สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการใช้น้ำของข้าวและงบดุลน้ำภายใต้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง
ศุภธิดา อ่ำทอง, ธเนศ แซวหลี - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ความต้องการใช้น้ำของข้าวและงบดุลน้ำภายใต้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง
ชื่อเรื่อง (EN): The water use of paddy rice and the water balance under alternate wetting and drying water management
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ ข้าวเป็นพืชอาหารหลักสำหรับประชากรโลก ซึ่งระบบการปลูกข้าวนั้นจะต้องใช้น้ำในปริมาณที่สูงกว่าการปลูกธัญพืชชนิดอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปุ๋ยในการปลูกข้าว สำหรับการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้งถือเป็นวิธีการประหยัดการให้น้ำสำหรับการปลูกข้าวงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารและสมบัติทางฟิสิกส์ของดินบางประการภายใต้การให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง ระดับความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดินที่ต้องให้น้ำของข้าวในดินแต่ละชนิดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว และความต้องการใช้น้ำของข้าวในเนื้อดิน และการจัดการธาตุอาหารที่แตกต่างกันภายใต้การให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง ทำการศึกษาอิทธิพลของเนื้อดินและสายพันธุ์ข้าวต่อการใช้น้ำของข้าวภายใต้ระบบการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ รูปแบบการให้น้ำแบบน้ำขัง (WL) และเปียกสลับแห้ง (AWD) ชนิดดิน 2 ชนิด ได้แก่ ดินเนื้อหยาบ (CS) และดินเนื้อละเอียด (FS)สายพันธุ์ข้าว 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ไรซ์เบอร์รี และขาวดอกมะลิ 105 (KDML 105) และการใส่ปุ๋ย วิเคราะห์สมบัติดินและพืช และประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืช และศึกษาผลของจำนวนวงรอบของการเปียกสลับแห้งต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ชนิดดิน ได้แก่ ชุดดินหางดง (Hd) น้ำพอง (Ng) และสรรพยา (Sa) และปัจจัยที่ 2 คือ การเติมกลูโคส (substrate1), การเติมกลูโคสร่วมกับ NH4NO3 (substrate2) ,ไม่ใส่ทั้งสองอย่าง (substrate3) แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ระดับความชื้นลดลงที่ระดับ 0.3 บาร์ พบว่า ชนิดของดินแต่ละชนิดมีผลทำให้ปริมาณจุลธาตุในดินมีความแตกต่างกัน ปริมาณ Cu, Fe, Mn มีค่าสูงในดิน Hd ส่วนรูปแบบการจัดการน้ำทำให้ Cu มีปริมาณสูงสุดที่ระดับความชื้น 30% การจัดการน้ำ WL พบปริมาณ Fe ในดินสูงสุด และความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของดิน รูปแบบการจัดการน้ำ พบว่า ดิน Hd ที่มีระดับความชื้น 30% และการจัดการน้ำแบบ 0.3 บาร์ มีปริมาณ Cu, Mn และ Fe ในดินสูงสุด ส่วนดิน Ng มีการให้น้ำแบบ WL ทำให้ปริมาณ Zn ในดินสูงสุด และช่วงเวลาการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมีผลต่อปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดิน เมื่อปล่อยให้ระดับความชื้นในดินลดลงถึง 0.3 bar หลังบ่ม 7 วัน ขังน้ำที่ระดับ 2 ซม. หลังบ่ม 2 วัน ทำให้ปริมาณ WSC และ HWSC มีค่าสูงที่สุด ดิน Ng มีผลต่อปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินสูงที่สุด และเมื่อมีการขังน้ำในช่วงแรกปริมาณ Zn ในดินจะมีน้อย เมื่อความชื้นในดินลดลงอยู่ที่ 0.3 bar ส่วนปริมาณ Cu ในดินเปียกสลับแห้งมีค่าเพิ่มขึ้น และในดิน Sa และ Hd เมื่อมีการขังน้ำทำให้ P ในดินมีปริมาณที่สูงขึ้น ในดิน Sa ปริมาณความชื้นลดลง P ในดินก็จะลดลง และการทำเปียกสลับแห้งมีผลให้ P ส่วนต่างๆ มีปริมาณสูงขึ้นตามรอบของการบ่ม คำสำคัญ: การให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง, ระดับความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดิน, ความต้องการใช้น้ำของข้าว
บทคัดย่อ (EN): Rice, which is considered the staple crop for people around the world, has a planting system that requires excessive use of water, much more than any other crop. In order to serve as guideline towards effective water use and fertilizer application in rice production, providing water through alternate wetting and drying water management is considered an economical way of applying water for rice plants. In this research, the main objective was to study the change in mineral content and some soil physical properties under wetting and drying water management including the level of moisture that soil can use to provide water for the rice plant in each type of soil for the growth and yield of rice and in response to the water requirement of the rice plant in the soil content, including different mineral management under alternate wetting and drying water management. The study on the effects of soil content and rice variety towards water usage in rice under alternate wetting and drying water management was conducted using the experimental design of Randomized Complete Block Design (RCBD) consisting of various factors such as water application system (WL) and alternate wetting and drying water management (AWD) with 2 types of soil comprised of coarse soil (CS) and fine soil (FS), together with 2 rice varieties (rice berry and jasmine, KDML 105) and fertilizer application. Analysis of soil and plant properties including assessment of water usage efficiency of the plant and number of cycle of alternate wetting and drying water management that could affect mineral changes in the soil through the experimental design of Factorial in CRD with 2 factors: (1) soil type e.g. as Hangdong (Hd), Nampong (Ng) and Sanpaya (Sa); (2) adding glucose (substrate 1), adding glucose + NH4NO3 (substrate2), and no addition of both substances (substrate 3); which were left for moisture to decrease to 0.3 bar. Results showed that each soil type was effective in causing variation in the amount of minerals in the soil. The amounts of Cu, Fe, and Mn were high in Hd soil and on the form of water management, Cu was found to have the highest amount at 30% moisture. WL water management was found to have the highest amount of FE in the soil and relationship between soil types and water management showed that in HD soil type with 30% moisture and water management of 0.3 bar, the amounts of Cu, Mn and Fe in the soil were highest while in Ng soil type, water was applied in WL form resulting to the highest amount of Zn. During the period of alternate wetting and drying water management, it was found that the amount of free organic carbon in the soil decreased until 0.3 bars. After 7-day incubation, water was allowed to remain in the soil at a depth of 2 cm and after 2 days, the amounts of WSC and HWSC were highest in Ng soil type with the effect on the amount of organic carbon in the soil at the highest. When water was made stagnant at an initial period, the amount of Zn in the soil was reduced to a low amount when moisture in the soil was reduced to 0.3 bars. The amount of Cu in the soil under alternate wetting and drying water management was increased and in Sa and Hd soil types, when water was stagnated, amount of P in the soil increased in Sa soil, moisture was reduced, P in the soil also decreased and alternate wetting and drying water management caused various P to increase based on the batch cycle of incubation. Keywords: alternate wetting and drying water management, available moisture level in the soil, water requirement by rice
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการใช้น้ำของข้าวและงบดุลน้ำภายใต้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2560
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การทดลองหาช่วงระยะเวลาและจำนวนครั้งในการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้งในการปลูกข้าวโดยไม่ใช้น้ำเตรียมแปลง (ทำเทือก) การทดลองหาช่วงระยะเวลาและจำนวนครั้งในการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง ในการปลูกข้าวโดยไม่ใช้น้ำเตรียมแปลง (ทำเทือก) ปีที่ 2 ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของถั่วลิสงขนาดเมล็ดปานกลาง การเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำของข้าวระหว่างการไม่ไถพรวนกับการหว่านน้ำตมและปักดำ การศึกษาการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวด้วยการจัดการน้ำ ปริมาณความต้องการน้ำ และวิธีการให้น้ำที่เหมาะสม ผลของการใช้น้ำข้าวหมากเป็นสารให้ความหวานต่อคุณภาพของน้ำหม่อนพร้อมดื่ม การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การจัดการระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพในผลิตมันสำปะหลัง อิทธิพลวิธีการไถพรวนและความถี่ของการใช้น้ำต่อการเจริญเติบโตและการใช้น้ำของข้าวโพด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก