สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย
ปรีชา สุริยพันธุ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Situation and Potential of Casava Production in thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรีชา สุริยพันธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Preecha Suriyaphan
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง
บทคัดย่อ: มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เป็นพืชของเกษตรกรรายย่อยซึ่งปลูกในดินที่มีขนาดเล็ก ผลผลิตที่ได้เมื่อแปรรูปแล้วส่วนใหญ่ทำเป็นมันอัดเม็ดส่งไปจำหน่ายที่สหภาพยุโรป การผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา และมีการขยายตัวสูงสุด ในช่วงปี 2530 แล้วค่อย ๆ ลดลงในช่วงปี 2540 ผลผลิตโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศทรงตัวอยู่ที่ 2.3 ตัน/ไร่ (14.5 ตัน/เฮคตาร์) ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของโลกแต่ยังคงต่ำอยู่เมื่อเทียบกับศักยภาพของพืชชนิดนี้ ในขณะที่สหภาพยุโรปให้โควต้านำเข้ามันอัดเม็ดอยู่อย่างนี้เป็นผลทางจิตวิทยา ทำให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังลง ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังก็คือ ราคามันสำปะหลังต่ำมาก ไม่เป็นเครื่องจูงใจให้เกษตรกรบำรุงรักษาดินโดยการใส่ปุ๋ย ดินที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังคือ ดินร่วนทราย จึงมีการชะล้างพังทะลายของดินสูง ปัญหาสุดท้ายคือฐานพันธุกรรมของพืชนี้ในประเทศไทยมีแคบมากจำเป็นต้องเสาะหาเพื่อปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้มีผลผลิตสูงขึ้น โชคดีที่ไทยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT) ซึ่งส่งเชื้อพันธุกรรมมาให้ ทำให้ขณะนี้ไทยสามารถปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง ให้มีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
บทคัดย่อ (EN): Cassava is one of the most important economic crops in Thailand. It is produced by small farmers on marginal land and its products are exported mainly to the European Union (EU). Production has steadily increased during the 1970s and 80s through expansion of the planted area, but has decreased again since the early 1990s. The national average yield has been stagnant at about 14.5 t./ ha, which is ghigher than the world avearage, yet low compared with the otention of the crop. While the EU sets an upper limit to the amount of cassava imported from thailand, it is widely felt that thailand can no longer afford uncontrolled production increases by limitless area expansion. For that reason, the government established a policy in 1993 to reduce the cassava growing area by at least 20%. Major production problems are declining soil fertility, soil erosion and limited genetic diversity of the crop. Previous research conducted by the Department of Agriculture (DOA) has resulted in the identification of a high-yielding and very versatile local cultivar, Rayong 1, and more recently, the breeeding and selection of several high-yield and high-starch cultivars. Latin American germplasm provided by CIAT is now well incroporated into the breeding population. High yielding capacity, high-starch content and early maturity are important selection criteria. Agronomic practices, such as land preparation, stake selection and storage, planting method, planting time, fertilization, crop rotation, intercropping and weed control have been studied. More emphasis is now being given to soil fertility maintenance, erosion control and labor-saving technologies. All thes will lead to more efficient and more stable production, thus enhancing the competitiveness of Thai cassava products in the world market.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย
กรมวิชาการเกษตร
2551
ผลของการใช้มันสำปะหลังต่อผลผลิตของไก่พื้นเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้ประโยชน์จากเปลือกและกากมันสำปะหลังที่เกิดจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล การเพิ่มโปรตีนในกากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลังโดยใช้จุลินทรีย์ ความหลากหลายของชนิดไรศัตรูมันสำปะหลังในประเทศไทย การชักนำการออกดอกในมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังแบบแม่นยำ การประเมินศักยภาพของยีนสมาชิกกลุ่ม FT/TFL1 และ EXOในการกระตุ้นผลผลิตรากสะสมอาหารมันสำปะหลัง การศึกษาต้นแบบการผลิตกากมันสำปะหลังแห้งสำหรับผลิตเอทานอลโดยใช้หลักการเอกซ์ทรูชั่น การผลิตอาหารสัตว์จากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก