สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด
โศรนันท์ เติมศรีรัตน์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่อง (EN): Adoption of rice seed production technology by farmers in Roi-Et province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โศรนันท์ เติมศรีรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Soranun Termsrirat
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ทัศนคติ และแรงจูงใจที่มีต่อการจัดทาแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และ(5) ปัญหา และข้อเสนอแนะของเกษตรกร ประชากรเป็นเกษตรกรผู้จัดทาแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวร่วมกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด ฤดูฝน ปี 2551 รวม 721 ราย จานวนกลุ่มตัวอย่าง 180 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.27 ปี จบประถมศึกษา ภาคบังคับ มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.87 คน แรงงานทานาในครัวเรือนเฉลี่ย 2.59 คน ส่วนใหญ่มีตาแหน่งทางสังคม และเป็นสมาชิกกลุ่ม เคยฝึกอบรมด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 2.99 ครั้ง ประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 10.16 ปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 4.66 ครั้ง ในช่วงฤดูกาลผลิต มีพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 22.17 ไร่ พื้นที่จัดทาแปลงขยายพันธุ์เฉลี่ย 14.05 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดเฉลี่ย 4,721.78 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยไร่ละ 337.07 กิโลกรัม ราคาจาหน่ายเฉลี่ย 16.75 บาทต่อกิโลกรัม มีรายได้จากการจาหน่ายเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 78,243.44 บาท (2) ทัศนคติ และแรงจูงใจที่มีต่อการจัดทาแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเชิงความคิดเห็นในภาพรวมระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และส่วนใหญ่ยอมรับนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปฏิบัติ (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ อายุ จานวนแรงงานทานาในครัวเรือน ประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ จานวนพื้นที่ถือครองการเกษตร ทัศนคติที่มีต่อการจัดทาแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และแรงจูงใจในการจัดทาแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว (5) เกษตรกร ประสบปัญหาด้านแรงงานและศัตรูข้าวระดับมาก ส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะให้ใช้กระสอบปอสาหรับ บรรจุเมล็ดพันธุ์ใหม่
บทคัดย่อ (EN): Objectives of this research were to study (1) social and economic factors of rice seed producing farmers in Roi-Et Province (2) attitude and motivation towards rice seed production (3) farmers’ adoption of rice seed production technology (4) factors relating to technology adoption and (5) problems and recommendations of farmers. The population in this study was a total of 721 rice seed producing farmers who registered with Roi-Et Rice Seed Center for the production of the 2008 rainy season. One hundred and eighty farmers were selected as simply random samples. The instrument used for data gathering was an interview. The data analysis was conducted by computer programs. The statistical methodology for data analysis included a percentage, a frequency, a mean, a minimum value, a maximum value, a standard deviation and a correlation by a stepwise multiple regression. Findings from the study were as follows; (1) Most of farmers were male with average age of 51.27 years and completed compulsory primary education. The average family member was 4.87 persons. Their families’ average labor for rice-farming was 2.59 persons. Most of them held social positions and were members of agricultural group. The average training in seed production was 2.99 times. Their average experience in seed production was 10.16 years. The average knowledge through contacts with agricultural promotion officers was 4.66 times during the production period. Their average planting area was 22.17 rais. The average area for rice seed production was 14.05 rais that gained an average rice seed product of 4,721.78 kilogram. Their average rice product was 337.07 kilogram per rai. The average price of rice seed was 16.75 Baht/kg. The average income from selling rice seeds was 78,243.44 Baht. (2) The farmers’ attitude towards rice seed production, agricultural promotion officers and motivation towards rice seed production were at “strongly agree” level.(3) Farmers’ adoption of rice seed production technology was at “strongly agree” level, except for planting methods and cultural practices were at “agree” level. Most of them employed rice seed production technology to actual practice. (4) Factors relating to adoption of rice seed production technology comprised of age, number of farming labor in a family, experience in rice seed production, number of occupied planting area, attitude towards rice seed production, attitude towards agricultural promotion officers and motivation in rice seed production. (5) Farmers seriously encountered problems at “high” level, i.e. labor shortage, and pest. Recommendation made was that jute bags should be used for packing new rice seeds.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329718
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2546/2547 สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก