สืบค้นงานวิจัย
ผลของคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะปลานิ้ว
สุภฎา คีรีรัฐนิคม, อานุช คีรีรัฐนิคม - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: ผลของคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะปลานิ้ว
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of various sources of carbohydrate on growth performance, feed conversion, feed efficiency and survival of Nieuhofii’s catfish (Clarias nieuhofii)fingerling
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาดุกลำพันจัดเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ให้ยั่งยืนได้ ต้องอาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยง และการเพาะขยายพันธุ์ที่เหมาะสม องค์ความรู้ด้านความต้องการสารอาหารของปลาชนิดนี้นับเป็นจุดสำคัญที่มีผลต่อการผลิตปลา ในปัจจุบันยังคงมีเฉพาะรายงานการศึกษาความต้องการโปรตีน และไขมันในปลาชนิดนี้เท่านั้น แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการคาร์โบไฮเดรตในปลาชนิดนี้มาก่อน การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของคาร์โบไฮเดรตชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพอาหาร องค์ประกอบทางเคมีของตัวปลา การสะสมสารอาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน นอกจากนี้ยังทดสอบความคงสภาพของเม็ดอาหารที่ผลิตขึ้น การทดลองดำเนินการโดยเตรียมอาหารทดลองที่มีระดับโปรตีนเท่ากัน 5 สูตรโดยใช้คาร์โบไฮเดรตชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลายข้าวบด มันสำปะหลังบด ข้าวโพดบด รำละเอียด และกากเนื้อในปาล์มบด ในปริมาณ 18% ในสูตรอาหาร เลี้ยงปลาดุกลำพันขนาด เฉลี่ย 1.87 กรัมต่อตัว ด้วยอาหารทดลองแต่ละสูตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตลอดช่วง 2-8 สัปดาห์ ของการทดลอง พบว่าปลาดุกลำพันที่ได้รับอาหารผสม ปลายข้าวบด ข้าวโพดบด และกากเนื้อในปาล์มบดมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวสูงกว่าปลาที่ได้รับอาหารผสม มันสำปะหลังบด และรำละเอียด (P0.05) แต่ปลาที่ได้รับอาหารผสมมันสำปะหลังบด และรำละเอียดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตมีค่าการสะสมไขมันต่ำ (p0.05) ค่าดัชนีตับต่อตัว ของปลาดุกลำพันที่ได้รับอาหารผสมปลายข้าวบด และข้าวโพดบดมีค่าสูงกว่าปลาที่ได้รับอาหารผสมมันสำปะหลังบด กากเนื้อในปาล์มบด และรำละเอียดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต (p>0.05) อย่างไรก็ตามปลาที่ได้รับอาหารทดลองที่ใช้ข้าวโพดบด เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตมีค่าดัชนีตับต่อตัวปลาไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเทียบกับปลา ที่ได้รับมันสำปะหลังบด รำละเอียด และกากเนื้อในปาล์มบด จากการทดลองนี้พบว่าค่า condition factors ของปลาที่ได้รับอาหารทดลองทุกสูตรมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ (p>0.05) ในด้านความคงสภาพของเม็ดอาหารพบว่าอาหารที่ผสมปลายข้าวบด ข้าวโพดบด และกากเนื้อในปาล์มบดมีความคงสภาพของเม็ดอาหารสูงกว่าการใช้รำละเอียดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต (P<0.05) ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าปลาดุกลำพันสามารถใช้ ปลายข้าวบด ข้าวโพดบด และกากเนื้อในปาล์มบดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตได้ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าปลาดุกลำพันสามารถใช้กากเนื้อในปาล์มบดในอาหารได้ดี ดังนั้นในลำดับต่อไป ควรมีการศึกษาถึงระดับที่เหมาะสม และประสิทธิภาพการย่อยกากเนื้อในปาล์มบดในปลาชนิดนี้เพิ่มเติม
บทคัดย่อ (EN): Nieuhofii’s catfish are endangered fish in Songkla lake basin of Thailand, the proper techniques for cultivation and brood stock production are needed for sustainable conservation of this specie. Nutrients requirement are parts of the critical point for effective fish production, only protein and lipid requirements in this specie have been published but no data for carbohydrate requirement. Then, this study was undertaken to determine the efficiency of various carbohydrate sources on growth performance, feed efficiency, chemical composition, nutrient retention and survival in Nieuhofii’s catfish. Moreover, experimental diets were tested for their water stability. Five iso nitrogenous practical diets (40.09-40.96 % protein), contained 18% of broken rice, cassava meal, corn meal, rice bran and palm kernel meal were formulated and then fed to each group of experimental fish (1.37 g initial weight) for 8 weeks. During 2-8 week of the experiment, average body weight of fish fed diet contained broken rice, corn meal and palm kernel meal were higher than those fed cassava meal and rice bran as carbohydrate sources (P0.05). But the lower lipid retention found in fish fed diets contained cassava meal and rice bran(p0.05). Hepatosomatic index of Nieuhofii’s catfish fed test diets contained broken rice and corn meal were higher than those fed cassava, palm kernel meal and rice bran as carbohydrate sources(p>0.05). But the fish fed test diets contained corn meal had a similar hepatosomatic index to the fish fed cassava, rice bran and palm kernel meal(p>0.05). Condition factors of Nieuhofii’s catfish fed all test diets were not significantly different among each treatment (p>0.05). Pellets that contained broken rice, corn meal and palm kernel meal had higher water stability when compared to the test diet contained rice bran. Our study found high utilization of broken rice, corn meal and palm kernel meal in Nieuhofii’s catfish. Especially, the results indicated high utilization efficiency of palm kernel meal in Nieuhofii’s catfish. So, information on optimum level and digestibility of palm kernel meal in Nieuhofii’s catfish are required in further study.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการรอดตายของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะปลานิ้ว
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2559
การศึกษาอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ระยะแรกฟักออกจากไข่ และระยะปลานิ้ว อัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra Jaeger, 1833 และ H. atra Jaeger, 1833) ที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน การเพาะและอนุบาลปลาดุกลำพันในสภาพน้ำพรุ การจัดการพันธุกรรมพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกลำพันในโรงเพาะฟักโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย AFLP การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาดุกลำพันเพื่อการอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยง เชิงพาณิชย์ ผลของการเสริมบีตากลูแคนในอาหารต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะของปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน อาหารบำรุงสมอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก