สืบค้นงานวิจัย
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย
ชัยนาม ดิสถาพร, ไพรัช พงษ์วิเชียร, พิกุล เกตุชาญวิทย์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Application of microbial activator for green manure to increase biomass of Sesbania rostrata and yields of rice in slightly saline soils
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย ได้ทำการศึกษาที่ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยทำการศึกษาเริ่มต้นเดือนตุลาคม 2556 สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินต่อการเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย และการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ 8 วิธีการทดลอง คือวิธีการที่ 1 แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกร วิธีการที่ 3 ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน วิธีการที่ 4 ? ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน วิธีการที่ 5โสนอัฟริกัน วิธีการที่ 6 โสนอัฟริกัน + ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด. 11 (โสนอัฟริ-กัน) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 7 โสนอัฟริกัน + ? ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และวิธีการที่ 8 โสนอัฟริกัน + ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด. 11 (โสนอัฟริกัน) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ + ? ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่าการปลูกโสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยหมักขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11 เจริญเติบโตดี ให้น้ำหนักสดมากกว่าการปลูกโสนอัฟริกันอย่างเดียว ส่งผลให้ดินหลังการทดลองในระดับความลึก 0-25 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าคือ 7.13 และ 7.98 dS/m ตามลำดับ มีระดับความเค็มปานกลาง และมีค่าการนำไฟฟ้าน้อยกว่าการปลูกโสนอัฟริกันของวิธีการที่ 5 และ 7 คือ 9.09 และ 11.43 dS/m มีระดับความเค็มมาก ส่วนผลผลิตข้าว พบว่าการใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11 ให้ผลผลิตข้าวสูงสุดคือ 225 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลผลิตข้าวต่อ 205 กิโลกรัมต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): The study on application of microbial activator for green manure to increase biomass of Sesbania rostrata and yields of rice in slightly saline soils was conducted at Huanong subdistrict, Ban Phai district, Khonkaen province in 2014 crop season. The objectives were to study effect of microbial activator for green manure on S. rostrata biomass and rice yields, and to study change of soil chemical properties. The experimental design was randomized complete block design with 3 replications. The treatments included 1) control, 2) Farmer practice, 3) Chemical fertilizer based on soil analysis, 4) 50% of chemical fertilizer based on soil analysis, 5) S. rostrata, 6) S. rostrata with microbial activator, 7) S. rostrata plus 50% chemical fertilizer based on soil analysis and 8) S. rostrata with microbial activator plus 50% chemical fertilizer based on soil analysis. The results showed that S. rostrata with microbial activator gave higher biomass than S. rostrata without microbial activator and these had effect on reducing soil electrical conductivity. The use S. rostrata with microbial activator showed highest rice yield of 225 kg/rai, higher than the treatment chemical fertilizer (205 kg/rai).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-09-30
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291754
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ (Rhizobium) เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันที่มีต่อการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็ม ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งพด.11 ต่อการเจริญเติบโต เพิ่มมวลชีวภาพโสนอัฟริกันที่มีต่อผลผลิตของข้าวที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด อิทธิพลของระดับความเค็มต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ105 การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แกลบ และพืชปุ๋ยสดบางชนิดร่วมกับยิปซั่มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม การตอบสนองของความหอมและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในชุดดินบางชุดดินในทุ่งกุลาร้องไห้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก