สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติของเกษตรจังหวัดต่อบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค
จีรวรรณ อุณาพรหม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของเกษตรจังหวัดต่อบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีรวรรณ อุณาพรหม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทราบ (1) ลักษณะพื้นฐานของเกษตรจังหวัด, (2) ลักษณะงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด (3) ลักษณะงานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (4) ความเห็นของเกษตรจังหวัดต่อลักษณะงานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (5) ข้อเสนอแนะของเกษตรจังหวัดต่อลักษณะงานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค การวิจัยทำโดยสอบถามความเห็นของเกษตรจังหวัดจำนวน 71 คน การรวบรวมข้อมูล ใช้การส่งแบบสอบถามโดยทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาร้อยละ ANALYSIS OS VARIANCE,CHI-SQUARE (X2) และ DANCAN,S NEW MULTIPLE RANGE-TEST ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะพื้นฐานของเกษตรจังหวัด (1) เกษตรจังหวัดทุกคนเป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 49.7 ปี มีอายุราชการในกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 8.2 ปี และมีอายุราชการในตำแหน่งเกษตรจังหวัดเฉลี่ย 5 ปี (2) สังกัดเดิมของเกษตรจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ที่ กรมการข้าวและกรมกสิกรรมและเกษตรจังหวัดส่วนใหญ่มีตำแหน่งสุดท้ายเป็นพนักงานข้าวจังหวัด และผู้ช่วยเกษตรจังหวัด (3) เกษตรจังหวัดส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและเคยรับการฝึกอบรมและ ดูงานเพิ่มเติมคนละ 1-2 ครั้ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาส่งเสริมการเกษตรและวิชาการเกษตร (4) เกษตรจังหวัดมีทัศนตคิที่ดีต่อลักษณะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน 2. ลักษณะงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด (1) งานในหน้าที่รับผิดชอบที่มีการปฏิบัติ บ่อยที่สุดส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการรับนโยบาย แผนงาน โครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร ไปถือปฏิบัติ งานพัฒนาสถาบันเกษตรกรและงานติดตามการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอ (2) งานที่มีการปฏิบัติเป็นบางโอกาสได้แก่งานรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานและการประสานงานกับหน่วยราชการอื่น 3. ลักษณะของงานสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (1) งานในหน้าที่รับผิดชอบส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นบางโอกาส (2) การติดต่อสื่อสารทั่วไปกับสำนักงานเกษตรจังหวัดส่วนใหญ่ใช้จดหมายราชการและโทรเลข (3) วิธีการประสานงานส่วนใหญ่ใช้การประชุมปรึกษาหารือกันและการจัดฝึกอบรม (4) การประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัดส่วนใหญ่ใช้การประชุมหารือเกี่ยวกับการวางแผนดำเนินงานและการประชุมแถลงผลงานภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ 4. ความเห็นของเกษตรจังหวัดต่อลักษณะงานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (1) เห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของงานของสำนักงานส่งเสริมเกษตรภาค (2) เห็นด้วยกับงาน ในหน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (3) เห็นด้วยกับระดับการศึกษาของ นักวิชาการประจำสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (4) ไม่เห็นด้วยกับอัตรากำลังนักวิชาการ ประจำสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค (5) เกษตรจังหวัดส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ไม่เห็นด้วย ส่วนเกษตรจังหวัดส่วนใหญ่ในภาค ตะวันตกและภาคใต้ เห็นด้วยกับสถานที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคที่ตนสังกัดอยู่ (6) ไม่เห็นด้วยกับขนาดเนื้อที่ของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคในปัจจุบัน (7) เห็นด้วย กับลักษณะของสื่อ (MEDIA) ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับสำนักงานเกษตรจังหวัด (8) เห็นด้วยต่อการ ประสานงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัด (9) เห็นด้วยกับการประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร ในระดับจังหวัด (10) ไม่แน่ใจต่อการให้บริการวัสดุอุปกรณ์การเกษตร แก่สำนักงานเกษตร จังหวัด (11) เห็นด้วยต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการประจำสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค ต่อเกษตรจังหวัด 5. ข้อเสนอแนะของเกษตรจังหวัดต่อลักษณะงานของ สำนักงานส่งเสริมการเกษตร ภาค (1) อัตรากำลังนักวิชาการเกษตรภาค ควรมีจำนวน 10-30 คน โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก จำนวน ภาคละ 1-3 คน ระดับปริญาโท หรือเทียบเท่า จำนวน ภาคละ 11-15 คน ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจำนวนภาคละ 11-20 คน (2) สถานที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริม การเกษตรภาคเหนือ ควรตั้งที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควร ย้ายสถานที่ใหม่ แต่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคกลางควรตั้งที่อำเภอเมือง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันตกควรตั้งที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภาคตะวันออกควรตั้งที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และภาคใต้ควรตั้งที่เดิม (3) ขนาดเนื้อที่ของสำนักงานส่งเสริมการ เกษตรภาค ควรมีขนาดเนื้อที่ประมาณ 50-100 ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติของเกษตรจังหวัดต่อบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในงานส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ บทบาทการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชัยนาท ทัศนคติของนักวิชาการที่มีต่องานส่งเสริมการเกษตร ความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก ทัศนคติของเกษตรตำบลที่มีต่อบทบาทของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคกลาง ทัศนคติของเกษตรจังหวัดที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดในเขตที่ 1 ความคิดเห็นของนักวิชาการเกษตรที่มีต่อการทำวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก