สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตกระเทียมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ฌาณินท์ ภัทรกมลเสน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตกระเทียมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Technical efficiency of garlic production in Fang district, Chiang Mai province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฌาณินท์ ภัทรกมลเสน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanin Pattarakamolsen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เยาวเรศ เชาวนพูนผล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Yaovarate Chaovanapoonphol
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แม้ว่าอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ผลิตกระเทียมที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ แต่อัตราเพิ่มของผลผลิตเฉลี่ยของอำเภอฝางกลับต่ำที่สุด กล่าวคือ ช่วงระหว่างปี 2550-2558 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.96 จนกระทั่งมีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 3,570 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2558 ซึ่งเป็นผลผลิตเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม (Stochastic Nonparametric Envelopment of Data: StoNED) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตกระเทียมในปีการผลิต 2558/2559 ของเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 100 ราย และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมด้วยแบบจำลอง Tobit ผลการศึกษาพบว่า ค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยของเกษตรกรเท่ากับ 0.60 และเกษตรกรตัวอย่างร้อยละ 55 มีระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับสูง (0.6-0.8) สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตกระเทียม พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมในทิศทางบวกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและ ตัวแปรหุ่นลักษณะพื้นที่ปลูก และที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ ตัวแปรหุ่นแหล่งน้ำเสริม สำหรับตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมในทิศทางลบ ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกกระเทียมของเกษตรกร และพื้นที่ปลูกกระเทียม ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการส่งเสริมความรู้ การให้ความสำคัญต่อการศึกษาของเกษตรกร การเลือกใช้ที่ดินในการปลูกอย่างเหมาะสม และการมีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในการเกษตรต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Although Fang district is major garlic producing area in Chiang Mai province, its average growth rate of yield is the lowest compared to other districts in the same province. During 2007 – 2015, the average yield increased by only 1.96 percent, hitting a record low of 3,570 kilograms per rai in 2015. The objective of this study is to evaluate the efficiency of garlic farmers in Fang district. This research applied the StoNED model to analyze garlic production data in the 2015/2016 crop year from a sample of 100 garlic growers, as well as the Tobit model to study factors affecting the technical efficiency of garlic production. The findings show that the average efficiency level was 0.60 or 60 percent, and 55 percent of the sample group achieved high technical efficiency score (0.6 – 0.8). Factors that positively affected technical efficiency of garlic production were found to include education of household head (Edu) and area type (P < 0.05), as well as water source (P < 0.01). Variables which showed negative correlation were farmers’ agricultural experience (Exp) and plantation area (Area). The results of the analysis highlight the importance of education for farmers, the optimal use of land for planting, and the availability of alternative water sources for agriculture in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250074/170948
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตกระเทียมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท อิทธิพลด้านการจัดการต่อประสิทธิภาพการผลิตข้าวเหนียวในจังหวัดมหาสารคาม การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหม่อนไหม เพื่อนำไปปฏิบัติตาม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับเกษตรกร การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก