สืบค้นงานวิจัย
โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สุธี อินทรสกุล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธี อินทรสกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค กลยุทธ์การปรับตัว และรูปแบบกลยุทธ์เชิงนโยบาย รวมทั้งผลกระทบเชิงลึกของนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีผลต่อการพัฒนาภาคการผลิต การตลาด และอุตสาหกรรมยางพาราประเทศไทย เนื่องจากการศึกษาเรื่องข้างต้น จำเป็นต้องทราบสถานะ การผลิต เศรษฐกิจ สังคม และรายได้จากสวนยางด้วย จึงจำเป็นต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีการพื้นฐานจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ จำนวน 3,443 ราย และเพื่อให้ทราบความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด จึงอาศัยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับโอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทย รวมทั้งจัดเสวนากลุ่มย่อย แล้วนำมาวิเคราะห์ SWOT Analysis นอกจากนั้นได้ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ โดยมีการรวบรวมข้อมูลการผลิต การแปรรูป และการส่งออกยางพารา จากเอกสารรายงาน งานวิจัยต่างๆ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบปรากฏ (Revealed Comparative Advantage) และวิเคราะห์สถานภาพการส่งออกยางพารา (BCG Matrix) ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับคู่แข่งทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ผลการวิเคราะห์ SWOT ของอุตสาหกรรมยางพาราไทย ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำกลางน้ำ และปลายน้ำ พบว่า อุตสาหกรรมต้นน้ำ ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านการผลิตที่เกษตรกรสั่งสมความรู้และเทคโนโลยีการผลิตยางพารา โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 100 ปี รวมถึงการวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง สามารถผลิตยางคุณภาพดี และต่อยอดการแปรรูปขั้นต้นได้ อย่างไรก็ตามเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีสวนยางในครอบครอง เฉลี่ย 15 ไร่ และมีการจ้างแรงงานกรีด เพราะเจ้าของสวนยางพารามีอายุค่อนข้างสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ สำหรับอุตสาหกรรมกลางน้ำ ประเทศไทยมีความได้เปรียบ เนื่องจากมีความพร้อมของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ และยางคอมปาวด์ กว่า 471 โรงงาน กระจายอยู่ทั่วประทศ สามารถรวบรวมผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและระบายออกต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว สำหรับอุตสาหกรรมปลายน้ำ พบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมและศักยภาพสูงทั้งในด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งและเป็นศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง ถือว่าเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนจากอาเซียนเข้ามาลงทุนและตั้งฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก แต่ผู้ประกอบการของประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง และยังขาดความพร้อมด้านเงินทุนในการพัฒนาบุคลากร ลงทุน และพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยางพาราของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด เนื่องจากไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่แน่นอน และหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ยังขาดเจ้าภาพหลักในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงได้ศึกษาทั้งดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage : RCA) และสถานภาพการส่งออกยางพารา (BCG Matrix) เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งผลการศึกษา RCA พบว่า ในตลาดอาเซียนประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าคู่แข่งทุกประเทศ แต่ในตลาดโลกประเทศไทยยังเสียเปรียบสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ส่วนการศึกษา BCG Matrix สถานภาพการส่งออกยางพาราของประเทศไทยอยู่ที่ตำแหน่ง Cash Cows คือ ยางพาราเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับประเทศมาก แต่อัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ ประเทศไทยจึงควรรักษาส่วนแบ่งการตลาดให้คงที่ และพยายามประคองไม่ให้อัตราการขยายตัวในการส่งออกลดลง และเมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาในภาพรวมแล้ว การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรเน้นภาคการผลิตให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งควรส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ให้มีการนำมาใช้ในประเทศมากขึ้น ส่งเสริมการลงทุนในด้านต่างๆ มีการผลิตยางพาราแบบครบวงจร พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ทั้งนี้ควรเปลี่ยนรูปแบบการส่งออกยางพาราจากการส่งออกในรูปแบบการแปรรูปขั้นต้นเป็นการส่งออกในรูปแบบผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11663/1/419719.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การยางแห่งประเทศไทย
2559
เอกสารแนบ 1
การวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายศูนย์กลางยางพาราโลกของมาเลเซีย และข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่ออุตสาหกรรมยางพาราไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย โครงการมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมกิจการยางพาราในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย แนวทางการแก้ปัญหายางพาราเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แนวทางการสนับสนุนด้านการลงทุนระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย : วิเคราะห์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยางพาราไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก