สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายของผักพื้นบ้านในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ปาจรีย์ อินทะชุบ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายของผักพื้นบ้านในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): The diversity of indigenous vegetables in western region of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปาจรีย์ อินทะชุบ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pajaree Inthachub
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายของผักพื้นบ้านในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารของคนในท้องถิ่น ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์คนในท้องถิ่น สำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ที่เป็นอาหารในบริเวณชุมชน พื้นที่สวนครัว ตลาดในชุมชน และในป่าธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการระบุชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและอ้างอิง อีกทั้งมีการบันทึก ข้อมูลต่างๆ ของพืชและวิธีการนำไปใช้ ผลการศึกษาพบว่ามีพืชที่ใช้เป็นอาหารจำนวน 171 ชนิด ใน 63 วงศ์ แบ่งเป็นพืช ใบเลี้ยงคู่ 121 ชนิด พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 43 ชนิด พืชเมล็ดเปลือย 1 ชนิด และพืชในกลุ่มเฟิน 6 ชนิด เป็นพืชอาหารที่น่าสนใจ และมีศักยภาพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ได้แก่ กระเจี๊ยบเถา (Cissus hastate Miq.), ดอกดิน (Curcuma candida (Wall.) Techaprasan & Škorničk), แตงเปรี้ยว (Curcumis sativus L.), มะงั่ว (Citrus medica L.), มะตาด (Dillenia indica L.), ลูกสั้น (Dillenia pentagyna Roxb.), ส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.) DC.) และส้านใหญ่ (Dilleniaobovata(Blume) Hoogland)
บทคัดย่อ (EN): The study on species diversity of indigenous vegetables in western region of Thailand, which aims to investigate the traditional uses of edible plants by local people, was conducted during October 2011 to September 2013. The study was carried out by interviewing local people and undertaking field surveys in and around the villages, at the home garden, the local market and the natural forest to record information about plants and their usages. The samples were collected for taxonomic identification and kept as voucher specimens. The results indicated that 171 species belonging to 63 families have been used for indigenous vegetables. There are 121 species of dicots, 43 species of monocots, one species of gymnosperm and 6 species of pteridophytes. Interesting and economical potential income generating species are Cissus hastate Miq., Curcuma candida (Wall.) Techaprasan & Škorničk, Curcumis sativus L., Citrus medica L., Dillenia indica L., Dillenia pentagyna Roxb., Acacia concinna (Willd.) DC. and Dilleniao bovata (Blume) Hoogland.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=V_020.pdf&id=1681&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายของผักพื้นบ้านในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของค่าดัชนีความเครียดเนื่องจากความร้อนต่อผลการผสมเทียมของโคนมในภาคตะวันตกของประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลำไยของประเทศไทย ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมลงวันผลไม้ Bactrocera latifrons ในภาคกลางของประเทศไทย การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย การศึกษาสมรรถนะการจัดการซัพพลายเชนของลำไยเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์สีผสมอาหารจากรงควัตถุของพืชผักพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร แบบจำลองการทำนายความล้มเหลวของผลประกอบการโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก