สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดหัวลิงในภาคตะวันออกของประเทศไทย
จิรพร สวัสดิการ, อัจฉรา บุญโรจน์, วัชรวิทย์ รัศมี - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดหัวลิงในภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Project of Monkey’s Head Mushroom (Hericium erinaceus) Cultivation in East of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เห็ดหัวลิงเป็นเห็ดที่รับประทานได้และมีคุณสมบัติเป็นยา มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดหัวลิงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงในภาคตะวันออกของประเทศไทย การวิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมสายพันธุ์เห็ดหัวลิงจากฟาร์มต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย สามารถรวบรวมได้ 6 สายพันธุ์ คือ 1. สายพันธุ์จากฟาร์มอานนท์ไบโอเทค 2. สายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร #1 3. สายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร #2 4. สายพันธุ์จากฟาร์มเห็ดอรัญญิก 5. สายพันธุ์จากโครงการหลวงฯ ดอยปุย และ 6. สายพันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จากนั้นนำเห็ดหัวลิงทั้ง 6 สายพันธุ์มาทำการทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จ. จันทบุรี อุณหภูมิระหว่างทำการทดลองเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 85 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดลองระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) ผลการทดลองพบว่า เห็ดหัวลิงทุกสายพันธุ์ที่นำมาทดลองสามารถเกิดดอกได้ หากได้รับอุณหภูมิช่วงบ่มเชื้อ และช่วงกระตุ้นดอกประมาณ 26 – 30 องศาเซลเซียส หากได้รับอุณหภูมิสูงกว่านี้ เส้นใยจะเดินช้า ไม่เกิดดอก และก้อนเชื้อเกิดการปนเปื้อนมาก สายพันธุ์เห็ดหัวลิงจากฟาร์มอานนท์ไบโอเทค สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร #1 และสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร #2 สามารถออกดอกได้ 4 รุ่น โดยมีจำนวนก้อนที่สามารถออกดอกรุ่นที่ 2 ได้ 80 - 100 เปอร์เซ็นต์ ออกดอกรุ่นที่ 3 ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ และออกดอกรุ่นที่ 4 ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สายพันธุ์เห็ดหัวลิงจากฟาร์มเห็ดอรัญญิกและโครงการหลวงฯ ดอยปุย สามารถออกดอกได้ 3 รุ่น โดยมีจำนวนก้อนที่สามารถออกดอกรุ่นที่ 2 ได้ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ ออกดอกรุ่นที่ 3 ได้ 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถออกดอกรุ่นที่ 4 ได้ ส่วนสายพันธุ์เห็ดหัวลิงจากม. เกษตรศาสตร์ กพส. สามารถออกดอกได้เพียงครั้งเดียว สายพันธุ์เห็ดหัวลิงจากฟาร์มอานนท์ไบโอเทค และ สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร #2 สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่จังหวัดจันทบุรี ได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยให้ผลผลิตรวมต่อถุงเท่ากับ 211.42 และ 180.6 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่สายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร #1, โครงการหลวงฯ ดอยปุย, ม. เกษตรศาสตร์ กพส. และฟาร์มเห็ดอรัญญิกมีผลผลิตรวมต่อถุงเท่ากับ 146.98, 111.94, 95.31 และ 84.77 กรัม ตามลำดับ การเพาะเห็ดหัวลิงในสูตรอาหารที่มีฟางเป็นวัสดุเพาะหลัก ให้ผลผลิตมากกว่าการใช้ขี้เลื่อย นอกจากนี้พบว่าการเพิ่มปริมาณรำละเอียดในสูตรอาหาร จะทำให้ปริมาณโปรตีนในดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นด้วย
บทคัดย่อ (EN): Monkey’s head mushrooms is an edible and medicinal mushroom , native to North America, Europe and Asia. The objective of this project was selection monkey’s head mushrooms strains which had properties suitable for growing and gave high yield in east of Thailand, 6 strains of monkey’s head mushrooms from mushroom farms which located around of Thailand were selected, 1. strain from Anonbiotec Farm (AF), 2. strain from Department Of Agriculture #1 (DA1), 3. strain from Department Of Agriculture #2 (DA2), 4. strain from Aranyik Mushroom Center (AMC), 5. strain from Doi Pui Research Station (DPRS), 6. strain from Kasetsart University, Kampaeng Saen campus (KKU). The experiments were conducted at the faculty of agricultural technology, Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi Province, during September 2015 to February 2017, average temperature was 28 ?c , relative humidity was 85 % . The trials were laid out in a Completely randomized design (CRD). The results revealed that all of monkey’s head mushrooms strains in this research could give fruit bodies if temperature during mycelium grown (incubation time) and induced fruiting time were 26 – 30 ?c, obtained higher temperature affect mycelium grown slowly and did not gave fruit bodies and growing media was highly contaminated. Strains from AF, DA1 and DA2 could give fruit bodies 4 time, 80 – 100 % of bag number gave 2 time, 50 % and 10 % gave 3 and 4 time respectively. While strains from AMC and DPRS could give fruit bodies 3 time, 50 – 60 % of bag number gave 2 time, 10 % - 20 % gave 3 time and, could not give fourth fruiting. Strain from KKU could give fruiting only 1 time. Strains from AF and DA2 had adaptability in east of Thailand especially at Chanthaburi higher than the other strains, the yield per bag was 211.42 and 180.6 g respectively. While DA1, DPRS, KKU and AMC had the yield per bag 146.98, 111.94, 95.31 and 84.77 g respectively. Growing monkey’s head mushrooms on rice straw substrates gave the yield higher than saw dust, increasing rice bran ratio in growing media also increased protein content in fruit bodies
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดหัวลิงในภาคตะวันออกของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 กันยายน 2558
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย โครงการวิจัยการศึกษาเครื่องมือเพื่อผลิตเครื่องอัดก้อนเห็ดวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์มังคุดของเกษตรกรภาคตะวันออก คุณค่าเชิงสุขภาพของเห็ดกินได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดสกุล Russula ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้หญ้าบางชนิดเป็นวัสดุเพาะเห็ดตระกูลนางรม โครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก