สืบค้นงานวิจัย
สภาวะการทำการประมงปลากุเรา Eleutheronema tetradactylum (Shaw, 1804) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา
วราภรณ์ เดชบุญ, วิโรจน์ คงอาษา, ยุทธพล กาญจนเพ็ญ, ศักดิ์ณรงค์ จันทร์บัณดิษฐ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะการทำการประมงปลากุเรา Eleutheronema tetradactylum (Shaw, 1804) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา
ชื่อเรื่อง (EN): Fourfinger threadfinfish, Eleutheronema tetradactylum (Shaw, 1804) Fishery status in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาวะการทำการประมงปลากุเราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลาเดือนพฤศจิกายน 2557 และเดือนธันวาคม 2558 โดยรวบรวมตัวอย่างจากเครื่องมืออวนลอยปลากุเราบริเวณจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช อวนลอยปลากุเรา 1 ผืน มีขนาดตา 2.9-3.0 นิ้ว ลึก 75 ตา ยาว 180 เมตรพบว่าชาวประมงใช้เรือหางยาวขนาด 6.5 เมตร ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 115-2500 ซีซี ออกทำการประมงในเวลากลางคืน โดยออกทำการประมงเวลา 16.00-08.00 น. ลักษณะเครื่องมืออวนลอยปลากุเราเป็นอวนเอ็น ขนาดเบอร์ 60 ขนาดตา 3 นิ้ว มีความลึก 75 ตา จำนวนอวนที่ใช้ 80 ผืน ซึ่งแหล่งทำการประมงในบริเวณที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 บริเวณ คือบริเวณชายฝั่งอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ถึงอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และชายฝั่งอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อัตราการจับสัตว์น้ำจากอวนลอยปลากุเรา มีค่าอยู่ระหว่าง 13.645-64.280 กิโลกรัม/ลำ/วัน สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และต่ำสุดในเดือน มีนาคม 2558 โดยอัตราการจับปลากุเรา มีค่าอยู่ระหว่าง 1.332-33.087 กิโลกรัม/ลำ/วัน การใช้ประโยชน์ปลากุเราทั้งในรูปปลากุเราสด และทำปลากุเราเค็ม ส่วนต้นทุนการทำประมงปลากุเรา เท่ากับ 954.15 บาท/วัน/ลำ รายได้ทั้งหมดซึ่งเป็นรายได้เป็นเงินสดที่ชาวประมงขายสัตว์น้ำให้แก่ผู้รับซื้อในราคาของพื้นที่นั้นๆ เป็นเงินเท่ากับ 1,475.79 บาท/วัน/ลำ รายได้สุทธิ เท่ากับ 803.04 บาท/วัน/ลำ และเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด พบว่ากำไรสุทธิ 521.64 บาท/วัน/ลำส่วนวิถีทางการตลาดปลากุเราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชชาวประมงจับปลากุเราได้ขายให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่นหรือแพปลา และขายให้ผู้รวบรวมรายใหญ่ในพื้นที่ และแม่ค้าในตลาดท้องถิ่น โดยผู้รวบรวมรายใหญ่ในพื้นที่นําไปขายยังประเทศมาเลเซีย ส่วนแม่ค้าในตลาดท้องถิ่นนำไปขายยังผู้บริโภคในท้องถิ่นต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The study on fishery status of four finger threadfin fish Eleutheronematetradactylum(Shaw, 1804) in Nakhon Si Thammarat and Songkhla Provinces was carried out between November 2014 and December 2015. Data collection was obtained from fishermen who operated four finger threadfin fish gillnet in Nakhon Si Thammarat and Songkhla Provinces. It was found that each panel of four finger threadfin fish gillnet was made by nylon monofilament no. 60 with mesh size 2.9-3.0 inches, 75 meshes in depth and 180 meters in length. The fishermen used the longtail boat 6.5-8 meters in length with the diesel engine capacity 115-2500 cc to operate in the night time. The fishing time of operation was started from 04.00pm-08.00 am. Each fisherman used 80 panels of four finger threadfin fish gillnet to operate each time. The fishing ground of this gear was occurred in 2 areas such as the littoral of Ranod District, Songkhla Province until to Huatrai District, Nakhon Si Thammarat Province and the littoral of Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province. The CPUE of four finger threadfin fish gillnet was 13.645-64.280 kg/boat/daywith the highest and the lowest in February 2015 and March 2015, respectively while the CPUE of the four finger threadfin fish was 1.332-33.087 kg/boat/day.The utilization of four finger threadfin fish was occurred both in fresh and dried fish. The cost of operation of the four finger threadfin fish gillnet was 954.15 Baht/day/boat. Total income in cash that fishermen earned from local buyers was 1,475.79 Baht/day/boat. The net income was 803.04 Baht/day/boat.After the reduction of all expenses, it was found that the net profit was 521.64 Baht/day/boat. The market channel of four finger threadfin fishin Nakhon Si Thammarat and Songkhla Provinces was originated from fishermen sold their fishes to the local buyers and transferred to the fish collector and local merchants. The collector exported the fishes to Malaysian market while local merchants sold in the retail markets in the area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะการทำการประมงปลากุเรา Eleutheronema tetradactylum (Shaw, 1804) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา
กรมประมง
31 ธันวาคม 2558
กรมประมง
สภาวะการประมงอวนลากในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ปี 2556 ศึกษาสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำและคุณภาพแหล่งประมง เพื่อกำหนดเขตการประมง (Zoning) บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลา สภาวะการประมงพาณิชย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2552 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านการประมง จังหวัดนครศรีธรรมราช การประมงอวนลากคานถ่างที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการประมง 2561 สภาวะการประมงและการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำขนาดเล็กของเรือประมงพาณิชย์ในเขตพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การประมงและสภาวะเศรษฐกิจสังคมของอวนจมปูจากเรือที่มีการแจ้งเข้า–ออกในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2562 สภาวะการทำการประมงและผลจับสัตว์น้ำในบึงละหารจังหวัดชัยภูมิ การทำการประมงและเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก