สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
สิชล หอยมุข - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Distribution of Mantis Shrimps from Survey Vessel in the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สิชล หอยมุข
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจทรัพยากรกั้งตั๊กแตนโดยเรือสำรวจประมง 4 ด้วยอวนลากแผ่นตะเฆ่ จำนวน 3 เที่ยวเรือคือ มีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม 2555 จำนวน 66 ครั้ง พบว่ามีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 65.38 กก./ชม. โดยมีอัตราการจับกั้งตั๊กแตนเฉลี่ย 0.032 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัตว์น้ำทั้งหมด และมี ความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.42 กก./กม2 กั้งตั๊กแตนที่พบมี 3 ชนิดคือ กั้งตั๊กแตนหางจุด (Harpiosquilla harpax) มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.020 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.266 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 10.25-16.75 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 12.55?2.23 ซม. พบชุกชุมและแพร่กระจายบริเวณเกาะตาชัย อ่าวพังงา จังหวัดพังงา และเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ กั้งตั๊กแตนหางฟ้า-ชมพู (Oratosquilla woodmasoni) มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.011 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.110 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 5.25-17.75 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 9.51?2.05 ซม. พบชุกชุมและแพร่กระจายตั้งแต่บริเวณเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ตลอดจนแนวชายฝั่งจังหวัดตรัง และสตูล และกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla annandalei มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.001 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.006 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 11.75-13.25 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 12.50?1.12 ซม. พบชุกชุมและแพร่กระจายบริเวณเกาะอาดัง-ราวี กั้งตั๊กแตนมีการแพร่กระจายใน 3 เขตสำรวจ คือ เขตสำรวจที่ 1 3 และ 4 โดยมีความชุกชุมสูงสุดในเขตสำรวจ 3 มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.090 กก./ชม. รองลงมาคือเขตสำรวจ 4 มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.025 กก./ชม. และต่ำที่สุดในเขตสำรวจ 1 มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.014 กก./ชม. ในขณะที่เขตสำรวจที่ 2 ไม่พบกั้งตั๊กแตน เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่าเขตสำรวจที่ 3 มีอัตราการจับสูงกว่าเขตสำรวจที่ 1 2 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การแพร่กระจายกั้งตั๊กแตนตามระดับความลึกน้ำ พบว่ามีอยู่ทั่วไปที่ระดับความลึกน้ำ 15-70 เมตร โดยมีความชุกชุมสูงสุดที่ระดับความลึกน้ำ 15-30 เมตร มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.088 กก./ชม. และชุกชุมต่ำสุด ที่ระดับความลึกน้ำ 31-50 เมตร มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 0.002 กก./ชม. เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่าที่ระดับความลึกน้ำ 15-30 เมตร มีมีอัตราการจับสูงกว่าที่ระดับความลึกน้ำ 31-50 51-70 และ 71-90 เมตร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): The study of mantis shrimps by Pramong 4 research vessel with ottoboard trawler for 3 trips. The 66 survey huals were conducted during March April and May 2012. The average total catch rate was 65.38 kg/hrThe average catch rate of mantis shrimp was 0.035 kg/hrThat was 0.05 percent of total catch and stock density was 0.42 kg/km2. The mantis shrimp was found 3 species, the first was Harpiosquilla harpax has average catch rate 0.020 kg/hrand stock density was 0.266 kg/km2. The length was distributed in range 10.25–16.75 cm, average length was 12.55?2.23 cm, distribution was Tachai island, Bay of Phang-nga in Phang-nga province. Phi Phi island of Krabi province. The second was Oratosquilla woodmasoni has average catch rate 0.011 kg/hrand stock density was 0.110 kg/km2. The length was distributed in range 5.25-17.75 cm average length was 9.51?2.05 cm, distribution was Phi Phi island of Krabi province and along the coast of Trang and Satun province. And the last was Harpiosquilla annandalei has average catch rate 0.001 kg/hrand stock density was 0.006 kg/km2. The length was distributed in range 11.75-13.25 cm, average length was 12.50?1.12 cm, and distribution was around Adang-Rawi island of Satun province. The mantiss shrimps distributed in 3 areas were area 1, 3 and 4 that maximum abundance was area 3 had average catch 0.090 kg/hr. Next was area 4 had average catch was 0.024 kg/hr and least was area 1 had average catch 0.014 kg/hr while in area 2 not found mantiss shrimp. The statistic shown that the area 3 had higher average catch rate which significantly different than the area 1, 2 and 4 (p < 0.05). ?
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
สิชล หอยมุข
กรมประมง
30 เมษายน 2556
กรมประมง
ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อน ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ปลาหน้าดินที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจากเรือสำรวจประมงฝั่ง ทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนบนของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก