สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค
ยุทธนา สว่างอารมย์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค
ชื่อเรื่อง (EN): The Enhancing Potential in Anabas testudineus Culture by Adding Pueraria mirifica in the Fish Feed for Producing Safty Food for A Consumption
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุทธนา สว่างอารมย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากผลการทดลองเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาวในอัตราส่วนแตกต่างกัน 6 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 200 400 600 800 และ 1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร โดยใช้ปลาหมอไทยที่ได้จัดเตรียมและมีขนาดความยาวตัวเฉลี่ยเริ่มต้นและน้ำหนักตัวเฉลี่ยเริ่มต้นประมาณ 7.55 ?2.09 เซนติเมตร และ 7.06?0.60 กรัม ตามลำดับ มาใส่ในกระชังมุ้งเขียวที่มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร และสูง 1 เมตร พร้อมตาข่ายคลุมปิดปากกระชังทั้งหมด กระชังละ 100 ตัว พร้อมให้อาหารทดลองวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า อาหารที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาวในอัตราส่วน 200 400 600 800 และ 1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร นั้นจะส่งให้ปลาหมอไทยมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยสุดท้าย ความยาวตัวเฉลี่ยสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ต้นทุนค่าอาหารต่อหน่วยผลผลิต ปริมาณ Red blood Cell, Hemoglobin, Haematocrit ดัชนีตับ (Hepatosomatic index) และปริมาณฮอร์โมน Testosterone ในเลือด นั้นมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (P>0.05) กับชุดควบคุม ส่วนปริมาณฮอร์โมน Estrogen ในเลือดกลับพบว่ามีเพียงปลาหมอไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาวในอัตราส่วน 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร เท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (P>0.05) กับชุดควบคุม แต่ปลาหมอไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาวในอัตราส่วน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร กลับให้ผลให้อัตราการแลกเนื้อและผลผลิตปลาสุดท้าย มีค่าดีขึ้นและให้ผลต่างจากชุดควบคุม (P<0.05) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.69?0.17 และ 2.73?0.23 กิโลกรัมต่อกระชัง ตามลำดับ ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาหารและผลผลิตของปลาหมอไทยให้สูงขึ้น จึงควรผสมกวาวเครือขาวลงในสูตรอาหารในอัตราส่วน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร
บทคัดย่อ (EN): From the experimental result of feeding Climbing perch (Anabas testudineus) with food of 6 various mixing component ratios of Pueraria mirifica namely 0 (the controlled treatment ) 200, 400, 600 800 and 1,200 mg/kg diet. The prepared Climbing perch (Anabas testudineus) approximately had initial average body length and initial average body weight 7.55 ? 2.09 centimeters and 7.06 ? 0.60 grams, respectively. They were put into 1 meter wide x 2 meters long x 1 meter dept green net cages with overall covering net, 100 fish each cage and fed with the experimental food, twice daily (morning – late afternoon). The experiment continued for 90 days period. It was found that the prepared diet with mixing ratios of Pueraria mirifica content at 200, 400, 600, 800 and 1,200 mg./kg. diet could result the fish (Climbing perch (Anabas testudineus)) to have proximate average of final average body weight, final average body length, growth rate, survival rate, diet per production unit capital cost, Red blood Cell content, Hemoglobin, Haematocrit, Hepatosomatic index and Testosterone Hormone Content in blood similarly as the controlled treatment. (P>0.05) But for the Estrogen Hormone Content in blood viewpoint, it was found that only Climbing perch (Anabas testudineus) fed with the diet of Pueraria mirifica mixing content at 800 mg./kg. diet that had as proximate average as the controlled treatment at (P>0.05). But the Climbing perch (Anabas testudineus) fed with the diet of Pueraria mirifica mixing content at 600 mg./kg. diet that yielded the better feed conversion ratio and final productivity that yielded different result from the controlled treatment at (P<0.05) that equaled to 1.69?0.17 and 2.73?0.23 kg. per net cage respectively. Hence, a guideline to increase the efficiency of utilization from the diet and Climbing perch (Anabas testudineus) productivity, the Pueraria mirifica should be mixed in the diet formula at 600 mg./kg. diet .
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-046
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2554
การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการเปลี่ยนเพศกบนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร การเพาะเลี้ยงสาหร่ายNostoc commune เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยโดยระบบอัจฉริยะ การอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศด้วยสูตรอาหารและความหนาแน่นที่ต่างกัน ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธ์ในประเทศไทย ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย พันธุกรรมกับอาหารโคนม การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก