สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
บุญอาจ กฤษณะทรัพย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Maintenance of New – Planting Rubber in Chacheongsao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญอาจ กฤษณะทรัพย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมเกียรติ ทองรักษ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การติดตามศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ของโครงการ ส.ป.ก. ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 60 ราย ตั้งแต่ปี 2529 จนถึงสิ้นปี 2535 โดยใช้แบบสอบถามออกสำรวจทุกปี พบว่า โดยภาพรวม ชาวสวนยางให้ความเอาใจใส่ในการกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ยอยู่ในระดับดี กล่าวคือชาวสวนนอกจากจะกำจัดวัชพืชโดยมีด จอบแล้ว ชาวสวนส่วนใหญ่ยังนิยมการพ่นยากำจัดวัชพืชกัน 1 – 2 ครั้งในแต่ละปี และใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอเกือบทุกราย ถึงแม้ปริมาณปุ๋ยที่ใส่จะยังน้อยกว่าข้อกำหนดทางวิชาการประมาณ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังสูงกว่าชาวสวนยางทั่ว ๆ ไปในแหล่งปลูกยางเดิมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นยางเมื่อสิ้นปีที่ 6 พบว่ามีขนาดเส้นรอบต้นเฉลี่ย 36.78 ซม. ต่ำกว่ามาตรฐานของต้นยางในแหล่งปลูกยางเดิมประมาณร้อยละ 22 ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเสียเปรียบทางด้านดินฟ้าอากาศของแหล่งใหม่นี้แล้ว สรุปได้ว่าผลการปลูกยางของชาวสวนในโครงการ ส.ป.ก. ได้รับความสำเร็จอย่างดี โดยต้องยอมรับว่าอายุการกรีดโดยทั่วไปจะช้ากว่าต้นยางในแหล่งปลูกยางเดิมประมาณ 1 ปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในจังหวัดหนองคาย นครพนม และอุดรธานี การศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของยางพาราบางพันธุ์หลังเปิดกรีดที่ปลูกในสวนยางขนาดใหญ่ การใช้ประโยชน์ข่าวสารการเกษตรจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของชาวสวนยางพาราในจังหวัดลำปาง การปลูกและการจัดการพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพารา (2) ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า 7 พันธุ์ในสวนยางพาราที่จังหวัดสกลนคร สมรรถภาพการผลิตไก่เบตงในพื้นที่ สวนลองกอง สวนสมรม และ สวนยางพารา ของเกษตรกรในจังหวัดยะลา การทดสอบผลผลิตของหญ้า Panicum maximum 4 สายพันธุ์ ในสวนมะพร้าวและสวนยางพารา ศึกษาผลการใช้สารริดโดมิลในการป้องกันกำจัดโรคเส้นดำของยางพาราในสวนยางเอกชน การจัดการความเสี่ยงระบบโลจิสติกส์ยางพาราของชุมชนสหกรณ์สวนยางจันทบุรี จำกัด ศึกษาสภาพสวนยางที่พ้นการสงเคราะห์ปลูกแทน สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราปลูกใหม่ของเกษตรกร ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก