สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาวิธีการปลูกเชื้อวี-เอไมโคไรซ่ากับยางพารา
สุทัศน์ ด่านสกุลผล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาวิธีการปลูกเชื้อวี-เอไมโคไรซ่ากับยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Study on V-A Mycorrhiza Inoculation for Rubber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทัศน์ ด่านสกุลผล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เชื้อราชนิดวี-เอไมโคไรซ่า เป็นกลุ่มเชื้อราในดินที่อาศัยอยู่ในเซลล์รากพืชแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) โดยจะสร้างเส้นใยออกมารอบๆราก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเนื้อที่รากในการดูดซับธาตุอาหาร เส้นใยวี-เอไมโคไรซ่าเหล่านี้มีความสามารถพิเศษที่จะดูดซับและเปลี่ยนแปลงธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารประกอบที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เชื้อราวี-เอไมโคไรซ่านี้ สามารถดำรงอยู่ในรากยางได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้การทดลองใช้เชื้อวี-เอไมโคไรซ่าเป็นไปอย่างได้ผล ต้องมีการคัดเลือกหาสายพันธุ์ไมโคไรซ่าที่เหมาะสมกับยางพารา ที่ปลูกในสภาพเขตภูมิอากาศภาคใต้ตอนบนก่อน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย หลังจากนั้น จึงศึกษาหาความเป็นไปได้ของการปลูกเชื้อ (Inoculate) ที่คัดเลือกแล้วเข้าสู่รากยางพารา ผลการศึกษาพบว่า สามารถปลูกเชื้อวี-เอไมโคไรซ่ากับยางพาราได้ โดยเฉพาะการปลูกเชื้อหลังจากที่ระบบรากยางมีการพัฒนาดีแล้ว จะได้ผลดีกว่าการปลูกเชื้อตั้งแต่ต้นตอตายางยังมีอายุน้อยๆ ทั้งนี้เชื้ออาจจะต้องรอรากขนอ่อนนานเกินไป ทำให้สูญหายไปเนื่องจากการชะล้าง หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จนตายไปก่อนที่จะได้เข้าสู่รากขนอ่อน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาวิธีการปลูกเชื้อวี-เอไมโคไรซ่ากับยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
2547
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน พยากรณ์ราคายางพารา โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การปลูกหมากเป็นพืชร่วมกับยางพารา การปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจร่วมกับยางพารา การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ในการปลูกยางพารา การวิเคราะห์ธาตุอาหารในน้ำยางเพื่อประเมินสถานะธาตุอาหารพืชในยางพารา ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก