สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อ Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ด้วยเทคนิคอณูชีวโมเลกุล
วัชรชัย ณรงค์ศักดิ์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อ Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ด้วยเทคนิคอณูชีวโมเลกุล
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis detection in ruminants by Molecular technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัชรชัย ณรงค์ศักดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ที่มาของการศึกษา: โรคท้องเสียเรื้อรัง (paratuberculosis; Johne’s disease) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis (MAP) เป็นโรคที่มักพบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ กวาง และสัตว์ตระกูลอูฐ เชื้อชนิดนี้มักจะอยู่ในลำไส้ ทำให้สัตว์ที่ได้รับเชื้อแสดงอาการท้องเสียเรื้อรัง ร่างกายขาดโปรตีน และตายในที่สุด เนื่องจากการเพาะแยกเชื้อต้องใช้เวลานาน 1 – 6 เดือน และมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระและเชื้อราได้ง่าย ดังนั้นเพี่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่รวดเร็วถูกต้อง แม่นยำ จึงต้องพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อ MAP ด้วยเทคนิคอณูชีวโมเลกุล (Molecular techniques) แล้วเปรียบเทียบกับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการเพาะแยกเชื้อและการย้อมสี Acid-fast วิธีการ: นำตัวอย่างอุจจาระโค กระบือ แพะ แกะ และอูฐ จำนวน 107, 6, 6, 4 และ 1 ตัวอย่าง ตามลำดับ รวม 124 ตัวอย่าง ที่ให้ผลบวกต่อการทดสอบด้วยวิธี CF มาทดสอบด้วยการย้อมสี acid fast การเพาะแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Herrold’s egg yolk agar ที่เติม Mycobactin J และการใช้เทคนิคอณูชีวโมเลกุล 3 วิธี คือ Multiplex PCR, Nested PCR และ Real-time PCR จากนั้นหาค่า sensitivity และ specificity ของเทคนิคอณูชีวโมเลกุลแต่ละวิธี ผล: การตรวจเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระจำนวน 124 ตัวอย่าง พบเชื้อ MAP 20 ตัวอย่าง (16.1%) ซึ่งมาจากโค 18 ตัวอย่าง และแกะ 2 ตัวอย่าง เมื่อทำการย้อมสี เพาะแยกเชื้อ ทดสอบด้วยวิธี MPCR, NPCR และ Real-time PCR ให้ผลบวก 5, 9, 8, 8 และ 20 ตัวอย่าง จากการหาค่า sensitivity พบว่าวิธี MPCR NPCR และ Real-Time PCR มีค่าที่ 1000, 1000 และ 10 cfu/กรัม ตามลำดับ ส่วน specificity ต่อเชื้อ Escherichia coli, Salmonella ser. Enteritidis, Campylobacter jejuni, Streptococcus uberis, Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens และ Mycobacterium bovis พบว่าให้ ผลลบต่อทุกเชื้อ สรุป: เทคนิคอณูชีวโมเลกุล ทั้ง 3 วิธี สามารถนำมาใช้ตรวจหาเชื้อ MAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ห้องปฏิบัติการแต่ละแห่งจะเลือกใช้ แต่วิธี Real-Time PCR สามารถตรวจหาเชื้อ MAP ที่มีปริมาณน้อยในตัวอย่างได้ดีกว่า จึงควรนำมาทดสอบควบคู่ไปกับการเพาะแยกเชื้อ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการตรวจที่รวดเร็ว แม่นยำ มีความจำเพาะ อันจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในฝูง
บทคัดย่อ (EN): s: Paratuberculosis (Johne’s disease) is a contagious bacterial disease caused by Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis (MAP). It usually affects cattle, buffaloes, goats, sheep and other ruminant species. The clinical signs of paratuberculosis are chronic diarrhoea, progressive leakage of protein and finally lead to death. Culture of MAP is very difficult including long incubation and contamination, so the main objective of this study is to develop a rapid, sensitive and specific molecular technique for diagnosis and compared to conventional methods (acid-fast staining and bacterial culture). Methods: A total of 124 fecal samples were collected from CFT-positive animals (107 cattle, 6 buffaloes, 6 goats, 4 sheep and 1 camel). These fecal samples were examined for MAP by acid-fast staining, culture on Herrold’s egg yolk with mycobactin J and 3 molecular techniques (multiplex PCR, nested PCR and real-time PCR). Each molecular technique was determined for sensitivity and specificity. Results: Detection of MAP from 124 fecal samples. 20 fecal samples (16.1%) from 16 cattle and 2 sheep were positive for MAP. The positive samples were 5, 9, 8, 8, and 20 by acid-fast staining, bacterial culture, MPCR, NPCR, and Real-time PCR respectively. The sensitivity of MPCR, NPCR, and Real-time PCR was 1000, 1000, and 10 cfu/gram while the specificity of MPCR, NPCR, and Real-time PCR for E. coli, Salmonella ser. Enteritidis, C. jejuni, Str. uberis, Ent. faecalis, St. aureus, Clos. perfringens, and M. bovis was negative. Conclusions: Both MPCR and NPCR as well as Real-Time PCR were the efficient techniques for detection of MAP depending of the facility laboratory has. Real-time PCR is the excellent technique because of its rapid analysis, precision, and greater sensitivity. Thus it should be used in conjunction with bacterial culture to accurately detect the disease as quickly as possible in order to reduce the spread and transmission of disease in the herd.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อ Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ด้วยเทคนิคอณูชีวโมเลกุล
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2557
กรมปศุสัตว์
ระบาดวิทยาโมเลกุลของเชื้อ Mycobacterium avium subsp. paratuberculosis ในโคเนื้อในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อ Trichomonas foetus ในน้ำเชื้อโคด้วยเทคนิค PCR การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีสำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสซิกา การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับตรวจหาเชื้อ Burkhloderia pseudomallei โดยเทคนิค Paper Chromatography Dot Blot Hybridization การพัฒนาเทคนิคELISAในการตรวจสอบเชื้อBmNPV การพัฒนาดีเอ็นเอไบโอเซนเซอร์เพื่อการตรวจหาเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง (cassava mosaic geminiviruses) ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยาและอณูชีววิทยา ประสิทธิภาพของวิธี in-house loop-mediated isothermal amplification ในการตรวจหาเชื้อวัณโรคจากตัวอย่างเสมหะ เปรียบเทียบกับวิธี Xpert MTB/RIF การพัฒนาการตรวจหา เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส และยีนที่จำเพาะต่อ ซีโรไทป์โดยใช้เทคนิค multiplex PCR

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก