สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
วิโรจ อิ่มพิทักษ์, นิตย์ศรี แสงเดือน, ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช, เจษฎา ภัทรเลอพงศ์, ศุภาวรรณ ประพันธ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of Oil Palm Production in Upper Northeast of Thailand
บทคัดย่อ: ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชยืนต้นที่อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายสดมากกว่า 25 ปี และจัดเป็นพืชน้ำมันที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น ปาล์มน้ำมันมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสามารถให้ประโยชน์ทั้งในด้านอุปโภค และบริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน การจัดการสวนปาล์มที่เหมาะสม และต้นทุนการผลิต โดยใช้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุ 1 ปี พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ของกรมวิชาการเกษตร วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) จำนวน 3 ซ้ำ ระยะปลูก 9x9 เมตร วางแนวทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ 23.6 ไร่ ให้ระบบน้ำหยดอัตรา 4 ลิตร/ชั่วโมง ใส่ปุ๋ยตามเอกสารแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากการทดลองพบว่า ในด้านการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มีขนาดทรงพุ่มกว้างที่สุด (336.5 เซนติเมตร) รองลงมาคือพันธุ์สุราษฎร์ธานี 4, 6, 1, 5 และ 3 ตามลำดับ จำนวนใบรวมของปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มากที่สุด (54 ใบ) รองลงมาคือพันธุ์สุราษฎร์ธานี 5, 1, 6, 3 และ 4 แต่ยังไม่พบการออกดอกในปาล์มน้ำมันทั้ง 6 พันธุ์ ปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดธาตุโบรอน พบการเข้าทำลายของด้วงแรดในช่วงแล้ง แต่ไม่พบการเกิดโรคในปาล์มน้ำมันทั้ง 6 พันธุ์ ในด้านต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ คือ ค่าแรงงาน รองลงมาคือ ค่าปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง และค่าบำรุงรักษาระบบน้ำ จากผลการวิจัย ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพันธุ์ใดเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาการให้ผลผลิตของแต่ละพันธุ์ร่วมด้วย ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชยืนต้นที่อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายสดมากกว่า 25 ปี และจัดเป็นพืชน้ำมันที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น ปาล์มน้ำมันมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสามารถให้ประโยชน์ทั้งในด้านอุปโภค และบริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน การจัดการสวนปาล์มที่เหมาะสม และต้นทุนการผลิต โดยใช้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุ 1 ปี พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ของกรมวิชาการเกษตร วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) จำนวน 3 ซ้ำ ระยะปลูก 9x9 เมตร วางแนวทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ 23.6 ไร่ ให้ระบบน้ำหยดอัตรา 4 ลิตร/ชั่วโมง ใส่ปุ๋ยตามเอกสารแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากการทดลองพบว่า ในด้านการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มีขนาดทรงพุ่มกว้างที่สุด (336.5 เซนติเมตร) รองลงมาคือพันธุ์สุราษฎร์ธานี 4, 6, 1, 5 และ 3 ตามลำดับ จำนวนใบรวมของปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มากที่สุด (54 ใบ) รองลงมาคือพันธุ์สุราษฎร์ธานี 5, 1, 6, 3 และ 4 แต่ยังไม่พบการออกดอกในปาล์มน้ำมันทั้ง 6 พันธุ์ ปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดธาตุโบรอน พบการเข้าทำลายของด้วงแรดในช่วงแล้ง แต่ไม่พบการเกิดโรคในปาล์มน้ำมันทั้ง 6 พันธุ์ ในด้านต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ คือ ค่าแรงงาน รองลงมาคือ ค่าปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง และค่าบำรุงรักษาระบบน้ำ จากผลการวิจัย ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพันธุ์ใดเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาการให้ผลผลิตของแต่ละพันธุ์ร่วมด้วย
บทคัดย่อ (EN): Oil palm is a perennial crop, which has crop harvest more than 25 years, and is classified as oil crop which gives higher yield per area than other crops. Oil palm has an essential role in economic value because it can provide benefits in utilizations and consumptions. This study objective was to evaluate of potential of growth of oil palm, proper farm managements and production costs. This study used 1-year oil palm seedling of Suratthani (SU) 1, 2, 3, 4, 5 and 6 from Department of Agriculture (DOA). Experimental design of this study was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications. The plantation area was 23.6 rai with 9x9 meter plant spacing. Drip irrigation, flow rate 4 liters per hour, was applied in this plantation. List of fertilizers was used according to DOA. Growth development results showed SU-2 had the widest canopy (336.5 cm.) and SU 4, 6, 1, 5 and 3 respectively. SU-2 also had the most total leaf (54 leaves) and SU 5, 1, 6, 3 and 4 respectively. However, there was not flowering found among 6 cultivars. Oil palm in this plantation showed Boron deficit and damage from Coconut Rhinoceros Beetle in drought but there was not any infection in oil palm. In production costs, the main capital was labor expenditure and fertilizers pesticides and irrigation maintenance respectively. According to these current experiment results, it could not conclude which the most appropriate oil palm cultivar is for Upper Northeast region of Thailand because it needs further investigating in productivity of each cultivar.Oil palm is a perennial crop, which has crop harvest more than 25 years, and is classified as oil crop which gives higher yield per area than other crops. Oil palm has an essential role in economic value because it can provide benefits in utilizations and consumptions. This study objective was to evaluate of potential of growth of oil palm, proper farm managements and production costs. This study used 1-year oil palm seedling of Suratthani (SU) 1, 2, 3, 4, 5 and 6 from Department of Agriculture (DOA). Experimental design of this study was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications. The plantation area was 23.6 rai with 9x9 meter plant spacing. Drip irrigation, flow rate 4 liters per hour, was applied in this plantation. List of fertilizers was used according to DOA. Growth development results showed SU-2 had the widest canopy (336.5 cm.) and SU 4, 6, 1, 5 and 3 respectively. SU-2 also had the most total leaf (54 leaves) and SU 5, 1, 6, 3 and 4 respectively. However, there was not flowering found among 6 cultivars. Oil palm in this plantation showed Boron deficit and damage from Coconut Rhinoceros Beetle in drought but there was not any infection in oil palm. In production costs, the main capital was labor expenditure and fertilizers pesticides and irrigation maintenance respectively. According to these current experiment results, it could not conclude which the most appropriate oil palm cultivar is for Upper Northeast region of Thailand because it needs further investigating in productivity of each cultivar.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2556
โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การศึกษากระบวนการแปรรูปปาล์มน้ำมันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การศึกษาลักษณะการผลิตและการตลาดยางก้อนถ้วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตครามในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ความก้าวหน้าโครงการพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก