สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทาน และความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานกับการวัดสมรรถนะในห่วงโซ่ของอุปทานของทุเรียน ในภาคใต้
ฉัตรนลิน แก้วสม - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทาน และความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานกับการวัดสมรรถนะในห่วงโซ่ของอุปทานของทุเรียน ในภาคใต้
ชื่อเรื่อง (EN): Study to Supply Chain System, Relationship of Supply Chain Management and Performance Measurement in Durian Supply Chains
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉัตรนลิน แก้วสม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทานของทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการห่วงโซ่อุปทานกับการวัดสมรรถนะในโซ่อุปทานของทุเรียนโดยใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ควบคู่กัน ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ทุเรียนในภาคใต้ ประกอบด้วย ห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ คือ ต้นน้ำหรือผู้ผลิต ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน กลางน้ำ ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ผลิตและนำไปจำหน่ายต่อหรือแปรรูป ประกอบด้วย ผู้ประกอบการคัดแยกเพื่อการส่งออกจำหน่ายต่างประเทศและในประเทศ (ลานทุเรียน/ล้ง) และกลุ่มผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ทุเรียน (ทุเรียนอบแห้งและทุเรียนกวน) พ่อค้าคนกลาง (ขายส่ง) และปลายน้ำ ได้แก่ ผู้ส่งออก ลูกค้าภายในประเทศ ตลาดต่างประเทศ 2) กระบวนการจัดการโซ่อุปทานจะส่งผลการความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กระบวนการจัดการโซ่อุปทานจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของกิจการทั้งในด้านของต้นทุน คุณภาพ และระยะเวลา 3) กระบวนการจัดการโซ่อุปทานส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความได้เปรียบในการแข่งขันส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research is analysis the relationships between supply chain management and Performance Measurement in Durian Supply Chains. The study uses qualitative research techniques and quantitative research together. The results showed that; 1. A supply chain of durian products in south of Thailand, Include: 1) Upstream such as, durian farmers 2) Middle such as, cooperatives, department stores, middlemen, processing plants, operators and exporters 3) Downstream such as, exporters, domestic customers, foreign customers. 2. The SCM practices have direct impact on competitive advantage, significant at the 0.05 level. 3. The SCM practices have direct impact on firm performance, significant at the 0.05 level. 4. competitive advantage direct impact on firm performance, significant at the 0.05 level.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-093
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทาน และความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานกับการวัดสมรรถนะในห่วงโซ่ของอุปทานของทุเรียน ในภาคใต้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย แนวทางการจัดการความเครียดในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของธุรกิจกล้วยไม้ตัดดอกในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนารูปแบบห่วงโซ่อุปทานของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน ความสัมพันธ์ระหว่างความดีเด่นของลูกผสมและสมรรถนะในการรวมตัวต่อผลผลิตใน ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยว การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสีเขียวของห่วงโซ่อุปทานลำไยในฤดูและนอกฤดูในภาคเหนือ ความสัมพันธ์ของยีน MC4R ต่อลักษณะทางเศรษฐกิจในสุกร ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวในจังหวัดสกลนคร การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก