สืบค้นงานวิจัย
ผลของการทำ Seed Treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอม
จักรพงษ์ กางโสภา - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของการทำ Seed Treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Seed Treatment with Plant Growth Promoting Bacteria on Germination and Growth of Lettuce
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรพงษ์ กางโสภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jakkrapong Kangsopa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญมี ศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประยุกต์วิธีการทำ seed treatment ร่วมกับจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการทำ seed treatment ด้วยจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม และติดตามการงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า และการเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน โดยทดลองที่ Agriculture and Agri-Food Canada (AAFC) ประเทศแคนาดา แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 คัดเลือกจุลินทรีย์ 2 ชนิด คือ Pseudomonas fluoresces 31-12 และ Bacillus subtilis ซึ่งแต่ละชนิดนำมาทำ seed treatment ประกอบด้วยวิธีการ แช่เมล็ดพันธุ์ เคลือบเมล็ดพันธุ์ และพอกเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำมาตรวจสอบความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากผลการตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการพบว่า ความงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่การเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด คือ 41.16 และ 41.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ และการพอกเมล็ดร่วมกับ B. subtilis มีความยาวรากดีที่สุด คือ 124.26 มิลลิเมตร ส่วนการตรวจสอบในสภาพเรือนทดลองพบว่า การเคลือบและการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีความยาวต้นดีที่สุด (60.10 และ 57.85 มิลลิเมตร ตามลำดับ) และมีน้ำหนักสดลำต้นดีที่สุด (747.72 และ 743.06 มิลลิกรัม ตามลำดับ) ส่วนการพอกเมล็ดด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักแห้งลำต้นดีที่สุด คือ 28.83 มิลลิกรัม และแตกต่างกันในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการทำ seed treatment ส่วนการทดลองที่ 2 คัดเลือกวิธีการเคลือบและพอกเมล็ดร่วมกับ P. fluorescens 31-12 มาเพาะปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน พบว่าการเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย P. fluorescens 31-12 มีน้ำหนักสดใบ น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งใบ และน้ำหนักแห้งรากมากกว่าและแตกต่างกันในทางสถิติอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดควบคุม
บทคัดย่อ (EN): The application of seed treatment with microbial probiotics for plant growth promotion plays an important role in optimizing the use of seeds for maximum benefit. The purposes of this experiment were to evaluate seed treatment with microbial probiotics plant growth promotion of lettuce seeds, and tracking germination and seedling growth and cultivation in soilless culture conditions. The experiment was carried out at the Agriculture and Agri-Food Canada (AAFC), Canada. This study was divided into two experiments: The first experiment was carried by selected two microorganisms: Pseudomonas fluorescens 31-12 and Bacillus subtilis. Each type of microorganism was used for seed treatment consisting of soaking, coating, and pelleting, and then the germination and seedling growth were examined. The laboratory results revealed that seed germination was not significantly different. However, seed coating and pelleting with P. fluorescens 31-12 had the best shoot length, at 41.16 and 41.23 mm, respectively, and seed pelleting with B. subtilis had the best root length of 124.26 mm. The greenhouse results revealed that seed coating and pelleting with P. fluorescens 31-12 had the best shoot length of 60.10 and 57.85 mm, respectively, and had the best shoot fresh weight of 747.72 and 743.06 mg, respectively. The seed pelleting with P. fluorescens 31-12 had the best shoot dry weight of 28.83 mg and there was significantly different compared to untreated seed. The second experiment, selected coating and seed pelleting with P. fluorescens 31-12 to cultivate in soilless culture conditions. The results showed that seed coating and pelleting with P. fluorescens 31-12 had better leaf fresh weight, leaf dry weight, root fresh weight, and root dry weight, and there were significantly different when compared to untreated seeds.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/175370/125412
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการทำ Seed Treatment ร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชต่อความงอกและการเติบโตของผักกาดหอม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม สารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชจาก Pseudomonas แยกจากดินรอบรากพืชที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา อิทธิพลของสาร paclobutazol ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลัง ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย 1.ระยะเจริญเติบโตน้ำหนัก 100 – 150 กิโลกรัม การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียบริเวณรากพืชของข้าวเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณสารแกมมา ออไรซานอล ของข้าวไรซ์เบอรี่ การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง ผลของการเสริมแหนเป็ด ในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแดง ผลของสารสกัดข่าต่อการเจริญเติบโต และการรักษาโรคแบคทีเรียในกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก