สืบค้นงานวิจัย
โครงการสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพารา ในกลุ่ม ชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ
วิโรจน์ สธนเสาวภาคย์, สมศักดิ์ สระแก้ว, อรุณ พงษ์กาญจนะ, พิมล อ่อนแก้ว - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: โครงการสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพารา ในกลุ่ม ชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ
ชื่อเรื่อง (EN): Trial and demonstration on sloping land management for para rubber plantation in soil series group number 34, Tha Sae soil series.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสาธิตทดสอบการจัดการดินพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ ได้ดำเนินการที่บ้านควนขวาง หมู่ 14 ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ระหว่างเดือนเมยายน 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2551 แผนการทดลองใช้วิธีสังเกตการณ์ ประกอบด้วย 4 ตำรับ คือ 1. ปลูกยางพารา + คันดินแบบที่ 6 + หญ้าแฝก 2. ปลูกยางพารา + ฐานปลูกไม้ผลเฉพาะต้น + หญ้าแฝก 3. ปลูกยางพารา + คันดินแบบที่ 6 และ 4. ปลูกยางพารา + ฐานปลูกไม้ผลเฉพาะต้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยางพารา การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทางเคมีและกายภาพ และการสูญเสียดินผลการสาธิตทดสอบพบว่าการเจริญเติบโตของยางพาราด้านความสูงเมื่ออายุ 9 ถึง 15 เดือน มีความสูงเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีความสูงเพิ่มขึ้น 121.5 , 119.1 , 119.7 และ 181.5 เซนติเมตร ในตำรับที่ 1,2,3 และ 4 ตามลำดับ ค่า pH ของดินส่วนใหญ่มีค่าลดลงเล็กน้อยทั้งในดินชั้นบนและดินชั้นล่าง โดยมีค่าลดลงระหว่าง 0.07 ถึง 0.26 หน่วย pH ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงเล็กน้อยโดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.09 ถึง 0.38% และลดลงระหว่าง 0.04 ถึง 0.49% ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าคงที่และเพิ่มขึ้น ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประไยชน์มีค่าเพิ่มขึ้น 4.00 ถึง 20.00 ppm ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าวิเคราะห์ดินเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์กับตำรับการทดลองต่างๆ ค่าความหนาแน่นรวมของดินมีค่าลดลงตั้งแต่ 0.02 ถึง 0.28 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของตำรับการทดลองต่างๆ เช่นกัน ด้านการสูญเสียดินพบว่าในแปลงทดลองยังไม่มีการเคลื่อนย้ายของดิน เนื่องจากในแปลงมีพืชพรรณขึ้นหนาแน่นช่วยยึดหน้าดินไว้จึงไม่มีการสูญเสียดินเกิดขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The trial and demonstration on sloping land management for para rubber plantation in soil series group number 34, Tha Sae series was conducted at Ban Khuan Khwang Moo 14 Tambon Khaowiset Amphur Wangwiset, Trang province during April 2006 to March 2008. The experimental design was observation trial consisted of 4 treatments as follow: 1. para rubber + hillside ditch + vetiver grass 2. para rubber + individual basin + vetiver grass 3. para rubber + hillside ditch and 4. para rubber +individual basin. The objectives were to study the growth of para rubber, the changes of soil chemical and physical properties and soil loss. The results of trial and demonstration showed that the increasing height of para rubber at 9 to 15 months was nearly the same which gare no statistical significant difference, the height of increasing were 121.5 , 119.1 ,119.7 and 181.5 centimeters in treatment 1,2,3, and 4 respectively. Most of soil pH were slightly decreased both upper and lower soil horizon between 0.07 to 0.26 pH unit. The amounts of organic matter were both slightly increased and decreased, the amount of increasing between 0.09 to 0.38 % and the amount of decreasing between 0.04 to 0.49 %. The amount of available phosphorus were statics and increased. The amount of available potassium were increased between 4.00 to 20.00 ppm. The increasing or decreasing of these soil chemical properties were not showed the relationship to treatments. The bulk density of soil were decreased between 0.02 to 0.28 gram per cubic centimeter which also were not showed the efiect of treatment too. There was found that no soil loss occurred in the site for the densed of various vegetation protected the soil from erosion.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-04-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพารา ในกลุ่ม ชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ
กรมพัฒนาที่ดิน
31 มีนาคม 2551
การสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพาราในกลุ่มชุดดินที่34 ชุดดินท่าแซะ การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 34 จ.สุราษฎร์ธานี การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยแต่ละพันธุ์ตามกลุ่มชุดดิน การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 40 จ.บุรีรัมย์ การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกแตงกวา-ถั่วฝักยาว-ข้าวโพดหวานในกลุ่มชุดดินที่ 36 ( ชุดดินปราณบุรี ) การใช้หญ้าแฝกและปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงดินปลูกยางพาราในดินทรายจัด ชุดดินบาเจาะ (กลุ่มชุดดินที่ 43) การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45 วิธีการจัดการดินจากโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยพืชสดเพื่อปลูกมันสำปะหลังในดินทราย การจำแนกดินปลูกยางพาราตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลของการจัดการดินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของดินในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก