สืบค้นงานวิจัย
ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง
พรทิพย์ ศรีมงคล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of manure rate and planting date on soil fauna changing and soil properties in corn-mungbean intercropping system under lateritic soil condition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรทิพย์ ศรีมงคล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Porntip Srimongkol
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของอัตราปุ้ยคอกและวันปลูก ในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวต่อความหนาแน่นมวลชีวภาพ และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินภายใต้สภาพดินลูกรัง วางแผนการทดลองแบบสุ่ม บล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ 7 ตำรับการทดลอง ได้แก่ 1) ปลูกข้าวโพดอย่างเดียว (ตำรับควบคุม) 2) ปลูกถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 40 วัน 3) ปลูกถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 40 วันร่วมกับปุ้ยคอกอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 4) ปลูก ถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 40 วันร่วมกับปุ้ยคอกอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปลูกถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 60 วัน 6) ปลูกถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 60 วันร่วมกับปุ้ยคอกอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ 7) ปลูกถั่วเขียวแซม หลัง ปลูกข้าวโพด 60 วันร่วมกับปุ้ยคอกอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การปลูกถั่วเขียวแซม หลังปลูกข้าวโพด 60 วันร่วมกับปุ้ยคอกอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร้ ทำให้ความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินสูงที่สุดแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทุกตำรับการทดลอง ทั้งระหว่างการทดลองและหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ทำให้ความหลาก หลายของสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินหลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากที่สุด อย่างไรก็ตาม อัตราปุ้ยคอกและวันปลูกไม่มีผลต่อ มวลชีวภาพของสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดิน จากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีดินก่อนและหลังการทดลองพบว่าอัตรา ปุ๊ยคอกและวันปลูกทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินหลังการทดลองเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Effect of manure rate and planting date in corn-mungbean intercropping system on density, biomass and diversity of soil fauna and soil properties under lateritic soil was studied. The experimental design was RCBD with 4 replications, 7 treatments comprised of 1) single corn (control) 2) corn intercropping with mungbean at 40 days after planting (DAP) 3) corn intercropping with mungbean at 40 DAP with farmyard manure (FYM) at the rate of 1,000 kg/rai 4) corn intercropping with mungbean at 40 DAP with FYM at the rate of 2,000 kg/rai 5) corn intercropping with mungbean at 60 DAP 6) corn intercropping with mungbean at 60 DAP with FYM at the rate of 1,000 kg/rai and 7) corn intercropping with mungbean at 60 DAP with FYM at the rate of 2,000 kg/rai. The result showed that corn intercropping with mungbean at 60 DAP with FYM at the rate of 2,000 Kg/rai had the highest soil fauna density that significantly different compared with all treatments during and after experiment. In addition, soil fauna diversity was greatest increased after experiment. However, manure rate and planting date were not affected to soil fauna biomass. Soil chemical properties before and after experiment were determined, we found that manure rate and planting date were increased soil organic matter, total N, available P and exchangeable K.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=52 43_57.pdf&id=1466&keeptrack=11
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดินและคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง ผลของการไถพรวนต่อสมบัติดินและผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกบนดินชุดดินวาริน อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ต่อสมบัติของดิน และผลผลิตข้าวในดินชุดหางดง ความหลากหลายของสัตว์ในดินที่ได้รับสารอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน ผลของการจัดการปุ๋ยต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลังในชุดดินยโสธร อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ต่อคุณสมบัติของดินและผลผลิตข้าวในสถานีทดลองข้าวสกลนคร ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยแคลเซียมซิลิเกตและการให้ทางดินต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดเลื้ยงสัตว์ อิทธิพลของปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 (NPK) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดปลูกในดินชุดยโสธร การวิจัยปลูกถั่วอะซูกิแบบระบบการปลูกพืชแซมในแปลงไม้ผลขนาดเล็ก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก