สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ
วิเศษศักดิ์ ศรีสุริยะธาดา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิเศษศักดิ์ ศรีสุริยะธาดา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: เนื่องจากปัจจุบันปอสาส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ และมีผู้สนใจผลิตปอสาเป็นการค้า จึงได้ศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจสังคมบางประการของผู้ผลิตปอสา เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดของปอสา และศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการผลิตและการตลาดปอสาเพื่อนำผลการศึกษาเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาปอสาในอนาคต และให้ผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนผลิตปอสา การศึกษาครั้งนี้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตปอสาในภาคเหนือ 10 จังหวัด ๆ ละ 20 ราย รวม 200 ราย ผลการศึกษาดังนี้ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรที่ผลิตปอสาทั้งหมด 200 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 54.0 และเพศหญิงร้อยละ 46.0 เกษตรกรร้อยละ 36.0 มีอายุ 40-49 ปี เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 45.9 ปี เกษตรกรร้อยละ 50 มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน เกษตรกร ร้อยละ 40.5 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยผลิตปอสา 2 คน เกษตรกรร้อยละ 48.0 มีอาชีพหลักในการทำนา เกษตรกรร้อยละ 98.0 มีอาชีพในการผลิตปอสา เกษตรกรร้อยละ 96.0 มีสภาพถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เกษตรกรร้อยละ 55.5 เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันการเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 61.5 มีประสบการณ์ในการผลิตเปลือกปอสาแห้งช่วง 1-10 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 76.5 และ 70.5 มีแรงจูงใจในการผลิตเปลือกปอสาแห้งเพราะว่ามีการลงทุนต่ำและขายผลผลิตง่าย การผลิตปอสา สภาพการผลิตในกรณีที่เกษตรกรปลูกปอสาเป็นแปลงมีเกษตรกรจำนวน 11 ราย คือ เกษตรกรทั้งหมดจะนำเมล็ดปอสาไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมพื้นที่ปลูกก่อนปลูก ส่วนใหญ่ปลูกระยะ 1.0 * 1.0 เมตร เกษตรกรส่วนใหญ่กำจัดวัชพืช 1-3 ครั้งต่อปี เกษตรกรทั้งหมดไม่ใส่ปุ๋ยรวมทั้งไม่มีการกำจัดแมลงศัตรูพืช แมลงที่พบในแปลงมากคือด้วงกินใบ เกษตรกรทั้งหมดเก็บเกี่ยวปอสา 2 ครั้งต่อปี โดยนิยมเก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม และสิงหาคม - กันยายน ปอสาที่เก็บเกี่ยวมีขนาดเส้าผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร โดยที่เกษตรกรตัดปอสาห่างจากพื้น 2.5-20 เซนติเมตร การเก็บเกี่ยวปอสาเกษตรกรทั้งหมดจะตัดปอสาทั้งต้น เกษตรกรทั้งหมดจะตากปอสาที่ขูดแล้ว 2-4 แดดพื้นที่ปลูกปอสาเฉลี่ยรายละ 2.6 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยเปลือกปอสาแห้ง 127.9 กิโลกรัมต่อรายต่อปี ผลผลิตเฉลี่ยเปลือกปอสาแห้ง 81.7 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี การผลิตปอสาของเกษตรกรทั้งหมด 200 ราย ดังนี้ เกษตรกรร้อยละ 78.5 เก็บเกี่ยวปอสาจากธรรมชาติ เกษตรกรทั้งหมดลอกปอสาเปลือกสด เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 51.0 สามารถตัดและลอกปอสาเปลือกสดได้ 10-19 กิโลกรัมต่อวันต่อคน เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 สามารถผลิตเปลือกปอสาแห้งได้ 1-5 กิโลกรัมต่อวันต่อคน เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถผลิตเปลือกปอสาแห้งได้ 101-300 กิโลกรัมต่อคนต่อปี การตลาดปอสา เกษตรกรทั้งหมด 200 ราย จำหน่ายปอสาดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 98.0 ไม่มีการรวมกลุ่มจำหน่ายเปลือกปอสาแห้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 61.5 จำหน่ายปอสาให้พ่อค้าในหมู่บ้านเกษตรกรร้อยละ 43.5 จำหน่ายเปลือกปอสาแห้งราคา 19.0-21.0 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยจากการจำหน่ายเปลือกปอสาแห้งเฉลี่ย 5,134.30 บาทต่อรายต่อปี เกษตรกรผลิตปอสา 200 ราย มีเกษตรกรที่ผลิตกระดาษสาด้วย 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.0 แหล่งผลิตเปลือกปอสาแห้งที่นำมาทำกระดาษทั้งหมดอยู่ในภาคเหนือ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 71.4 ใช่ปอสาในการผลิตกระดาษสาน้อยกว่า 7 ตันต่อปี ความต้องการใช้ปอสาในปี 2536 มากกว่าปี 2535 ร้อยละ 14.5 ราคากระดาษสาขึ้นกับขนาดกระดาษ ความหนา ความสะอาด สี คุณภาพ ของเยื่อปอสาและลวดลายในกระดาษสา เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 มีรายได้จากการผลิตกระดาษสาต่ำกว่า 500,000 บาท เกษตรกรที่ผลิตกระดาษสา 28 ราย มีเกษตรกรที่นำกระดาษสาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 7 ราย หรือร้อยละ 25.0 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปอสาต่ำกว่า 25,000 บาทต่อปี ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหาในการผลิตและการตลาดปอสาของเกษตรที่พบมากที่สุดคือ เกษตรกรขายเปลือกปอสาแห้งได้ราคาต่ำ รองลงมาคือแหล่งตัดปอสาในธรรมชาติมีน้อย ถูกจับหรือห้ามตัด เปลือกปอสาแห้งมีสีแดงเพราะเชื้อราและขาดแรงงาน ปัญหาในการผลิตและการตลาดกระดาษสาของเกษตรกร ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ราคากระดาษต่ำและหาตลาดยาก ข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตปอสา ขอให้มีการช่วยเหลือด้านราคาเปลือกปอสาให้สูงขึ้น ขอให้ผลิตปอสาพันธุ์ดี ต้องการให้มีการประดิษฐ์เครื่องอบปอสาและเครื่องขูดปอสา ข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่แปรรูปกระดาษสา เกษตรกรต้องการให้ช่วยเหลือด้านการตลาด ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ควรศึกษาต้นทุนการผลิตปอสาที่เก็บเกี่ยวจากธรรมชาติและปลูกเป็นแปลง ศึกษาการตลาดปอสาทั้้งในและต่างประเทศ ควรมีการศึกษาการผลิตปอสาในพื้นที่ลุ่มมีการให้น้ำได้ควรศึกษาการปลูกปอสาในเขตต้นน้ำลำธาร ควรมีการทดสอบการปลูกปอสาอีกระยะหนึ่งเพื่อความมั่นใจก่อนที่จะส่งเสริมอย่างจริงจัง ควรมีการศึกษาเครื่องอบปอสาให้แห้ง ควรมีการศึกษาหาปอสาพันธุ์ดี ในอนาคตควรมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตปอสาโดยให้ภาคเอกชนเข้าร่วมส่งเสริมปลูกปอสาและรับซื้อปอสา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดปอสาในภาคเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
ศึกษาปัจจัยพื้นฐานการผลิต การตลาดและการขนส่งยางพาราในภาคเหนือ การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลกระทบของความหลากหลายของสภาพแวดล้อมต่อการผลิตอ้อยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการศึกษาระบบการผลิตพืชท้องถิ่นที่สำคัญในเขตภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก