สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินและในกระชัง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
สำเนาว์ เสาวกูล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินและในกระชัง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing yield technique of Mekong Giant Catfish (Pangasianodon gigas) in earthen ponds and cages culture for technology transfer to farmer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำเนาว์ เสาวกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยงานทดลอง 2 ส่วน คือ (1)ศึกษาการเลี้ยงปลาบึกด้วยอาหารธรรมชาติ 3 ชนิด ในบ่อดิน (2) การศึกษาผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาบึกในกระชัง การศึกษาการเลี้ยงปลาบึกด้วยอาหารธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ผักตบชวาสดบดละเอียด แหนสดบดละเอียด และไข่น้ำสด โดยเลี้ยงในบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตรในอัตราความหนาแน่นบ่อละ 20 ตัว (1 ตัวต่อพื้นที่ 20 ตารางเมตร) ปลาทดลองมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากับ 113.19? 6.43 113.25 ? 5.32 และ113.38 ? 7.83 กรัม ตามลำดับ และ ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากับ 24.22 ? 1.13 24.32? 1.38 และ 24.34 ?1.35 เซนติเมตร ตามลำดับ แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design) ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลองคืออาหารทั้ง 3 ชนิดๆ ละ 3 ซ้ำโดยให้กินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง และในแต่ละบ่อมีการเติมมูลไก่แห้งสัปดาห์ละ 20 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า อาหารธรรมชาติที่เหมาะสมคือ ไข่น้ำสด ซึ่งทำให้ปลาบึกมีน้ำหนักเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3,108.72?82.40 กรัม และ 75.33?1.01 เซนติเมตร ตามลำดับซึ่งมีค่าสูงกว่าอาหารสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P0.05) และยังพบว่าอัตราเจริญเติบโตจำเพาะของการเลี้ยงปลาที่ระดับอัตราความหนาแน่น 10 ตัวต่อกระชังมีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 0.5189?0.0001 เปอร์เซ็นต์/วัน เมื่อพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนการเลี้ยงปลาบึกในกระชังพบว่า ที่ระดับอัตราความหนาแน่น 30 ตัวต่อกระชังเท่ากับ 99.77?21.64เปอร์เซ็นต์ มีผลตอบแทนมากกว่า ระดับอัตราความหนาแน่น 10, 20 และ 40 ตัวต่อกระชัง มีค่าเท่ากับ 93.87?12.95 86.61?12.81 และ 90.17?19.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The study was conducted to investigate the culture of Mekong Giant catfish (Pangasianodon gigas) in small scale. The works composed of the following two tasks (1) study on feeding 3 aquatic plants for culturing the fish in earthen ponds and (2) study on effects of stocking density on growth performance and economic returns of Mekong Giant freshwater catfish (Pangasianodon gigas) cultured in experimental floating cages In the study on feeding 3 aquatic plants viz. water hyacinth (Eichornia crassipes Mart. Solms), Duckweed (Lemna minor) and Wolffia (Wolffia arrhiza Linn. Wimm) for culturing young Mekong Giant Catfish (Pangasianodon gigas), was conducted in earthen ponds. The fishes average weights 113.19? 6.43 113.25 ? 5.32 and 113.38 ? 7.83 grams, and average lengths 24.22 ? 1.13 24.32? 1.38 and 24.34 ?1.35 cm respectively, were stocked in each ponds of 400 m2 size, at the stocking rate of 20 fishes/pond with completely randomized design and three replications. Fishes in each treatment were fed to apparent satiation twice daily with chopped water hyacinth, chopped duckweed and fresh wolffia, respectively. Meanwhile the ponds were weekly fertilized with 20 kg of dry chicken manure. At the end of twelve months period, the results showed that fish fed with fresh wolffia attained the significant maximum final weight and final length of 2,938.41?64.92 g, and 69.14 cm (P 0.05). The significantly highest SGR of fish stocked 10 fish/m2 (0.5189%/day) confirmed the optimum stocking density of this study. Research findings showed that returns of investments in the cage culture of Mekong Giant Catfish in the 30 fish/m2 (99.77?21.64%) were economically higher in comparisons to those of fish in 20,10 and 40 fish/m2 (98.61? 12.81, 93.87 ? 12.95 and 90.17 ? 19.64 %, respectively).
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินและในกระชัง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2554
ระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1 - 2 ปี ในบ่อดินเพื่อการค้า การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงและการเพาะขยายพันธุ์ปลาตูหนาและปลาบึกในบ่อดิน การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในกระชังด้วยอัตราความหนาแนนต่างกัน ระบบการเลี้ยงกุ้งกรามกรามร่วมกับปลาบึกในบ่อดิน การเลี้ยงปลาเผาะร่วมกับปลาบึกในบ่อดินเพื่อการค้า ความถี่ที่เหมาะสมในการให้อาหารของการเลี้ยงปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ในกระชังที่แขวนในบ่อดิน ระบบการเลี้ยงแบบรวมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน ระบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อการผลิตสายพันุ์ปลาบึก ระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก และการลดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาบึก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก