สืบค้นงานวิจัย
โครงการความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เอมอร อังสุรัตน์ - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เอมอร อังสุรัตน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาถึง 1 สภาพการขาดแคลนแหล่งน้ำของชุมชน 2) ภาพลักษณ์เกี่ยวกับฝนหลวยุตาม การรับรู้ของเกษตรกร 3) ความพึงพอใจต่อการให้บริการฝนหลวงของเกษตรกร และ 4) แนวทางการพัฒนาความประทับใจ ต่อการให้บริการฝนหลวงของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้นำ /ผู้นำชุมชนแต่ละอำเภอของ 3 จังหวัดเป้าหมาย ประกอบด้วย จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา จำนวน 320 คน เรียกว่า "อาสาสมัครฝนหลวง ระดับอำเภอ" ซึ่งได้จากการคัดเลือกทั้งในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติงานจากจังหวัด และใช้วิธีการดัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ ง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์และแบบระดมความเห็นในเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการ ยกระดับการให้บริการฝนหลวง คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปิยร์แมนแรงค์ ผลการวิจัย พบว่า สภาพการขาดแคลนแหล่งน้ำของชุมชนทั้งด้านการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และในเขื่อนหรือ แหล่งกักเก็บน้ำในชุมชนของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ ช่วงต้นเดือน ก.พ.-ปลายเดือน เม. ย. เมื่อเปรียบเทียบสภาพการขาดแคลนน้ำทั้ง 3 จังหวัดในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า จังหวัดศรีสะเกษมีปัญหาขาดแคลนน้ำด้าน การเกษตรมากที่สุด ขณะที่จังหวัดบุรีรัมย์มีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภด-บริโภคมากที่สุด ส่วนจังหวัดนครราชสีมามีปัญหาขาดแคลนน้ำในเขื่อนหรือแหล่งกักเก็บน้ำ โดยเฉพาะที่เขื่อนลำตะดองมากที่สุด สำหรับภาพลักษณ์เกี่ยวกับฝนหลวง พบว่า อาสาสมัครฝนหลวง ส่วนใหญ่มีความเชื่อและมีทัศนคติที่ดีในเกณฑ์มาก-มากที่สุดด้านแผนปฏิบัติการฝนหลวงที่ กำหนดไว้และดำเนินการในแต่ละปี และผลการปฏิบัติการฝนหลวงทุกประเด็น ยกเว้นผลการปฏิบัติการที่ ทำให้ฝันตกใน พื้นที่ที่ต้องการอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการฝนหลวงในชุมชน พบว่า อาสาสมัครฝนหลวง ที่เคยร้องขอฝนหลวงทั้งหมดมีความพึงพอใจในเกณฑ์มากต่อขั้นตอนการบริการฝนหลวง คือ ประเด็นของการแจ้งให้แต่ละ ชุมชนทราบถึงแหล่งหรือช่องทางในการติดต่อร้องขอฝนหลวงที่ผ่านมา ส่วนความพึงพอใจต่อพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใน กณฑ์พึงพอใจมากที่พบ คือ การเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการร้องขอฝนหลวง โดยให้ข้อมูลและตอบคำถามจนเป็นที่ พอใจ ส่วนความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติการฝนหลวงนั้น พบว่า ผลการปฏิบัติการฝนหลวงทุกประเด็นนั้น อาสาสมัครฝน หลวงเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก ยกเว้นความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติการที่ทำให้ฝนตกในพื้นที่ที่ ต้องการอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นเดียวกับภาพลักษณ์ ส่วนแนวทางการพัฒนาความประทับใจต่อการให้บริการฝนหลวงทั้ง 10 ประเด็นย่อยนั้น พบว่า อาสาสมัครฝนหลวงเกือบทั้งหมด เห็นด้วยมากที่สุดในการบริการดังกล่าว และคาดหวังให้มีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับการให้บริการฝนหลวงภายใต้การมีส่วนร่วมของ ชุมชนที่พบมี 2 ปัจจัย ประกอบด้วย จำนวนแหล่งข้อมูลการทำฝนหลวงในชุมชนที่เกษตรกรทราบ และจำนวนแหล่งร้องขอฝนหลวงในชุมชน แนวทางการยกระดับการให้บริการฝนหลวง ประกอบด้วย การใช้นโยบายการบริการเชิงรุกและครบวงจร การพัฒนาเชิงปฏิบัติงานในการสร้างความรู้-ความเข้าใจ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และฝึกทักษะในการเข้าถึงการบริการฝน หลวงที่มีอยู่ให้กับชุมชนเป้าหมาย และการสนับสนุนการทำงานเครือข่าย อสฝล. ทุกระดับ Show All
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://164.115.23.116:8060/Frontend/download?DocumentID=71&fileIndex=0&originalFileName=51%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
เผยแพร่โดย: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8 ความพึงพอใจของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานระดับอำเภอในพื้นที่เขตปศุสัตว์ที่ 8 ปี 2548 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการฝนหลวงของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรรับรู้ในเขตโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก