สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ (ระยะที่ 1)
สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ, พิจิตร ศรีปินตา, บุญชู สายธนู, มณเทียน แสนดะหมื่น, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, รุ่งทิวา ดารักษ์, จิตอาภา จิจุบาล, ประยูร สมฤทธิ์, อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว, จันทร์เพ็ญ แสนพรหม, อนันต์ ปัญญาเพิ่ม, ธัญพร งามงอน, เยาวภา เต้าชัยภูมิ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Production Technology for Qualified Avocado
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดเลือกสายต้นอาโวกาโดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่างๆ ได้ทำการทดลอง 3 สถานที่ ได้แก่ 1. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จ.เชียงใหม่ 2. ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) จ.เพชรบูรณ์ 3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรตาก (มูเซอ) จ.ตาก ในปี 2558-2560 ดำเนินการสำรวจ รวบรวมและจำแนกลักษณะทางพันธุกรรมของอาโวกาโดที่นำเข้าจากต่างประเทศและจากต้นเพาะเมล็ดที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ตอนล่าง ภาคอีสาน และภาคตะวันออก ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์อาโวคาโด คือ ผลมีขนาดไม่เกิน 400 กรัม รูปทรงดี เนื้อหนา เปลือกผลไม่บางเกินไปเพื่อทนต่อการขนส่ง ผลผลิตบนต้นนานไม่ร่วงง่ายเมื่อแก่จัด สีของเนื้อมีสีเหลืองอมเขียว ไม่เหลืองซีด เนื้อนิ่มแต่แน่น ไม่เหลว และเมื่อผลนิ่ม (สุก) เปอร์เซ็นต์เนื้อในมากกว่า 65 % ขึ้นไป เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 12-25 % เนื้อเหนียว เนื้อละเอียดไม่มีเส้นใย เปอร์เซ็นต์เนื้อมาก เมื่อผ่าสุก สีเนื้อไม่เกิดสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว เมล็ดมีขนาดเล็ก รสชาติดี เนื้อมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุนสาบของเมล็ด เนื้อมีรสมัน-รสมันเล็กน้อย ไม่มีรสขมหรือรสขมเพียงเล็กน้อย ติดผลดกและสม่ำเสมอ ให้ผลผลิตสูง ดัชนีการเก็บเกี่ยว 6-9 เดือน ต้านทานต่อโรคและแมลง จากการวิจัยในปี 2555-2560 พบว่า ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จ.เชียงใหม่ คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีได้ จำนวน 5 สายต้น คือ 1. สายต้น เชียงใหม่ 1 (CM 1) 2. สายต้น เชียงใหม่ 2 (CM 2) 3. สายต้น เชียงใหม่ 3 (CM 3) 4. สายต้นเชียงใหม่ 4 (CM 4) 5. สายต้น แม่ฮ่องสอน (MH) ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) จ.เพชรบูรณ์ คัดเลือกสายต้นที่มีลักษณะดีได้ จำนวน 4 สายต้น คือ 1. สายต้น KK#14 2. สายต้น SK#1 3. สายต้น KC#1 4. สายต้น KC#2 และศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรตาก (มูเซอ) จ.ตาก คัดเลือกสายต้นที่มีลักษณะดีได้ จำนวน 3 สายต้น คือ 1. สายต้น มูเซอ 2. สายต้น เบอร์ 320 และ 3. สายต้น มูเซอ 31 นำสายต้นที่คัดเลือกได้ปลูกรวบรวมศึกษาลักษณะประจำสายต้น การเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพผลผลิต และนำไปปลูกเปรียบเทียบในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ได้สายต้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Selection of a line of avocado suitable for various conditions. Three experiments were conducted. 1.Royal Agricultural Research Center, Chiang Mai (Khunwang) Chiang Mai 2. Phetchabun Agricultural Research Center (Khao Kho), Phetchabun 3. Tak Agricultural Research and Development Center (MUSER), Tak. In the years 2015-2017 conducted surveys. Collect and classify the genetics of imported avocado and seedlings. Planted in the upper North, Upper East and East. The criteria for selection of avocado. The results are not over 400 grams good shape thick texture the fruit bark is not too thin to withstand transportation. The yield on the tree does not fall easily when arranged. The color of the meat is yellowish green, not pale yellow. Soft but firm, not liquid, and when soft (ripe) Percentage meat in more than 65% Oil percentage 12-25% Fine texture without fiber Very fleshy when cooked, color is not brown. The seeds are small, good taste, texture is fragrant. No pungent odor of seeds. The meat has a taste - it tastes a little. No bitter taste or bitter taste. Fruitful and consistent yield. High yield index. 6-9 months. Resistant to diseases and insects. Based on research in 2012-2017. Found Royal Agricultural Research Center, Chiang Mai (Khunwang) Chiang Mai the first five lines were selected. 1. CM1 2. CM2 3. CM3 4. CM4 5. MH Phetchabun Agricultural Research Center (Khao Kho), Phetchabun Selecting a good line of four lines is. 1. KK#14 2. SK#1 3. KC#1 4. KC#2 Tak Agricultural Research and Development Center (MUSER), Tak. Choose a good line of three lines. 1. MUSER 2. No. 320 3. MUSER#31 the selected lines were planted. Growth, yield, quality and compare it in different areas. To get the right tree for planting in the next area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ (ระยะที่ 1)
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก แผนงานวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ในภาคเหนือของประเทศไทยงบประมาณ 3 ปี 2,500,000.- บาท (ปีที่ 2) เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก