สืบค้นงานวิจัย
ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ
จักรพงษ์ กางโสภา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of seed pelleting with chemical substances on seed quality after different storage under conditions of tobacco seed (Nicotiana tabacum L.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรพงษ์ กางโสภา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jakkrapong Kangsopa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญมี ศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Boonmee Siri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเพาะกล้าให้มีความงอกที่ดีและความแข็งแรงสูงมีความสำาคัญต่อการผลิตยาสูบ ปัญหาจากการเข้าทำาลายต้นกล้าของเชื้อรา Pythium spp. ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าคอดินในระยะต้นกล้ายาสูบมาก จึงมีความจำเป็นที่เมล็ดควรได้รับการป้องกันการเกิดโรคด้วยสารป้องกันเชื้อราตั้งแต่ก่อนนำไปเพาะกล้า และไม่มีผลเสียต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงค้นหาชนิดของสารป้องกันเชื้อราและอัตราที่เหมาะสมต่อการพอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ยาสูบ รวมทั้งศึกษาผลของสารป้องกันเชื้อราต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บรักษา โดยทดลองที่โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้แผนการทดลอง CRD จำนวน 4 ซ้ำ มีวิธีการพอกเมล็ดทั้งหมด 13 กรรมวิธี คือ เมล็ดไม่พอก (วิธีควบคุม), เมล็ดที่พอกด้วย pumice, เมล็ดที่พอกด้วย pumice ร่วมกับสารป้องกันเชื้อราชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ captan, metalaxyl หรือ copper hydroxide โดยใช้สารป้องกันเชื้อราแต่ละชนิด ใน 4 อัตรา แตกต่างกัน คือ 1, 2, 4 และ 6 g.ai. การพอกเมล็ดพันธุ์ยาสูบใช้ pumice เป็นวัสดุพอก 50 กรัม/เมล็ดพันธุ์ยาสูบ 3 กรัม และใช้ hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC) ที่ระดับความเข้มข้น 4% โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุประสาน จากนั้นตรวจสอบความงอกและความเร็วในการงอกหลังการพอก และหลังการเก็บรักษาในสภาพควบคุมและไม่ควบคุมสภาพแวดล้อมเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจากผลการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่พอกด้วย pumice เพียงอย่างเดียว มีความงอกและความเร็วในการงอกดีที่สุด ทั้งหลังการพอกและหลังการเก็บรักษา ส่วนการพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อรา captan, metalaxyl หรือ copper hydroxide พบว่าหลังการเก็บรักษานาน 6 เดือน ทั้งในสภาพควบคุมและไม่ควบคุมสภาพแวดล้อม การพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อราแต่ละ 3 ชนิด ในปริมาณความเข้มข้นเกิน 2 g.ai. จะทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์ลดต่ำลง
บทคัดย่อ (EN): A high vigor tobacco seedling is important to the tobacco production. However, there is still a problem such as seedling infestation by Pythium spp. which is causes damping-off in the seedling stage of tobacco. Therefore, the seed protection from disease by fungicide is necessary before planting. That should not be harmful to the quality of seed. The objective of this study was to find an appropriate type and rate of fungicide for tobacco seed pelleting including the effects on seed quality after storage. The experiment was conducted at Seed Processing Plant, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. The design was completely randomized with four replications. The thirteen pelleting treatments were applied in this research that consist of non-pelleted seed (control), pelleted seed with pumice without fungicide, pelleted seed with pumice and mixed with each of three types of fungicides including captan, metalaxyl and copper hydroxide. Each type of fungicide was applied at the concentrations of 1, 2, 4 and 6 g.ai. The tobacco seed pelleting was used 150 g./3g.seed of pumice as a filler material and 4% by weight of hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC) as a binder. The seed quality of all treatments including seed germination and speed of germination were examined after pelleting and storage under control and ambient conditions for 6 months. The results showed that the pelleted seed with pumice only had the highest germination and speed of germination both after pelleting process and storage. The pelleted seeds with pumice and mixed with fungicide including captan, metalaxyl and copper hydroxide with more than 2 g.ai. were decreasing germination percentage and speed of germination of tobacco after storage for 6 months under control and ambient conditions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252174/172514
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการพอกเมล็ดด้วย pumice zeolite และ bentonite ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ผลของการเคลือบก้อนพอกด้วยสารป้องกันโรคพืชที่มีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาสูบ พอลิเมอร์ที่เหมาะสมสำหรับการเคลือบเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ ผลของการคัดแยกเมล็ดเปียกโดยใช้ของเหลวต่างชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์พริกหวาน ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก