สืบค้นงานวิจัย
สภาวะแวดล้อมบางประการในแหล่งประมงบริเวณไหล่ทวีปทะเลอันดามัน
สมเจตน์ สอนครุฑ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะแวดล้อมบางประการในแหล่งประมงบริเวณไหล่ทวีปทะเลอันดามัน
ชื่อเรื่อง (EN): Fishery Oceanography along the Continental Shelf in the Andaman Sea
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมเจตน์ สอนครุฑ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somchet Sonkhrut
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไพโรจน์ หน่ายมี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Pirote Naimee
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเค็ม และ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลในระดับผิวน้ำ และตามระดับความลึก บริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2549-เมษายน พ.ศ. 2551 เก็บข้อมูลโดยเรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ และเรือ สำรวจประมง M.V.SEAFDEC 2 รวม 79 ครั้ง ผลการสำรวจพบอุณหภูมิในระดับผิวน้ำในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2550 มีค่าต่ำกว่าปกติ คือ 27.06-28.54 องศาเซลเซียส ในขณะที่เดือนเดียวกันของปี 2549 มีค่า 28.19-29.23 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปในช่วงของเดือนธันวาคม-เมษายน ความเค็มมีค่าอยู่ระหว่าง 31-33 psu และปริมาณออกซิเจน ที่ละลายในน้ำ มีค่าอยู่ระหว่าง 3.4-6.5 มิลลิลิตร/ลิตร ส่วนความเป็นกรด-ด่างมีค่าอยู่ระหว่าง 8.5-8.8 และพบจุดเริ่มต้นของชั้นเทอร์โมไคลน์ตื้นสุด 15 เมตร และลึกสุด 92 เมตร ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ชั้นเทอร์โมไคลน์มักอยู่ลึกและมีความกว้างมากกว่าในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จุดเริ่มต้นของชั้นออกซิไคลน์ ในบริเวณที่ทำการสำรวจส่วนมากพบอยู่ที่ระดับความลึก 25-60 เมตร ช่วงเดือนธันวาคม 2549-กุมภาพันธ์ 2550 พบชั้นออกซีไคลน์มีความบางมากที่สุด คือ 25-70 เมตร ส่วนปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำในชั้น ของออกซิไคลน์พบค่าต่ำสุดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2551 โดยมีปริมาณเพียง 0.77-3.96 มิลลิลิตร/ ลิตร ค่าความเค็มในทะเลอันดามันโดยทั่วไปพบว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ระดับความลึก 20-60 เมตร โดยมี ค่าระหว่าง 32-33 psu ส่วนความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลมีความแตกต่างกันน้อยมากพบอยู่ในช่วง 8.4-8.7 ชั้นมวลน้ำผสมจากผิวน้ำเดือนธันวาคม 2549- เมษายน 2550 มีความบางมากที่สุดของการ สำรวจในครั้งนี้ และพบลักษณะของน้ำผุด (upwelling) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
บทคัดย่อ (EN): The study oceanographic observation of along continental shelf in the Andaman Sea. Oceanographic stations were collected from 31 stations and 4 cruises, during pre monsoon to post monsoon of the north east monsoon (December 2006–April 2008) total 79 operations by FRV. CHULABHORN and M.V. SEAFDEC2. At sea surface, the temperature (SST) values varied between 28.2-30.3 ?C, salinity 31-33 psu, dissolved oxygen 3.4-6.5 ml/l and pH 8.5-8.8. The vertical distribution studies found in December 2006. At the shelf edge, the thickness of mixed layers decreased the lower 50 m and high thermal more than in the past research. Thermocline starting point between 15-60 meters deep end, for the dissolved oxygen at upper portion of thermocline between 3.4-4.5 ml/l in March and April 2007 and highest 5.8-5.9 ml/l in January and February 2006 . Below the oxycline layer were constant varied between 0.5-1.0 ml/l. Turning point of saline at 20-60 m by 32-33 psu and the values constant varied between 120-150 m, about 35 psu, pH decreased between 8.4-8.7 were constant 8. Nearly end of March surface current of the Andaman Coast form northern part and Malacca Strait were upwelling at latitude 08? 30 N to 09?30 N along near shore stations. Surface current at along off shore station were tide rips in January-February at latitude 07? 30 N to 08? 30 N.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/Deepsea/Technical%20Paper%20Deepsea_files/2557_6_%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: ไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนมกราคม พ.ศ. 2549 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2551
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะแวดล้อมบางประการในแหล่งประมงบริเวณไหล่ทวีปทะเลอันดามัน
กรมประมง
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน สภาวะแวดล้อมในแหล่งประมงเขตชายฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือเบ็ดราวหน้าดินแนวตั้งบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงอวนล้อมจับประกอบแสงไฟบริเวณจังหวัดพังงา การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินด้วยเครื่องมือลอบน้ำลึกบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ทัศนคติของชาวประมงต่อมาตรการควบคุมการประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามัน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก