สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่
ประนอม ใจอ้าย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Baphicacanthus cusia Brem. Production in Phrae Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประนอม ใจอ้าย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีเหมาะสมกับพื้นที่ ในการเพิ่มผลผลิตห้อมและรายได้ของเกษตรกรในจังหวัดแพร่ การวิจัยดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ระหว่างปี 2557-2558 ผลการศึกษาพบว่า ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับห้อม คือ 50x60 เซนติเมตร ซึ่งให้ผลผลิตใบห้อมสด 1,266 กิโลกรัมต่อไร่และเนื้อห้อมสด 239 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ระยะปลูกไม่มีผลต่อปริมาณสารอินดิโก้ในเนื้อห้อม ห้อมสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นอายุ 8 เดือนขึ้นไปซึ่งให้ผลผลิตใบห้อมสด 2,949-4,592 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณสารอินดิโก้ 1.72-2.11% การตัดแต่งกิ่งต้นห้อมไม่ทำให้ผลผลิตใบห้อมสดแตกต่างกันทางสถิติ การพรางแสงโรงเรือนพรางที่ 70% ทำให้ได้เนื้อห้อมสดสูงสุด คือ 238 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การพรางแสงโรงเรือนที่ 80% ทำให้ได้เนื้อห้อมสดต่ำสุด คือ 42 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวใบห้อมสดไม่มีผลต่อผลผลิตใบห้อมสดซึ่งเท่ากับ 2,687-2,951 กิโลกรัมต่อไร่ การเก็บเกี่ยวใบห้อมสดในช่วงเช้าเวลา 07.00-08.00 และ 10.00-11.00 นาฬิกา ทำให้ได้เนื้อห้อมสด 421-463 กิโลกรัมต่อไร่ การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตห้อมตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดแพร่จำนวน 10 ราย พบว่า กรรมวิธีแนะนำให้ผลผลิตใบห้อมสดเฉลี่ย 3,970 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรทำอยู่เดิมซึ่งให้ผลผลิตใบห้อมสดเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีแนะนำให้ผลตอบแทนหรือรายได้เฉลี่ย 31,668 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงกว่ารายได้จากกรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 2,760 บาทต่อไร่ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ตลอดจนช่วยอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมห้อมในจังหวัดแพร่
บทคัดย่อ (EN): This research and development project on production technologies of Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze aimed to investigate for the suitable technologies increase hom yields and farmer incomes in Phrae province. The projected was conducted at Phrae Research and Development Center, Phrae during 2014-2015. Results revealed that the suitable plant density at 50x60 cm which gave the highest fresh leaf weight at 1,266 kilogram/rai and indigo paste weight at 239 kilogram /rai. There was no effect of plant density on the percentage of indigo substance. After planting, leaves could be harvested at 8 months or more which gave fresh leaf weight at 2,949-4,592 kilogram/rai and the indigo substance at 1.72-2.11%. In this study, there was no significant different in fresh leaf weight between different pruning methods. Harvesting leaves in the morning during 07.00-08.00 or 10.00-11.00 am gave maximum indigo paste weight at 421-463 kilogram/rai. On farm testing the technologies with 10 farmers in Phrae province found that the DOA recommended methods provided higher fresh leaf weight at 3,970 kilogram/rai while the farmer methods gave 1,500 kilogram/rai of fresh leaf weight. The DOA recommended methods gave net income at 31,668 Baht/rai which was 2,760 Baht/rai higher than the farmer methods. This project is greatly useful for increasing S. cusia productivity including the farmer’ and stakeholder’ incomes. It is also helpful in working on conservation of S. cusia in Phrae province.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่เฉพาะพื้นที่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก