สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่สู่การค้าระดับประเทศ(กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว)
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่สู่การค้าระดับประเทศ(กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว)
ชื่อเรื่อง (EN): Guidelines for the Development Food Processing of Community Enterprises Products in Chiang Mai, To National Trade. (A Case Study of the level below 3-Star OTOP)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชัช พชรธรรมกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษามี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สภาพการผลิตการตลาด ระดับศักยภาพความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารสู่ความเข้มแข็ง รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วม (PAR) ให้ได้รับมาตรฐานระดับประเทศ จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยเก็บจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ในการลงพื้นที่ จำนวน 12อำเภอ จาก 25 อำเภอในพื้นที่ที่มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงที่สุด ตามคำแนะนำของสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จากการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลพบว่ามีเพียง 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสันทราย และอำเภอพร้าว ที่มีความสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาวสู่การค้าระดับประเทศได้ กลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่มาตรฐานการค้าระดับประเทศ ทั้งนี้ได้ศึกษาผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด ข้าวเกรียบมันกัลยา และจิ้นส้มหมก โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ ศักยภาพความเข้มแข็ง ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน รวมถึงแนวทางการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ข้าวเกรียบมันกัลยา จิ้นส้มหมก มีรสชาติอร่อย ต่างเป็นที่ต้องการของผู้บริโภครวมทั้งนักท่องเที่ยวในระดับปานกลาง สามารถหาซื้อได้จากร้านขายของฝากตามแหล่งท่องเที่ยว สื่อทางวิทยุและปากต่อปาก และข้อเสนอแนะ ในส่วนข้าวเกรียบมันกัลยา ควรเพิ่มความหลากหลายของรสชาติ ส่วนจิ้นส้มหมก ควรมีเครื่องวันผลิต และวันหมดอายุที่ชัดเจน ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ความสามัคคี และความเข้มแข็งของกลุ่ม อีกทั้งผู้นำจะต้องบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล ส่วนการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนั้น สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่การค้าระดับประเทศได้ไม่ยากเนื่องจากมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study were to study community context, production, and marketing situation, potential level of strength, and to analyze factor affecting on development of food community enterprise in Chiang Mai Province with Participatory Action Research (PAR). Data were collected from 12 districts in the highest potential food community enterprises according to the suggestion of Chiang Mai Department of Agriculture, i.e., Sansai and Pharo districts. The food community enterprises randomed were alu potato chips and Jinsom busy. It could be concluded that these products corresponded with consumer demand in the medium level and the consumers can buy them at souvenir shops in each tourist attraction influencing the demand by mouth to mouth and radio media. Moreover, the varieties of taste in alu chips were important and Jinsom busy should be made related to produced and expired date.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-078
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://erp.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=4345
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่สู่การค้าระดับประเทศ(กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาว)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การพัฒนากลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านแคว ตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวในจังหวัดสกลนคร การผลิตสัตว์น้าเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน แนวทางการพัฒนาการผลิตโปรตีนเซลล์เดียว จากมันสำปะหลังในระดับการำนไปใช้สำหรับเกษตรกรเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมนุษย์และสัตว์เลี้ยง การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร บ้านแคว ตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเพื่อการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนประมงบริเวณเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบรรจุแบบแอคทีฟสำหรับปลาบดแผ่นกรอบที่ผลิตในระดับวิสาหกิจชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก