงวิจัยเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลผลิตเมล็ดสบู่ดำสูงที่สุด 5 ลำดับแรก รวมทั้ง 3 ปี เรียงตามลำดับ ได้แก่ S1T1 S2T4 S2T1 S4T3 และ S4T1 ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งสบู่ดำที่ให้ผลผลิตเมล็ดต่ำที่สุด คือ S3T3 และ S3T2 ตามลำดับ สบู่ดำมีการเจริญเติบโตทางด้านความสูงต้น จำนวนกิ่งแขนง แตกต่างกันในช่วงฤดูฝนของแต่ละปี วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว มีความแตกต่างกัน ในปีที่ 1 และ 2 ผลผลิตต่อต้นและองค์ประกอบของผลผลิต และผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว แตกต่างกันในปีที่ 3 ผลผลิตน้ำหนักผล และน้ำหนักเมล็ด รวมทั้ง 3 ปี สูงที่สุดประมาณ 117.51 (S2T4) และ 72.69 (S1T1) กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำที่สุดประมาณ 48.79 (S3T3) และ 25.95 (S3T3) กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The research project was on the Effect of Spacing and Prunning in Drip Irrigation on Growth and Yield of Physic Nut. It comprised of the combination of 4 spacings as 2.0 × 2.0 meters2 (S1), 2.5 × 2.0 meters2 (S2), 2.5 × 2.5 meters2 (S3) and 3.0 × 3.0 meters2 (S4) and 4 pruning methods as no pruning (T1), first pruning at the height of 50, 70 and 90 centimeters of the main stem (T2, T3 and T4), respectively. The combination were sixteen treatments such as S1T1, S1T2, S1T3, S1T4, S2T1, S2T2, S2T3, S2T4, S3T1, S3T2, S3T3, S3T4, S4T1, S4T2, S4T3 and S4T4, respectively. The experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications. Drip irrigation was used in this research. The first research aim was to find out the optimum spacing and pruning of physic nut in a drip irrigation system. The second aim was to study the growth and yield of physic nut for the data of technology transferation to the farmers. The research was conducted in the years 2008 to 2010, at the research field of Plant Science Department, Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus. Seedling date was on December 18, 2008. Germination date was on December 28, 2008 and transplanting date to the research field was on May 1, 2009. The results showed that the researched soil was sandy loam with a very low fertility level. The spacing and the pruning of physic nut that had the highest yields of the total three - year collection were five treatments such as S1T1, S2T4, S2T1, S4T3 and S4T1, respectively. These treatments had significant difference with the lowest yield treatment that were the treatment of S3T3 and S3T2, respectively. Physic nut had the significant difference on the plant height and the number of the plant branch during each year of the rainy season. The fifty percent of flowering date and the harvesting date also had the significant difference in the first year and the second year of an experiment. The yield per plant, the yield component and the yield from the harvest area had significant difference in the third year of an experiment. The three - year highest yield of a fruit weight and a seed weight were about 117.51 (S2T4) and 72.69 (S1T1) kilograms per rai, respectively, and also the lowest yields were about 48.79 (S3T3) and 25.95 (S3T3) kilograms per rai, respectively.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
เอกสารแนบ: https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=283895&query=%C0%D9%C7%D4%BE%D1%B2%B9%EC%20%E0%A1%D5%C2%C3%B5%D4%EC%CA%D2%A4%E0%C3%C8&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2565-09-14&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งในระบบการให้น้ำแบบหยดที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร ผลของสาร Trinexapac-ethyl สารเร่งการสุกแก่ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำตาลของข้าวฟ่างหวาน ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม สรีรวิทยาการเจริญเติบโตและผลผลิตของทานตะวันลูกผสม ประมาณการให้น้ำชลประทานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและผลผลิตที่เหมาะสมของหญ้าปักกิ่ง ผลของปริมาณน้ำชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคาวตอง (Houttuynia cordata Thunb.) ผลของสภาวะน้ำท่วมขังที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชสมุนไพรผักคาวตอง อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต ผลของปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรือง ผลของการใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกที่แตกต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟ้าทะลายโจร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก