สืบค้นงานวิจัย
การเก็บกักสารต้านอนุมูลอิสระจากสาหร่ายเตาในรูปแบบอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง
ฐิติพรรณ ฉิมสุข - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเก็บกักสารต้านอนุมูลอิสระจากสาหร่ายเตาในรูปแบบอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง
ชื่อเรื่อง (EN): Encapsulation of antioxidant compound from spirogyra neglecta (Hassall) k?tzing in nanostructured lipid carriers for cosmetics production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฐิติพรรณ ฉิมสุข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thitiphan Chimsook
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สาหร่ายเตานำมาเตรียมสารสกัดสาหร่ายและได้สารสกัดสาหร่ายลักษณะผงสีเขียวเข้มสามชนิด สารสกัดเอ (48.12%) คือสารสกัดด้วยน้ำโดยใช้การหมัก สารสกัดบี (51.05%) คือสารสกัดด้วยน้ำโดยใช้เทคนิค soxhelt และสารสกัดซี (58.12%) คือสารสกัดเอทานอลโดยใช้เทคนิค soxhel สารสกัดทั้งหมดนำมาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดซี มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี total antioxidant assay ที่ปริมาณ 15.532 0.026 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิ DPPH assay ที่ปริมาณ 35.750±0.035% และวิธี FRAP assay ที่ปริมาณ 24.77010.084 มิลลิกรัมกรดแกลลิคต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ สารสกัดทั้งสามชนิด นำมาเตรียมอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนและเรียกชื่อว่า เอ-เอ็นแอลซี บี-เอ็นแอลซี ซี-เอ็นแอลซี สูตรที่ดีที่สุดในการเตรียมอนุภาคเอ็นแอลซีคือสารสกัดสาหร่ายที่เข้มข้น 0.5% โดยน้ำหนัก ปริมาณไขมันทั้งหมดคือ 20% และความเข้มข้นสารลดแรงตึงผิวคือ 7.0% โดยน้ำหนัก โดยผลการทดลอง แสดงด้วยค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 115-120 นาโนเมตร ค่าการกระจายอนุภาคอยู่ในช่วง 0.150-0.165 ค่าประจุบนผิวอนุภาคมีค่า - 18.5 ถึง -24 มิโวลต์ ค่าเปอร์เซ็นต์การกักเก็บในช่วง 88.05-88.78% เมื่อใช้ lexol เป็นไขมันเหลว จากนั้นได้ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีได้แก่ค่าความหนืด โคยวิธี heat cool และค่าพีเอชของครีมทาผิวที่เตรียมจากสารสกัด เอ บี ซีและครีมที่เตรียมจากสารสกัดที่รูปเอ็นแอลซีทั้งสามชนิด และพบว่าครีมที่เตรียมจากสารสกัดที่รูปเอ็นแอลซีช่วยให้สารสกัดในครีมเสถียรและคงอยู่ในปริมาณ 80-82%
บทคัดย่อ (EN): Spirogyra neglecta was used to prepare the algac extracts and then obtained three dark green powder of algae extracts. A (48. 12%) was aqueous extract using maceration. B (51.05%) was aqueous extract using soxhelt method. C (58.12%) was ethanol extract using soxhelt method. All extracts were examined the antioxidant activities. The results showed that C exhibited highest antioxidant activity for total antioxidant assay at 15.532±0.026 mg ascorbic acid, DPPH assay at 35.750±0.035% and FRAP assay at 24.770±0.084 mg gallic acid/g, respectively. All extracts-were performed as nanostructured lipid carriers and called A-NLC, B-NLC, C-NLC. The optimized formulation was found at algae extracts concentration of 0.5 % w/w, total lipid content of 20%, and surfactant concentration of 7.0% w/w. The experimental values of the optimized formulation exhibited mean particle size of 115-120 nm, polydispersity index (PI) of 0.150-0.165, zeta potential of-18.5 to - 24 mV and percent of entrapment of 88.05-88.78% using lexol as oil. The physical and chemical properties such as viscosity using heat cool and pH of body cream prepared from A, B, C and all NLC extracts were examined and found that the formulation of all NLC extracts showed the stability of NLC extracts in body cream observed from the percent of extract remaining of 80-82%
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-020
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 271,400
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th/research/2563/thitiphan_chimsook_2559/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเก็บกักสารต้านอนุมูลอิสระจากสาหร่ายเตาในรูปแบบอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของสาหร่ายเตาต่อระบบต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์กำจัดสารพิษในปลานิล การใช้แสงอัลตราไวโอเลตเพื่อกระตุ้นความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดในต้นอ่อนทานตะวัน ความเป็นไปได้ของอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนในการเกิดเป็นฟิล์มน้ำตาเพื่อรักษาโรคตาแห้ง การศึกษาคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระในพลอพอริส ผลของชนิด ความเข้มข้น และขั้นตอนการใช้น้ำสมุนไพรต่อสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้องงอก การเหนี่ยวนำและการเพาะเลี้ยงรากลอยจากถั่วลิสงงอกเพื่อผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ กิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้ 15 ชนิด ในจังหวัดมหาสารคาม การวิเคราะห์สาร caffeic acid phenethyl ester (CAPE)ในสารสกัดพลอพอลิสและฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พฤกษเคมี ฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของสาหร่ายเตา ผลของกระบวนการสกัดและการให้ความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตแอนโทซัยยานินชนิดผงจากข้าวเหนียวดำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก