สืบค้นงานวิจัย
โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน
วิลาวัลย์ วงษ์เกษม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิลาวัลย์ วงษ์เกษม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพี่อกระตุ้นและเร่งเร้าให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการชะล้างพังทลายของดิน และส่งเสริมให้เกษตรกรคัดเลือกวิธีการผลิตมันสำปะหลังที่ช่วยลดการชะล้างการพังทลายของดินด้วยตนเองแล้ว นำมาทดสอบในพื้นที่ของตนเอง โดยมีวิธีการดำเนินงานในลักษณะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร มีระยะเวลาดำเนินงาน รวม 5 ปี คือ ปี 2537-2541 ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว จากผลการดำเนินงานมา 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2537-2539) พอสรุปได้ดังนี้ คือเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินการได้เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการชะล้างพังทลายของดิน และมีความพร้อมรวมทั้งพยายามป้องกันและบำรุงรักษาดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เกษตรกรสามารถตัดสินใจคัดเลือกวิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสมที่สุด สำหรับพื้นที่ของตนเอง เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และไม่มีผลกระทบต่อระบบการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร โดยเกษตรกรในจังหวัดสระแก้ว เลือกวิธีการปลูกพืชแถบด้วยหญ้าแฝก เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าเป็นวิธีการที่สามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ดีที่สุด และไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ส่วนเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาเลือกวิธีการปลูกตามสภาพพื้นที่ของตนเอง คือ ในเขตดินแดงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่มักจะประสบภาวะแห้งแล้งไม่สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ เกษตรกรจึงเลือกการปลูกพืชแถบด้วยหญ้าแฝก เนื่องจากหญ้าแฝกสามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ดี และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแห้งแล้ง ส่วนเขตดินขาวเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำแต่ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดี และสามารถปลูกอ้อยเคี้ยวและฟักทองได้ผลดีด้วย เกษตรกรจึงเลือกวิธีการปลูกพืชแถบด้วยหญ้าแฝกสลับกับอ้อยเคี้ยวขวางแนวลาดชันของพื้นที่ และปลูกพืชฟักทองแซมในระหว่างต้นมันสำปะหลัง ส่วนผลการดำเนินงานในลักษณะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงข้อจำกัดและปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของเกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2541
อาหารจากมันสำปะหลัง แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การป้องกันสารกำจัดวัชพืชตกค้างในการผลิตมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การใช้ระบบน้ำหยดร่วมกับการจัดการปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง การประยุกต์ใช้พืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในเขตพัฒนาที่ดิน ผลของแถบหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ต่อผลผลิตของมันสำปะหลัง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก