สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana,Linn) รักษาโรคแผลด่าง (Flexibacter maritimus) ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ธิดาพร ฉวีภักดิ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana,Linn) รักษาโรคแผลด่าง (Flexibacter maritimus) ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ชื่อเรื่อง (EN): Application of mangostin, mangosteen pericarp extract (Garcinia mangostana, Linn) to treat Flexibacter maritimus Diseases in Sea Bass (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธิดาพร ฉวีภักดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุดที่สกัดด้วยเอธานอล 99.9% (MPE)เปรียบเทียบกับสารสกัดปลือกมังคุดด้วยน้ํากลั่น(MPW) ในการต้านเชื้อ Flexibacter maritimus ที่แยกได้จากปลากะพงขาวติดเชื้อ พบว่าค่าความเข้มข้นต่ําสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ําสุดในการกําจัดแบคทีเรีย (MBC) ต่อเชื้อ F. maritimus ของสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอล เท่ากับ 0.0211 และ 0.0423 มก./มล. ตามลําดับ ส่วนสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยน้ํากลั่นมีค่าเท่ากับ 0.0453 และ 0.1813 มก./มล. ตามลําดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอลมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (microbiocidal) F. maritimus ดีกว่าสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยน้ํากลั่น เมื่อนําสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอล (MPE) มาทดลองรักษาโรคแผลด่างในปลากะพงขาวที่ทําให้ติดเชื้อ F. maritimus โดยปลาทดลองมีขนาดความยาวลําตัวเฉลี่ย 6.58±0.49 เซนติเมตรและน้ําหนักเฉลี่ย 3.40±0.88 กรัม การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอลในการควบคุมปริมาณแบคทีเรียด้วยวิธีการแช่ความเข้มข้น 4 ระดับคือ 1, 2, 3 และ 4 มก./ล. เป็นเวลา 24 ชม. แล้วถ่ายน้ํา 50% ทําติดต่อกัน 3 ครั้ง พบว่าที่ระดับความเข้มข้น 2 มก./ล. สามารถลดปริมาณแบคทีเรีย F. maritimus บริเวณเหงือกและเมือกผิวลําตัวปลาได้มากกว่าระดับอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p<0.05) ในการทดลองรักษาด้วยวิธีการแช่ระยะสั้นร่วมกับการกินสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอลที่คลุกกับอาหาร ทั้งนี้ได้ทดลองแช่ปลาติดเชื้อที่ระดับความเข้มข้น 3 มก./ล. เป็นเวลา 30 นาที แล้วเปลี่ยนถ่ายน้ํา 50% ทําการแช่วันเว้นวัน เพื่อไม่ให้ปลาเครียดจนเกินไปและเพิ่มการให้อากาศตลอดการทดลอง หลังจากนั้นแช่ซ้ําจนครบ 3 รอบ พร้อมทั้งให้ปลากินอาหารผสมสารสกัดเปลือกมังคุดที่ความเข้มข้น 1, 2 และ 5 ก./อาหาร 1 กก.โดยให้กินวันละ 2 มื้อ ติดต่อกัน 10 วัน ผลการทดลองหลังจากสิ้นสุดการรักษา 14 วัน พบว่า ปลาในชุดทดลองที่แช่สารสกัดระยะสั้นความเข้มข้น 3 มก./ล. ร่วมกับกินอาหารผสมสารสกัดความเข้มข้น 2 ก./อาหาร 1 กก. มีปริมาณแบคทีเรีย F. maritimus ในเหงือก เมือกบนผิวลําตัว และตับน้อยกว่า และอัตรารอดตายสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุปจากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสารสกัดเปลือกมังคุดด้วยเอธานอลที่ระดับความเข้มข้นและวิธีใช้เหมาะสมมีประสิทธิภาพช่วยควบคุมปริมาณแบคทีเรีย F. maritimus ในปลากะพงขาวและสามารถนํามาใช้เป็นทางเลือกทดแทนยาปฏิชีวนะ ลดปัญหาสารตกค้าง และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า
บทคัดย่อ (EN): Efficacy test of mangosteen pericarp extracted with 99.9% ethanol (MPE) compare to mangosteen pericarp extracted with distilled water (MPW) against Flexibacter maritimus which isolated from infected Sea Bass (Lates calcarifer (Bloch, 1790)). The results,in vitro, showed that the Minimum Inhibitor Concentration (MIC) and the Minimum Bactericidal Concentration (MBC) against F. maritimus of MPE were 0.0211 and 0.0423 mg/ml and MPW were 0.0453 and 0.1813 mg/ml, respectively. Thus could conclude that the MPE was more microbiocidal than MPW. For the efficacy testing of MPE to control bacteria by immersion of 4 MPE concentrations i.e. 1, 2, 3 and 4 mg/L for 24 hrs, followed by 50% water exchange, 3 times consecutively. The result showed that at a concentration of 2 mg/L capable to decrease F. maritimus occurrence in gill and mucous of infected fish more than the others, significantly (p<0.05). The therapy experimentation was MPE immersion shortly period incorporated with the MPE medication. The MPE immersion concentration level was applied at 3 mg/L only for 30 min., followed by 50 % water exchanged, after that ignored immersion for a day in order to avoid the fish were more stressed and then 3 times consecutively immersion, whereas providing the aeration throughout the experimental period. These fish were fed the commercial pellet coated with MPE at concentrations of 1,2 and 5 g/kg pellet, twice a day for 10 days. At the dosages of 3 mg/L immersion shortly period incorporated with 2 g/kg pellet medication was the drug of choice. After the end of therapy for 14 days, the results showed that the occurrence of F. maritimus in gill, mucous and liver of fish were decreased more than the other groups and also higher survival rate than the others, significantly (P<0.05). In conclusion, the data from this experiment was strongly indicated that the MPE had efficacy to control the F. maritimus in Sea Bass. The more advantages of MPE could be recommended for fish culture and substituted the antibiotic for decrease residue problem and encourage applying the remnant uses.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana,Linn) รักษาโรคแผลด่าง (Flexibacter maritimus) ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ผลของสารสกัดหยาบจากฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อองค์ประกอบเลือด ระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การอนุบาลลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) โดยใช้อาหารธรรมชาติด้วยวิธีการเตรียมบ่อต่างกัน การสะสมและการขับทิ้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดแห้งและอาหารปลาสด การศึกษาวิธีการแปรรูปและการเก็บรักษามังคุด การเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida C. Agardh, 1823) ที่เลี้ยงร่วมกับปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1970) ผลของการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาข้างเหลืองในการเลี้ยงปลากะพงขาว ผลของสีน้ำต่อการเจริญเติบโตและสีผิวของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch 1790) ที่เลี้ยงในระบบอควาโปนิกส์ ผลของสีน้ำต่อปลากะพงขาวในการเลี้ยงระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลของสารสกัดจากรากกระพังโหมต่อการเกิดเจลซูริมิจากปลาชะโด ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีกลีบเลี้ยงของมังคุดและแนวทางแก้ไข

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก