สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
คำรพ รัตนสุต - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of resistance to bacterial leaf blight by marker-assisted selection in rice RD47
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คำรพ รัตนสุต
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การสำรวจโรคขอบใบแห้งในแปลงนาข้าวเขตจังหวัดพิษณุโลก (อำเภอพรหมพิราม) และจังหวัดสุโขทัย (อำเภอกงไกรลาศ) ช่วงฤดูฝน (เดือนตุลาคม 2559) พบการระบาดของโรคขอบใบแห้งในพื้นที่สำรวจ และสามารถแยกเชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) บริสุทธิ์จากใบที่มีอาการของโรคขอบใบแห้งจากพื้นที่สำรวจได้ ซึ่งการทดสอบปลูกเชื้อบนข้าวพันธุ์ กข47 พบว่าเชื้อทุกไอโซเลตสามารถก่อโรคขอบใบแห้งได้ การตรวจสอบระดับความรุนแรงของเชื้อ Xoo ที่แยกได้จากจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร ในปี 2559 จำนวน 6 ไอโซเลต (Xoo16PK001 Xoo16PT001.1 Xoo16PT003.1 Xoo16PT003.2 Xoo16PT004 และ Xoo16PT005) บนข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง กข47 ภายหลังจากปลูกเชื้อ 21 วัน พบว่าเชื้อไอโซเลต Xoo16PK001 และ Xoo16PT005 มีความรุนแรงมากที่สุด และน้อยที่สุด ตามลำดับ และมีรูปแบบลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่แตกต่างกันด้วย ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง กข47-Xa21 (RD47-Xa21) จำนวน 2 สายพันธุ์ ที่ถูกสร้างและคัดเลือก ได้แก่ BC4F3-1-2-2-14-9.1.A และ BC4F3-1-2-2-14-12.2.B มีความต้านทานต่อเชื้อ Xoo ไอโซเลต Xoo16PK001 และ Xoo16PT005 มากกว่าข้าวพันธุ์แม่ กข47 แต่ไม่ต้านทานเท่าพันธุ์พ่อ IRBB21 โดย BC4F3-1-2-2-14-12.2.B มีระดับความต้านทานมากกว่า BC4F3-1-2-2-14-9.1.A ในสภาพโรงเรือน การตรวจสอบผลผลิตในแปลงทดลองพบว่า ในสภาพที่ไม่ได้รับเชื้อ Xoo ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงทั้งสองสายพันธุ์ ให้ผลผลิตต่ำกว่าข้าวพันธุ์ กข47 อาจเป็นไปได้ว่าระบบความต้านทานที่เพิ่มเข้าไปส่งผลต่อค่าความสมบูรณ์ของพืช ขณะที่ในสภาพที่ได้รับเชื้อ Xoo ทั้ง 2 ไอโซเลต ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงทั้งสองสายพันธุ์ให้ผลผลิตมากกว่าข้าวพันธุ์ กข47 ซึ่งผลผลิตลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับที่ไม่ได้รับเชื้อ ทั้งนี้ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง กข47-Xa21 ผลผลิตลดลงร้อยละ 26-41 โดย BC4F3-1-2-2-14-12.2.B ซึ่งมีความต้านทานต่อเชื้อ Xoo ทดสอบมากกว่า แต่ให้ผลผลิตต่ำกว่า BC4F3-1-2-2-14-9.1.A การแสดงออกของยีน Xa21 ในข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง กข47-Xa21 รุ่น BC3F3ถูกชักนำให้แสดงออกสูงที่สุดภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังปลูกเชื้อ Xoo แล้วการแสดงออกจะลดลงทันทีในชั่วโมงที่ 2 และไม่ถูกชักนำให้แสดงออกอีกในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังปลูกเชื้อ ขณะที่การแสดงออกของยีน OsPAL4 ถูกชักนำให้แสดงออกสูงสุดในชั่วโมงที่ 2 หลังได้รับเชื้อ Xoo เช่นเดียวกับในข้าวพันธุ์ กข47 แต่การชักนำการแสดงออกเกิดขึ้นในข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง กข47-Xa21 เร็วกว่า หลังได้รับเชื้อเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ยีน OsPAL4 ถูกกดการแสดงออกทั้งในข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง กข47-Xa21 และในพันธุ์ กข47 อย่างไรก็ตาม ทั้งยีน Xa21 และ OsPAL4 ต่างก็ถูกชักนำให้แสดงออกในชั่วโมงต้น ๆ ที่เชื้อบุกรุกพืชเช่นเดียวกัน
บทคัดย่อ (EN): Bacterial Blight (BB) disease survey at rice paddy fields in Phitsanulok (Amphoe Phrom Phiram) and Sukhothai (Amphoe Kong Krailat) provinces during a rainy season (October) in 2016 revealed outbreak of BB disease in the surveyed fields. Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) was isolated from BB symptom-likeleaves collected from the surveyed fields. All bacterial isolates were able to infect BB susceptible rice cultivar RD47 showing the BB symptom. Virulence evaluation of six Xoo isolated from Phitsanulok and Phichit provinces in year 2017 including Xoo16PK001, Xoo16PT001.1, Xoo16PT003.1, Xoo16PT003.2, Xoo16PT004 and Xoo16PT005 was carried out on BB susceptible rice cultivar RD47. Twenty-one days after Xoo inoculation, Xoo16PK001 and Xoo16PT005 isolates showed highest and lowest virulence, respectively, and gave different DNA fingerprint patterns. Two selected lines of improved rice RD47 carrying Xa21 (RD47-Xa21), BC4F3-1-2-2-14-9.1.A and BC4F3-1-2-2-14-12.2.B, exhibited higher level of resistance to Xoo isolates Xoo16PK001 and Xoo16PT005than original RD47 rice but not as much resistance level as of the Xa21 donor IRBB21 variety. BC4F3-1-2-2-14-12.2.B was more resistant to both Xoo isolates than BC4F3-1-2-2-14-9.1.A in the greenhouse test. Evaluation of yields in the experimental field revealed that, without Xoo inoculation, both BC4F3 lines gave lower yield than the RD47 rice. It is possible that adding the BB resistance system affected on a fitness cost in recipient plants. Meanwhile, with Xoo inoculation, both BC4F3 lines gave higher yield than the RD47 rice which lost yields over 50% compared to the yield from non-infected plants. The yields of both BC4F3 lines were decreased 26-41%. The BC4F3-1-2-2-14-12.2.B line showed higher resistance to Xoo but lower yield than BC4F3-1-2-2-14-9.1.A. Expression of Xa21 in BC3F3 lines of RD47-Xa21 rice was highly induced within 1 hour after Xoo inoculation and dramatically decreased within 2 hours after inoculation. No signal of Xa21 induction again within 24 hours after inoculation. Meanwhile, expression of OsPAL4 was highly induced at 2 hours after inoculation in both BC3F3 lines of RD47-Xa21 and the original RD47. Induction of OsPAL4 expression was triggered in BC3F3 lines earlier than the original RD47. The OsPAL4 expression was suppressed after 2 hours post inoculation. However, both Xa21 and OsPAL4 were induced during early hours of Xoo infection.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1. เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณสายเลือดพันธุ์ผู้ให้ (Donor) ที่มีต่อระดับการกระตุ้นระบบป้องกันตัวของข้าว กข47 สายพันธุ์ปรับปรุงต่อเชื้อสาเหตุของโรคขอบใบแห้ง
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
การผนวกยีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในพันธุ์ข้าว กข41 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับปรุงข้าวพันธุ์ กข47 ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งด้วยวิธีการผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก โดย น.ส.ณัฏฐา เสือชาวนา บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานโรคขอบใบแห้งโดยวิธีการผสมกลับและคัดเลือก ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การใช้ประโยชน์เครื่องหมายโมเลกุลชนิด STS สำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งแบบคงทนถาวร การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก