สืบค้นงานวิจัย
สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ธงชัย คำโคตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Explores and Analyze Para Rubber Woods Quantity in Lower Northeastern
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธงชัย คำโคตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการสำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบพื้นที่ที่ต้องทำการโค่น โดยแยกเป็นรายจังหวัดรายปี วิเคราะห์หาปริมาณไม้ยางเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประเมินราคาซื้อขาย และความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานไม้ยางใกล้แหล่งผลิตจากข้อมูลการสำรวจสวนยางของเกษตรกรที่ปลูกยางระหว่างปี พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2536 จำนวน 1,667 ตัวอย่าง พบว่าเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ปลูกยางเฉลี่ยคนละ 9.2 ไร่ เกษตรกรใช้ระยะปลูกที่หลากหลาย ทั้ง 2.5x7, 2.5x8, 3x6, 3x7, 3x8 และระยะอื่นๆ พันธุ์ยางที่ใช้ส่วนใหญ่คือพันธุ์ RRIM 600 จำนวนต้นยางยืนต้นเฉลี่ย 71.09 ต้น/ไร่ ต้นยางมีขนาดรอบลำต้นที่ความสูง 20 เซนติเมตรจากพื้นดินเฉลี่ย 80.11 เซนติเมตร มีขนาดรอบลำต้นที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดินเฉลี่ย 69.51 เซนติเมตร มีขนาดรอบลำต้นที่คาคบเฉลี่ย 64.51 เซนติเมตร และมีความสูงจากพื้นดินถึงคาคบเท่ากับ 3.00 เมตร ซึ่งจะได้ไม้ยางยาวประมาณ 1.50 เมตรเพียง 2 ท่อนเท่านั้น ซึ่งถือว่าขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีพื้นที่ปลูกยางพารารวม 95,601ไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 4.77 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ รวมมีปริมาตรไม้ 464,769 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสดเฉลี่ย 31.54 ตัน/ไร่ หรือเฉลี่ยต้นละ 443 กิโลกรัม รวมมีน้ำหนัก3,045,786 ตัน จังหวัดที่มีมากที่สุดคือจังหวัดบุรีรัมย์มีปริมาตรไม้ยาง 168,684 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสด 1,079,041 ตัน รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ มีปริมาตรไม้ยาง 78,372 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสด 524,312 ตัน จังหวัดสุรินทร์ มีปริมาตรไม้ 75,495 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสด 508,002 ตัน และจังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาตรไม้ยาง 58,196 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสด 384,920 ตัน รวมทั้ง 4 จังหวัดมีปริมาตรไม้ 380,747 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักสด 2,496,275 ตัน คิดเป็นร้อยละ 82 ของทั้งภาค การตั้งโรงงานไม้ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ควรจะต้องพิจารณาจุดที่เหมาะสม โดยเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราจะต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน ทั้งปริมาณไม้ยางในปัจจุบัน ปริมาณไม้ยางในอนาคตซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีปริมาณไม้เพียงพอสำหรับตั้งโรงงานแปรูป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพาราของประเทศรายปี ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน สถานการณ์โรคและแมลงศัตรูของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการจัดการ ศึกษาปริมาณการผลิตไม้ยางพารา เศรษฐกิจการตลาดยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก