สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์การผลิตและวิธีการปลูกกาแฟของเกษตรกรชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่
ธีระเดช พรหมวงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์การผลิตและวิธีการปลูกกาแฟของเกษตรกรชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Coffee Production of Hilltribe Farmers in Chiang Mai: Production Situation and Cultivation Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีระเดช พรหมวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Theeradej Promwong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์การปลูกกาแฟของชาวเขาในปัจจุบัน ศึกษาข้อแตกต่าง ในวิธีการปลูกกาแฟของเกษตรกรชาวเขากับวิธีการที่หน่วยงานส่งเสริมปลูกกาแฟแนะนำ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยออกแบบสัมภาษณ์เกษตรกรชาวเขา ร่วมกับวิธีการเชิงคุณภาพโดยกำหนดคำถามหลักและเข้าไปพูดคุยพบปะกับเกษตรกรชาวเขาผู้ปลูกกาแฟ จำนวนตัวอย่างที่นำมาศึกษาทั้งหมด 115 ตัวอย่าง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพทางครอบครัวแต่งงานแล้ว มีอายุระหว่าง 40-50 ปี สามารถอ่านและเขียนหนังสือไทยได้ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน เป็นแรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟเฉลี่ย 9 ปี มีจำนวนต้นกาแฟเฉลี่ย 634 ต้นต่อครัวเรือน มีต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 540 ต้น เกษตรกรที่ปลูกกาแฟส่วนใหญ่ปลูกตามคำแนะนำ ของเจ้าหน้าที่ในปีที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมด้านการปลูกกาแฟ การจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรร้อยละ 57.39 ขายกาแฟในรูปผลสด มีผลผลิตในรูปสารกาแฟต่ำสุด 1.5 กิโลกรัมต่อครัวเรือนสูงสุด 3,000 กิโลกรัม เฉลี่ย 151 กิโลกรัม มีรายได้จากการขายผลผลิตกาแฟต่ำสุด 21 บาท สูงสุด 60,000 บาท มีรายได้เฉลี่ย 4,018 บาทต่อครัวเรือน ร้อยละ 53.41 จำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้าน เกษตรกรชาวเขาส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนต้นกล้ากาแฟจากหน่ายงานต่างๆ ของรัฐ และโครงการพัฒนาที่สูงต่างๆ และเพาะเมล็ดเอง โดยได้เมล็ดพันธุ์จาก สวนตนเอง สวนเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการเลือกพื้นที่ปลูกกาแฟ เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่มีจำนวนจำกัด ปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลอื่น และไม่มีความรู้ในการเลือกพื้นที่ ส่วนเกษตรกรที่มีการเลือกพื้นที่ปลูกกาแฟ ใช้หลักเกณฑ์ในการเลือกคือ เป็นพื้นที่ราบไม่สูงชันมากนัก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ มีร่มรำไร ปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ในป่าธรรมชาติ และปลูกในพื้นที่ไร้ฝิ่นเก่า เกษตรกรปลูกกาแฟที่ระดับความสูงเฉลี่ย 827 เมตร เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะของเจ้าหน้าที่ในด้านการทำขั้นบันได การปลูกไม้บังร่มให้กับต้นกาแฟ การตัดแต่งกิ่ง การคลุมโคน และการให้น้ำต้นกาแฟ เกษตรกรชาวเขาปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในด้านการวางหลุมปลูกกาแฟ ขนาดของหลุมปลูก การใส่ปุ๋ยต้นกาแฟ การกำจัดวัชพืช และการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกาแฟ ปัญหาการผลิตกาแฟที่เกษตรกรชาวเขาประสบอยู่ ได้แก่ กาแฟ มีการดูแลรักษายาก ยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวต้องใช้แรงงานมากทำให้ต้นทุนสูง ราคาผลผลิตกาแฟตกต่ำ ไม่มีตลาดรองรับ ต้นกาแฟขาดน้ำในฤดูแล้ง เกษตรกรขาคความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู ขาดการให้คำแนะจากเจ้าที่ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ขาดเงินทุนในการซื้อปัจจัยการผลิต และปัญหากระรอก หนู ทำลายผลกาแฟ
บทคัดย่อ (EN): This research studied on current situation of coffee cultivation and coffee production of hilltribe farmers, and the difference in farm practice from the suggestions of extensionist. The research methodology use both qualitative and quantitative methods in interviewing 115 hilltribe farmers. From data analysis it was apparently shown that most of hilltribes were male, married, in the age range of 40-50 years old, good capable of reading and writing Thai language. Average member in family was 5, whereas only 3 of them were agricultural labour. They had experience in growing coffee for 9 years. Average trees per family were 634 but 540 trees had already given yield. Most of them were adviced to cultivate coffee by extensionist. They had never been trained in coffee cultivation, 57.39 % of coffee yield on the farm were sold in fresh coffee berries. The minimum yield for each household was 1.5 kg and maximum was 3,000 kg with the average yield of 151 kg. The hilltribe farmers earned their income at the minimum of 21 baht to maximum of 60,000 baht with average income of 4,018 baht. Coffee productions were sold to merchants who come to purchase coffee in the village. Coffee seedling were provided by government agencies and highland development projects. Some of them produced seedling by themselves or received from their friends or relatives. Most of the farmers had no chance to select cultivating area due to land limitation. They mixed coffee with others trees and were not familiar with techniques in selecting area. They usually choosed flat area with fertile soil, near water source and semi-shaded area. 'The farmers grew coffee in the area of former opium poppy field at the average mean sea level of 827 metres. Most of them ignored extension advices in terrace cultivation, shading, pruning, mulching and irrigation. However they believed in extension advices in spacing, fertilizing, weed and pest control. Various problems the hilltribe farmers encountering were as follow: difficulty in harvesting and lack of adequate care, unpredictable coffee prices, diseases, inadequate knowledge in pests management and weeds control, lack of continuously extension advices and capital in growing coffee, and destruction of cherry coffee by rats and squirrels.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247453/169268
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์การผลิตและวิธีการปลูกกาแฟของเกษตรกรชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2539
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เทคนิคการควบคุมโรคเต้านมอักเสบของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน พันธุ์และอัตรเมล็ดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่เหมาะสมในการปลูกร่วมกับกาแฟในช่วง 1-3 ปีแรก ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาสถานะทางการเงินส่วนบุคคล ของเกษตรกรผู้ปลูกพริกในตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก