สืบค้นงานวิจัย
สภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน ปี 2525 - 2539
สมสวย ปัญญาสิทธิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน ปี 2525 - 2539
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมสวย ปัญญาสิทธิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไย (2) ศึกษาความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศ ศึกษาการให้ผลผลิตของลำไย ปี 2525 - 2539 ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลย้อนหลัง 15 ปี ใช้ข้อมูลสถิติลำไยจากสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปี 2525 - 2539 และข้อมูลสภาพภูมิอากาศ จากสถานีตรวจอากาศจังหวัดลำพูนย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2525 - 2539 ซึ่งข้อมูลได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ (R 2 ) จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศ กับการให้ผลผลิตของลำไยพบว่า สภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตของลำไย คือ ความชื้นสัมพัทธ์และจำนวนวัน ฝนตก ส่วนสภาพภูมิอากาศที่ไม่พบความสัมพันธ์ คือ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิสูงเฉลี่ย และ อุณหภูมิต่ำเฉลี่ย ความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศ พบว่าสภาพภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกัน มากที่สุด คือ ปริมาณน้ำฝน รองลงมา ได้แก่ จำนวนวันฝนตก อุณหภูมิต่ำเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิสูงเฉลี่ย ส่วนสภาพการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน พบว่า ลำไยให้ผลผลิตสูงสุดในฤดูกาลผลิต 2532/2533 โดยให้ผลผลิต 45.30 กิโลกรัมต่อต้น ที่ให้ผลผลิตแล้วต่อปี และให้ ผลผลิตน้อยที่สุดในฤดูกาลผลิต 2529/2530 ซึ่งให้ผลผลิต 1.93 กิโลกรัมต่อต้นที่ให้ผลผลิตแล้วต่อปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลำพูน
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน ปี 2525 - 2539
กรมส่งเสริมการเกษตร
2541
สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช การพัฒนาการจัดการสวนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตลำไยในช่วงที่ลำไยติดผล อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ปลูกต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ลำไยและผลิตภัณฑ์ เสถียรภาพของพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานการแก้ปัญหาลำไย ปี 2547 ในจังหวัดลำพูน การวิเคราะห์เสถียรภาพในการให้ผลผลิตของถั่วฝักยาวในสภาพการให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก