สืบค้นงานวิจัย
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย, นิภาพร ศรีบัณฑิต, จักรพันธ์ เภาสระคู, อภิสิทธิ์ พิประโคน - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Changes to spread salt on the soil surface after the development of an integrated in Tambon Danchang and Tambon Kuntong Bouyai district of Nakhon Ratchasima Province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ดินเค็ม
บทคัดย่อ: กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแบบบูรณาการขึ้นในพื้นที่ บ้านตะคร้อเก่า บ้านโคกสะอาด บ้านโนนเพ็ด ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นต้นแบบการจัดการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาดินเค็มในจังหวัดนครราชสีมา โดยเริ่มในปี 2558 ที่จังหวัดนครราชสีมา การติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาดังกล่าว โดยการจัดทำแผนที่การแพร่กระจายของคราบเกลือซึ่งมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และเทคนิคการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการแพร่กระจายคราบเกลือก่อนและหลังการพัฒนาดินเค็มแบบบูรณาการจะมีปริมาณคราบเกลือลดลงโดยพบว่า 1)บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือมาก พบคราบเกลือเป็นหย่อมๆ บนผิวดิน10 – 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ก่อนการพัฒนาฯมีพื้นที่จำนวน 366 ไร่ หลังจากจากพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแล้วพบว่า บริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นบริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือปานกลาง จำนวน 366 ไร่ 2)บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือปานกลาง พบคราบเกลือบนผิวดินประมาณ1 – 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ก่อนการพัฒนาฯมีพื้นที่จำนวน 2,690 ไร่ หลังจากจากพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแล้วพบว่า บริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นบริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือน้อย จำนวน 2,690 ไร่ 3)บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือน้อย โดยทั่วไปเป็นนาข้าว และมีต้นไม้หลายชนิดขึ้นปะปนอยู่ ไม่พบคราบเกลือบนผิวดิน แต่อาจพบได้น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ น้ำใต้ดินเป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มที่อยู่ลึกมากกว่า 2 เมตร พื้นที่จำนวน 1,571 ไร่ บริเวณดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลง จำนวน 3 ไร่และบริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็น พื้นที่ไม่เค็มจำนวน 1,568 ไร่ คำสำคัญ : ดินเค็ม คราบเกลือ แผนที่การแพร่กระจายของคราบเกลือ เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจจากระยะไกล
บทคัดย่อ (EN): The Land Development Department has developed the Integrated Saline Land Development Project in Ban takrokao Ban Koksaaad Ban nong ped Dan Chang District, Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province. To be a model for rehabilitation of saline soil problems in Nakhon Ratchasima province starting in 2015 in Nakhon Ratchasima. Monitoring and evaluation of changes arising from such developments. By mapping the spread of salts, GIS and remote sensing techniques are used to analyze data to provide accurate and up-to-date information. The results showed that the distribution of saline before and after the development of saline soil integrated the salt content decreased, it was found. 1) The salt marsh area. Salt patches on the surface of 10 - 50 percent of the area. Prior to the development, there were 366 rai of land. The area was transformed into a salt mine with a moderate salt content of 366 rai. 2) Salt found on the surface of about 1 - 10 percent of the area. Before the development, there were 2,690 rais of land. The area was transformed into a lowland area of 2,690 rai. 3) The lowland area with salt. In general, it is a rice field. And there are many kinds of trees mixed up. No salt found on the surface. But may be less than 1 percent of the area. Groundwater is brackish or saline water that is more than 2 meters deep. The area is 1,571 rai.The area has not change of 3 rai and the area is changing 1568 rai of non-saline soil. Keywords: saline soils, salt maps, spread salt on the soil surface, Geographic information technology, Remote sensing.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนาดินเค็มแบบบูรณาการใน 4 พื้นที่ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ การประเมินธาตุไนโตรเจนในดินกรด ดินด่าง และดินเค็ม ด้วยชุดตรวจสอบดินอย่างง่ายของกรมพัฒนาที่ดิน การประเมินธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดินกรด ดินด่าง และดินเค็ม ด้วยชุดตรวจสอบดินอย่างง่ายของกรมพัฒนาที่ดิน ผลจากการล้างดินและสารปรับปรุงบำรุงดินในการฟื้นฟูดินเค็มจัด การยอมรับโครงการป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มของเกษตรกร การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในพื้นที่ดินเค็ม ชุดดินร้อยเอ็ดที่มีคราบเกลือ การศึกษาสภาพความชื้นและสถานภาพธาตุอาหารในดินเพื่อประเมินการแพร่กระจายดินเค็มและการปลูกพืชที่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดและการแพร่กระจายดินเค็มในบริเวณ อ.พังโคน จ.สกลนคร ผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการปรับปรุงดินเค็ม การปรับปรุงบำรุงดินในแปลงเกษตรกรบนพื้นที่ดินเค็มภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อปลูกข้าว กข.6 ในกลุ่มชุดดินที่ 20

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก