สืบค้นงานวิจัย
อายุการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน
นิภาพร ศรีบัณฑิต, จักรพันธ์ เภาสระคู, ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: อายุการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Harvesting Period to Cassava Yield in Soils with Different Texture
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการอายุเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน ดำเนินการในแปลงทดลองภายในสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - เดือนพฤษภาคม 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาผลผลิตของมันสำปะหลังที่อายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน 2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินที่อายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 6 ตำรับทดลอง 3 ซ้ำ ได้แก่ ตำรับทดลองที่ 1 อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ตำรับทดลองที่ 2 อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน + ปลูกถั่วเขียวแซม ตำรับทดลองที่ 3 อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน ตำรับทดลองที่ 4 อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน + ปลูกถั่วเขียวแซม ตำรับทดลองที่ 5 อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน ตำรับทดลองที่ 6 อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน + ปลูกถั่วเขียวแซม ผลการศึกษาพบว่า มันสำปะหลังที่อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือนร่วมกับปลูกถั่วเขียวแซม ให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 5,976.89 กิโลกรัมต่อไร่ มันสำปะหลังที่อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงที่สุดเท่ากับ 27.03 เปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินที่อายุเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง 12 เดือน โดยเฉพาะร่วมกับการปลูกถั่วเขียวแซม ให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ค่าโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินดีขึ้นกว่าทุกตำรับทดลอง งานวิจัยนี้จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติตามโดยการปลูกมันสำปะหลังร่วมกับปลูกถั่วเขียวแซม เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางและเป็นการปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): The experiment Effect of harvesting period to cassava yield in soil with different texture was proceed in Land development regional office 3, Mueang, Nakhon Ratchasima during October 2015 to May 2017. The objective of this were 1. To study cassava yield at the different harvesting period, 2. To study chemical soil properties change at the different harvesting period. The experiments were performed in a Randomized Complete Block Design (RCBD) designed in 6 treatments and 3 replications. The first treatment was the harvesting at 10 months, the second treatment was the harvesting at 10 months with planted green bean, the third treatment was the harvesting at 11 months, the forth treatment was the harvesting at 11 months with planted green bean, the fifth treatment was the harvesting at 12 months and the sixth treatment was the harvesting at 12 months with planted green bean. The result showed that, the cassava at the harvesting at 11 months with planted green bean was the highest yield 5,976.89 kilograms per rai. The cassava at the harvesting at 11 months was the highest starch percentage 27.03%. The chemical soil properties change at the harvesting 12 months especially planted with green bean increased soil organic matter, available phosphorus, exchangeable potassium and soil pH more than other treatments. Furthermore, farmers can do suitable method for increasing cassava yield and improve soil structure by organic matter.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อายุการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่เหมาะสมในดินที่มีเนื้อดินแตกต่างกัน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
อาหารจากมันสำปะหลัง การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง วิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มศักยภาพการผลิตของดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังตามด้วยข้าวไร่ในดินทราย การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในกลุ่มดินร่วนปนทราย : ชุดดินห้วยโป่ง ผลของการจัดการดินต่อการระบายน้ำในดินทราย สำหรับปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น วิธีการจัดการดินจากโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยพืชสดเพื่อปลูกมันสำปะหลังในดินทราย การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก