สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการจัดทำธนาคารปูม้า บริเวณอ่าวไทยตอนใน
จินตนา จินดาลิขิต, จินดา ซ้ายเกลี้ยง, ศรีประภา สิทธิโชคธนา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการจัดทำธนาคารปูม้า บริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Study on crab bank establishing in the inner Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการจัดทาธนาคารปูม้าบริเวณอ่าวไทยตอนในดาเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2554 ถึงกันยายน ปี 2555 โดยร่วมจัดทาธนาคารปูม้าและรวบรวมข้อมูลรายเดือนจากเครื่องมือลอบปูและอวนจมปู ที่ท่าขึ้นสัตว์น้าในหมู่บ้านที่จัดทาธนาคารปูม้า 5 แห่ง ได้แก่ 1) บ้านบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี 2) บ้านฉู่ฉี่ ต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 3) บ้านบางละมุง ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 4) สะพานปลานาเกลือ ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และ 5) ชุมชนประมงบางพระ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ผลการศึกษาพบว่า ทุกพื้นที่สามารถจัดทาธนาคารปูม้าได้ เนื่องจากพบปูม้าไข่นอกกระดองเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งที่ธนาคารปูม้าบ้านบางแก้ว บ้านฉู่ฉี่ บ้านบางละมุง สะพานปลานาเกลือ และชุมชนประมงบางพระ พบปูม้าเพศเมียระยะไข่นอกกระดองมีความกว้างกระดองเฉลี่ย 10.25 10.39 9.92 12.98 และ 9.03 ซม. ซึ่งมีสัดส่วนของระยะไข่นอกกระดองร้อยละ 21.97 14.16 24.05 15.98 และ 21.45 ตามลาดับ ได้จัดทาธนาคารในรูปแบบกระชังที่บ้านบางละมุง จ.ชลบุรี และรูปแบบโรงเรือนที่ธนาคารปูในอีก 4 หมู่บ้าน ที่ศึกษา โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนบน กรมประมง สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และ องค์ความรู้ให้ชาวประมงในชุมชน พบว่าชาวประมงผู้เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องธนาคารปูม้า ในพื้นที่บ้าน บางแก้ว บ้านฉู่ฉี่ บ้านบางละมุง สะพานปลานาเกลือ และชุมชนประมงบางพระ ได้คะแนนภายหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมร้อยละ 93.33 69.23 81.82 88.89 และ 81.48 ตามลาดับ เฉลี่ยโดยรวมร้อยละ 84.16 คุณภาพน้า ได้แก่ ความเค็ม และออกซิเจนที่ละลายในน้า ซึ่งมีความสาคัญต่อการฟักและการรอดของตัวอ่อนปูม้านั้น พบว่า ในพื้นที่จัดทาธนาคารปูม้าบางแห่งและบางช่วงเวลามีคุณภาพน้าดังกล่าว ต่ากว่าคุณภาพที่เหมาะสมเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากน้าจืดและน้าทิ้งจากชุมชน ชาวประมงจึงแก้ปัญหาโดยการสูบน้าสาหรับใช้เพาะฟักในช่วงน้าขึ้น เพราะจะได้น้าคุณภาพดีจากทะเล และปล่อยตัวอ่อนปูม้าในช่วงใกล้น้าลงเพราะตัวอ่อนจะได้ถูกพัดพาออกสู่ทะเล หรือมีการนาตัวอ่อนปูม้าไปปล่อยในบริเวณที่มีคุณภาพน้าเหมาะสมในบริเวณใกล้เคียง
บทคัดย่อ (EN): Study on blue swimming crab banks in the inner Gulf of Thailand was conducted from January 2011 to September 2012 by co-establishing the banks and monthly collecting data from crab gill net and crab trap fisheries in 5 areas: 1) Bang Kaew Village, Bang Kaew Sub-district, Ban Laem district, Phetchaburi Province, 2) Chu Chi Village, Bang Chakreng Sub-district, Muang District, Samut Songkhram Province, 3) Banglamung Village, Banglamung Sub-district, Banglamung District, Chonburi Province, 4) Naklua jetty, Naklua Sub-district, Banglamung District, Chonburi Province, and 5) BangPhra fishing Community, Bang Phra Sub-district, Sriracha District, Chonburi Province. From the results, berried female crabs were found almost all year round in all the 5 places indicating that those areas were suitable for establishing blue swimming crab banks. In Bang Kaew Village, Chu Chi Vllage, Banglamung Village, Naklua jetty, and BangPhra fishing Community, berried female crabs had their average carapace widths of 10.25, 10.39, 9.92, 12.98, and 9.03 cm, with the percentages of berried female crabs of 21.97, 14.16, 24.05, 15.98, and 21.45, respectively. Cages were used for hatching facility in the crab bank in Banglamung Village of Chonburi Province, while small scale hatcheries were used in the other four banks. Crab bank knowledgeand materials were supported to the crab fishers by the Upper Gulf Marine Research and Development Center (Samut Prakan), Department of Fisheries.From evaluation, the percentages of fishers who had developed their knowledge after training were 93.33, 69.23, 81.82, 88.89, and 81.48 for Bang Kaew Village, Chu Chi Village, Banglamung Village, Naklua jetty and BangPhra fishing Community, respectively, with the overall percentage of 84.16. Seawater salinity and dissolved oxygen, which were the significant parameters for hatching and survival of crab larvae, were found sometimes lower than standard in some banks affected by freshwater and household wastewater. In such the areas, high-tide seawater was used for hatching, and crab larvae were released at the beginning of low-tide period to let them flow out to higher quality water in the sea, or released into more suitable coastal areas nearby. Key words: blue swimming crab, crab bank
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-06-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการจัดทำธนาคารปูม้า บริเวณอ่าวไทยตอนใน
กรมประมง
30 มิถุนายน 2556
กรมประมง
สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาทรัพยากรปูม้าและการเพิ่มกำลังผลิตปูม้าในบริเวณอ่าวประจวบ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การเพาะเลี้ยงปูม้าในบ่อดินแบบครบวงจร ความหลากหลายทางชีวภาพของปูบริเวณหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก