สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พรพงศ์ นุชประเสริฐ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรพงศ์ นุชประเสริฐ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตร (2) สภาพการผลิตและการตลาด และ (3) ปัญหาในการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกร (4) เปรียบเทียบระดับปัญหาในการผลิตมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมกับพื้นฐานและสภาพการผลิตมะเขือเทศบางประการของเกษตรกร ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงาน อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) สุ่มตัวอย่างเกษตรกรแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 120 รายการ จากจังหวัดสกลนคร หนองคาย และนครพนม ผลการศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 44.9 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 63.3 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คนเป็นวัยแรงงานเฉลี่ยครัวเรือน 2.7 คน สภาพการผลิตมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรมีประสบการณ์ในการผลิตเฉลี่ย 7.3 ปี ปลูกเฉลี่ยรายละ 3.8 ไร่ ใช้พันธุ์ พีโต้ 94 ร้อยละ 30.8 รับเมล็ดพันธุ์จากบริษัท/พ่อค้าคนกลาง ร้อยละ 39.2 ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 26.4 กรัม/ไร่ เพาะกล้าช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม อายุกล้าเฉลี่ย 27.8 วัน ระยะปลูกเฉลี่ย 43.7x39.5 เซนติเมตร เกษตรกรใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 2.6 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 15 -15 -15 ร่วมกับสูตร 13 -13 - 21 ร้อยละ 38.8 อัตราปุ๋ยที่ใช้เฉลี่ย 140.3 กิโลกรัม/ไร่ มีระยะห่างในการให้น้ำเฉลี่ย 7.1 วัน/ครั้ง โดยใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่มีการทำค้างมะเขือเทศ ร้อยละ 70 โรคและแมลงที่พบมากได้แก่ โรคเหี่ยวและหนอนเจาะผล เกษตรกรผลิตมะเขือเทศได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,558.3 กิโลกรัม/ไร่ สภาพการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิต ร้อยละ 75.8 นำผลผลิตไปขายที่จุดรับซื้อในท้องถิ่น ร้อยละ 70.8 ซึ่งพ่อค้าคนกลาง โครงการหลวง บริษัทขายผลผลิตได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.70 บาท ปัญหาหการผลิตและการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาก 10 ปัญหา มีปัญหามากที่สุดคือ ปัญญาการผลิตราคาแพง รองลงมาขาดความรู้เรื่องการปลูกมะเขือเทศ แมลงระบาดทำลาย การจ่ายเงินค่าผลผลิตล่าช้า โรคระบาดทำลาย พันธุ์มะเขือเทศไม่ต้านทานโรคแมลง จุดรับซื้อผลผลิตมีน้อยเกินไป การรับซื้อผลผลิตล่าช้า ขาดเงินลงทุนปลูกมะเขือเทศ บริษัทไม่รับซื้อผลผลิตที่เกินโคต้า ตามลำดับ การเปรียบเทียบระดับปัญหาในหารผลิตและการตลาด มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมกับลักษณะพื้นฐานและสภาพการผลิตบางประการของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามระดับอายุ ระดับการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรที่มีอายุแตกต่างกันมีปัญหาในการผลิตและการตลาดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 2 ประเด็น คือ ปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพง และขาดแรงงาน (2) เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีปัญหาในการผลิตและการตลาดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ คือ ภาชนะบรรจุผลผลิตไม่เพียงพอ (3) เกษตรกรมีประสบการณ์แตกต่างกัน มีปัญหาในการผลิตและการตลาดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ คือ การคัดเกรดผลผลิตไม่ยุติธรรม และ (4) เกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่ปลูกแตกต่างกัน มีปัญหาการผลิตและการตลาดไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรมีการอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศให้มีความรู้ด้านการผลิตและการตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านปัญจัยการผลิต มีราคาแพง โรคแมลง และการจำหน่ายผลผลิตโดยเฉพาะ ควรมีการอบรมความรู้ในเรื่องการปลูกมะเขือเทศให้แก่เกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรมีปัญหามากในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีอายุน้อยกว่า 37 ปี เนื่องจากมีปัญหาในการผลิตมะเขือเทศสูงกว่าเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ เกษตรกรมีการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศโดยการทำค้างให้กับต้นมะเขือเทศ ควรทำการเพาะกล้ามะเขือเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม เพราะเริ่มเข้าฤดูหนาว ทำให้มีโรคแมลงรบกวนน้อย เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในการผลิต และการรวบรวมผลผลิตจำหน่าย เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคาและสร้างความยุติธรรมในการจำหน่ายผลผลิตของสมาชิก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก