สืบค้นงานวิจัย
การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Orchard management to achieve export quality of pummelo fruits
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: พันธุ์ ปุ๋ย สภาพอากาศ คุณภาพ
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก มีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกข้อมูลการจัดการภายในสวน เก็บตัวอย่างดิน และผลผลิตมาวิเคราะห์ ปริมาณธาตุอาหาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกสวนที่จะศึกษาการจัดการดินและปุยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มี คุณภาพสำหรับการส่งออก ชั้นตอนนี้ดำเนินการในพื้นที่ปลูกสัมโอจังหวัด ชัยภูมิ หนองคาย สระแก้ว นครปฐม เชียงราย กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และปัตตานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - เมษายน 2559 ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกสวนสัมโอพันธุ์ทองดี (โดยพิจารณาจากข้อมูลผลวิเคราะห์ดินในขั้นตอนที่ 1) ไว้ 5 สวน คือ สวนนายบุญมี นามวงศ์ อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ แปลงทดลองในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย สวนนายปรีชา เศรษฐโภคิน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว สวนนางสุพิน โนระ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และสวนนายสานุ จีนแส อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2559 โดยปรับปรุงดินให้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ดินด้วยการใส่ปุ้ยเพิ่มเติมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใส่จุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซึมหรือละลายธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เปรียบเทียบคุณภาพผลผลิตที่ได้ จากต้นทดลองกับต้นเกษตรกรโดยใช้ T-Test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทางประสาทสัมผัสกับปริมาณ ของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Soluble solid content; SSC) และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (Titratable acidlity; TA) ซึ่งวัดด้วยเครื่องมือโดยวิธี Partial Least Square Analysis (PLS) และศึกษาความสัมพันธ์ของรสชาติกับความ เข้มข้นของธาตุอาหารในดินโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) สำหรับส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม และพันธุ์ปูโกนั้นทำได้เพียงการศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณธาตุอาหารในดินหลังการเก็บเกี่ยวกับรสชาติของ ผลผลิต จากผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตส้มโอที่มีคุณภาพไม่แตกต่าง จากการให้ปุยของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรสชาติของส้มโอ แรสชาติของส้มโอแตกต่างกันเมื่อปลูกในพื้นที่ที่ มีสภาพอากาศและความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน นอกจากนี้ สมการความสัมพันธ์เชิงถดถอยยังแสดงให้เห็นว่า ความเข้มขันของธาตุอาหารในดินไม่มีความสัมพันธ์กับค่า SSC และ TA ของส้มโอทุกพันธุ์ ดังนั้น การใส่ธาตุ อาหารที่พืชต้องการให้ครบถ้วน พอเพียง และสมดุลจะให้ผลผลิตสัมโอที่มีคุณภาพดีได้เมื่อปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพ อากาศเหมาะสม
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-01
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก
กรมวิชาการเกษตร
1 กันยายน 2559
เอกสารแนบ 1
การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก การศึกษาไวรอยด์ในส้มโอเพื่อการส่งออกส้มโอ การบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในพันธุ์อ้อยสะสมน้ำตาลเร็วในเขตภาคเหนือตอนล่าง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หญ้ากัมบ้า (3)อัตราปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากัมบ้าสายพันธุ์ Kent ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ผลของปุ๋ยไนโตรเจนรูปแบบต่างๆ ต่อผลผลิตและคุณภาพของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย (Ananas comosus (L.) Merr.) ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ หญ้ากินนีมอมบาซาปลูกที่จังหวัดลำปาง ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้าซิกแนลตั้ง 5 สายพันธุ์ ผลของน้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะก่อนออกดอกที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีมอมบาซา ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์กระถินสายพันธุ์กลาบราต้า
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก