สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินตื้นปนกรวดเพื่อปลูกสบู่ดำ
อโนชา เทพสุภรณ์กุล - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินตื้นปนกรวดเพื่อปลูกสบู่ดำ
ชื่อเรื่อง (EN): Shallow soils management for Physic nut
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อโนชา เทพสุภรณ์กุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อโนชา เทพสุภรณ์กุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจัดการดินตื้นปนกรวดเพื่อปลูกสบู่ดำ ดำเนินการทดลองในกลุ่มชุดดินที่ 48 ชุดดินท่ายาง พื้นที่โครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2554 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 7 ตำรับการทดลอง ประกอบด้วย ปุ๋ยเคมีอัตราตามคำแนะนำ (ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) การใช้ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำ การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำร่วมกับพืชคลุมดิน, การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำร่วมกับฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 15 และ 30 วัน, การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินและฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 15 และ 30 วัน ผลการทดลองพบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 การใช้ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำ สบู่ดำให้ผลผลิตรวม 3 ปี สูงสุด จำนวน 708.4 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ ตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคำแนะนำร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินและฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 15 วัน และตำรับการทดลองที่ 1 การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสบู่ดำรวม 3 ปี จำนวน 560.6 และ529.7 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งตามคำแนะนำร่วมกับการปลูกพืชคลุมดิน และตำรับการทดลองที่ 7 การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งตามคำแนะนำร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินและฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 30 วัน ให้ผลผลิตสบู่ดำรวม 3 ปีน้อยที่สุด โดยให้ผลผลิตใกล้เคียงกันคือ 437.0 และ 437.8 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินโดยรวม พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ปริมาณแคลเซียมและปริมาณแมกนีเซียม มีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และความเป็นกรดของดินลดลง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินตื้นปนกรวดเพื่อปลูกสบู่ดำ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การจัดการศัตรูพืชสบู่ดำ การประเมินศักยภาพกลุ่มชุดดินเพื่อปลูกพืชสบู่ดำ การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในพื้นที่ดินเค็ม ชุดดินกำแพงแสน การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำในชุมชน การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในพื้นที่ดินเค็ม ชุดดินอุดร ผลของแมกนีเซียมคลอไรด์ต่อกิจกรรมของเอนไซม์ Ribulose -1, 5-bisphosphate carboxylase ปริมาณแทนนินในใบสบู่ดำ และคาร์โรทีนอยด์ในน้ำมันไบโอดีเซลจากผลสบู่ดำ ผลของแมกนีเซียมคลอไรด์ต่อกิจกรรมของเอนไซม์ Ribulose -1, 5-bisphosphate carboxylase ปริมาณแทนนินในใบสบู่ดำ และคาร์โรทีนอยด์ในน้ำมันไบโอดีเซลจากผลสบู่ดำ การปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำเพื่อการผลิตไบโอดีเซล ประสิทธิภาพของสบู่ดำ (Jatropha curcas) ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ที่เข้าทำลายพริกในแปลงปลูกตามธรรมชาติ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก